มาร์คเมินเทือกตั้งพรรค


เพิ่มเพื่อน    

    อีก 4 วันเริ่มคิกออฟ ยื่นจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ 1 มี.ค. อภิสิทธิ์-แกนนำ กปปส.ยืนยันตรงกัน  สุเทพเอาแน่ตั้งพรรค "วิทยา" ย้ำแนวทางหนุนลุงตู่-สานต่อปฏิรูป "มาร์ค" ระบุแนวทางต่างกัน โพลหนุนกำนัน บอกเป็นทางเลือกให้ประชาชน แต่ไม่เห็นด้วยตั้งพรรคชูประยุทธ์ 
    การยื่นจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองใหม่ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ให้บุคคลที่จะยื่นจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองให้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2561 นี้เป็นต้นไป 
    นายวิทยา แก้วภราดัย อดีตแกนนำ กปปส.และอดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกระแสข่าวการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาฯ กปปส. ว่าตนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตั้งพรรค เพราะมีหน้าที่เป็นกรรมการมูลนิธิเท่านั้น ดังนั้นก็ต้องเป็นหน้าที่ของคนที่จะมาตั้งพรรค ซึ่งคิดว่านายสุเทพคงไม่รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค จึงไม่ทราบว่ามีการเตรียมการตั้งพรรคกันอย่างไร พร้อมทั้งคิดว่าการตั้งพรรคการเมืองเป็นเรื่องดี คิดว่าภารกิจการปฏิรูปประเทศถือเป็นภารกิจหลักของ กปปส. เพราะเรารับความเห็นของประชาชนมาว่าต้องปฏิรูปให้สำเร็จ แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะพยายามดำเนินการก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร ดังนั้นถ้ามีพรรคการเมืองที่เน้นการปฏิรูปร่วมกันกับรัฐบาล ก็จะทำให้อะไรต่างๆ ดีขึ้น
    เมื่อถามว่า การที่นายสุเทพเคยประกาศชัดว่าจะไม่ลงเล่นการเมือง แล้วปรากฏว่าจะตั้งพรรค นายวิทยา กล่าวว่า นายสุเทพคิดว่าไม่ได้ลงสมัครเลือกตั้ง และไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค แต่คิดว่าคนเราก็ควรมีสิทธิ์ที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองได้ ซึ่งคิดว่าน่าจะวางบทบาทแบบนี้
    นายวิทยายังได้กล่าวตอบหลังถามว่าพรรคดังกล่าวจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ หรือไม่ ว่าเบื้องต้นต้องย้อนไปก่อนว่าถ้าให้พรรคเพื่อไทยมาทำการปฏิรูปคงยาก ตราบใดที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ยังเป็นผู้บงการพรรคแบบนี้ และต้องรอฟังคำสั่งอะไรต่างๆ จะมาบิดเบือนว่าไม่ใช่ก็ไม่จริง ดังนั้นพรรคที่จะมาทำการปฏิรูปการเมืองจะสมคบคิดกับระบอบทักษิณไม่ได้เด็ดขาด ตนเองก็ไม่เอาด้วย
    เมื่อถามย้ำว่า จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ใช่หรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า คิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะพูดตอนนี้ ว่าจะเป็นอย่างไร แต่คิดว่าทิศทางควรจะเป็นเช่นนั้น
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกระแสข่าวการตั้งพรรคการเมืองใหม่ของนายสุเทพเช่นกันว่า เบื้องต้นนายสุเทพได้แสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนแล้วว่าจะมีการจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ต้องทำตามขั้นตอนของกฎหมาย ยืนยันไม่กังวลว่ากรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกพรรค ที่ยังมีบางส่วนศรัทธาในตัวนายสุเทพ เพราะถือเป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะตัดสินใจ จะอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ต่อหรือไม่ แต่ตอนนี้สมาชิกพรรคยังไม่มีบุคคลใดลาออก ทั้งนี้ แนวความคิดของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยืนหยัดในแนวคิดและอุดมการณ์เดิมมาโดยตลอด ที่พร้อมสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่นายสุเทพนั้นอาจมีแนวคิดที่ต่างกัน อาจให้การสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกฯ ต่อ
    ด้านสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,185 คน ในกระแสการตั้งพรรคการเมืองใหม่ในช่วงนี้ โดยเมื่อถามถึงการรับรู้เกี่ยวกับการจัดตั้ง “พรรคการเมืองใหม่” พบว่า 53.87% ไม่รู้ เพราะไม่ได้ติดตามข่าว ไม่สนใจ เบื่อข่าวการเมือง ไม่มีเวลา ทำงานทุกวัน ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ฯลฯ, 46.13% รู้ เพราะอยากรู้ความคืบหน้า ติดตามข่าวเป็นประจำ ทราบจากสื่อต่างๆ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ 
    เมื่อถามว่า ประชาชนคิดอย่างไรกับการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่คือ พรรคพลังพลเมือง โดยนายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ 43.39% เป็นสิทธิตามกฎหมาย เป็นตัวเลือกใหม่, 36.24% ไม่ค่อยรู้จัก ไม่รู้นโยบาย และ 28.23% อาจเป็นนอมินี จัดตั้งโดยคนกลุ่มเดิมๆ ส่วนพรรคมวลมหาประชาชน โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้น 45.59% มองว่าเป็นทางเลือกให้กับประชาชน มีประสบการณ์, 38.28% อาจกระทบกับฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์ และ 9.89% เป็นที่รู้จัก เป็นพรรคที่น่าจับตามอง    
    ผลสำรวจดังกล่าว ได้ถามถึงกรณีเห็นด้วยหรือไม่ ถ้ามีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่เพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า 58.95% ไม่เห็นด้วย เพราะ พรรคการเมืองควรเป็นอิสระ เป็นกลาง มีนโยบายชัดเจน เน้นทำเพื่อประชาชน พัฒนาบ้านเมือง ไม่ควรสนับสนุนใครคนใดคนหนึ่ง เป็นการสืบทอดอำนาจ ฯลฯ ขณะที่ 35.37% เห็นด้วย เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพรรค เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ ทำให้มีพรรคใหม่ๆ มีตัวเลือกมากขึ้น ฯลฯ และ 5.68% เฉยๆ    
    ส่วนเมื่อถามถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส.ของประชาชนหรือไม่ พบว่า 57.26% ไม่มีผล เพราะมีบุคคลและพรรคการเมืองที่ชื่นชอบอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับนโยบายของพรรคและตัวผู้สมัครมากกว่า ฯลฯ และ 42.74% มองว่ามีผล เพราะเป็นทางเลือกใหม่ อยากลองเลือกพรรคใหม่ๆ ดูบ้าง เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ฯลฯ 
    กับคำถามสุดท้าย เมื่อถามว่าการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่มีผลต่อการเมืองไทยอย่างไร 48.88% มองว่าเพิ่มสีสันทางการเมือง บรรยากาศคึกคัก, 41.38% มีพรรคการเมืองเพิ่มขึ้นหลากหลาย ประชาชนมีตัวเลือกมากขึ้น และ 35.23% เกิดการแข่งขันมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง                       
    อนึ่ง การยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองใหม่ 1 มีนาคม จะต้องเริ่มจากการยื่นคำขอต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองใหม่ต้องมีผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรค 500 คน ต้องจ่ายทุนประเดิมไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกินคนละ 50,000 บาท เพื่อให้พรรคมีทุนประเดิมรวมไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และเมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้นถูกต้องตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พรรคการเมืองใหม่ก็สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ แต่ต้องมีสาขาพรรคและตัวแทนสาขาประจำจังหวัดอย่างละ 1 แห่ง เพื่อเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาจัดตั้งพรรคการเมือง ทางนายทะเบียนพรรคการเมืองจะใช้เวลา 1 เดือนในการพิจารณา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"