รัฐบาลอบรมอนาคตใหม่ แก้กฎหมายประมงระวังเป็นการส่งเสริมการทำลายล้างทรัพยากรทางทะเล ฝ่าฝืนมาตรฐานแรงงาน เปิดช่องค้ามนุษย์เหมือนในอดีต เตือนอย่าหาประโยชน์การเมืองนอกสภาเพราะกระทบความมั่นคง
พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่และ ส.ส.ลงพื้นที่รับฟังปัญหาประมงที่ จ.ตราด เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.62 โดยเสนอให้แก้ไข พ.ร.ก.ประมง มาตรา 34, 69, 81 ว่า สังคมไทยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่า การแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายบางมาตรานั้นจะเป็นผลดี หรือส่งเสริมการทำลายล้างทรัพยากรทางทะเล ฝ่าฝืนมาตรฐานแรงงาน และเปิดช่องให้มีการค้ามนุษย์เหมือนในอดีตกันแน่
"การลงพื้นที่หรือหาประโยชน์ทางการเมืองนอกสภานั้น อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของทรัพยากรและเศรษฐกิจการประมงของชาติโดยไม่รู้ตัว หากศึกษาข้อกฎหมายอย่างแท้จริงจะพบว่าถ้ายกเลิกมาตรา 81 จะทำให้การประมงกลับไปไร้การควบคุมเหมือนที่ผ่านมา ถ้าไม่มีอุปกรณ์ VMS ก็จะไม่รู้ว่าเรือประมงลำใดออกนอกน่านน้ำหรือไปทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกติกาสากล"
พล.ท.วีรชนกล่าวอีกว่า นอกจากนี้การเขียน Lockbook ก็มีไว้เพื่อใช้พิสูจน์แหล่งที่มาของสินค้าประมง และยังนำข้อมูลไปจัดสรรวันทำประมงได้ ส่วนการที่เรือประมงต้องแจ้งศูนย์ PIPO นั้น จะช่วยตรวจสอบให้แรงงานเข้าออกอย่างถูกต้อง
รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรา 69 ที่ห้ามจับปลากะตักในเวลากลางคืน ก็เพื่อรักษาปริมาณปลากะตักให้เหมาะสม มีปลาเหลือให้ลูกหลาน เพราะกลางคืนปลากะตักจะรวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ หากจับในเวลานี้จำนวนปลาจะลดลงเร็วขึ้น ส่วนมาตรา 34 ที่ห้ามชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รับอนุญาตแล้วออกไปทำประมงนอกชายฝั่ง ขณะนี้ยังไม่มีการบังคับใช้ ชาวประมงพื้นบ้านยังออกไปทำประมงได้ตามปกติ และภาครัฐกับชาวประมงพื้นบ้านกำลังทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย
บริเวณลานตะเคียน หน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช 6 อำเภอชายฝั่งทะเล ประกอบด้วย อ.ขนอม, สิชล, ท่าศาลา, เมืองนครศรีธรรมราช, ปากพนัง และหัวไทร กว่า 20 องค์กร จำนวนกว่า 300 คน นำโดยนายสมชาย ฉลาดแฉลม ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลหาดบางดี-เสาเภา รวมตัวกันอ่านแถลงการณ์และยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี, แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายถาวรวัฒน์ คงแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และนายชัยชนะ เดชเดโช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้รับหนังสือ
แถลงการณ์ระบุว่า เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นผู้ที่ใช้เครื่องมือประมงอย่างรับผิดชอบ ไม่กระทบกับระบบนิเวศ เป็นไปตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และการแก้ไขปัญหา IUU แต่ยังมีประมงที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายเหลืออยู่ประมาณ 120 ลำ ซึ่งพบมากในอ่าวปากพนัง
จากประเด็นปัญหาดังกล่าว เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงมีข้อเสนอดังนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งลงพื้นที่และจัดเก็บข้อมูลรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบ เรือประมงกี่ลำ ใช้เครื่องมืออะไร แพปลากี่แพ และแม่ค้ารายย่อยกี่รายอย่างละเอียด หลังจากได้ข้อมูลแล้วให้เร่งหามาตรการช่วยเหลือพี่น้องชาวประมงที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวทันที กรณีเรื่องแปลงหอยเห็นควรให้ยกเลิกสัมปทาน เพราะทะเลไม่ควรมีเจ้าของ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรร่วมกัน ในช่วงระหว่างหาแนวทางหรือมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ก็มิควรอนุโลมให้ทำประมงอย่างเสรีในช่วงเวลานี้
หลังรับหนังสือแล้ว จังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้ส่งหนังสือดังกล่าวไปยังรัฐบาลต่อไป ส่วนข้อเสนอให้ยกเลิกสัมปทานแปลงหอยนั้น ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้เสนอยกเลิกไปแล้ว แต่อยู่ในขั้นอุทธรณ์ของผู้ได้รับสัมปทาน
ทั้งนี้ เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราชได้นำเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายมาแสดงให้ดูด้วย เช่น ที่คราดหอย, ลอบแบบพับได้หรือไอ้โง่, โพงพางปากเสือ เป็นต้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |