คำแถลงของรองนายกฯ วิษณุ เครืองาม หลายเรื่องฟังดูแปลกๆ แฝงด้วยตรรกะประหลาดๆ ที่จะต้องวิเคราะห์และวิพากษ์กันให้รอบด้าน เพราะเราไม่ต้องการให้ “ศรีธนญชัย” ครอบงำความคิดความอ่านของผู้บริหารประเทศ
เช่น คุณวิษณุบอกว่าเรื่องการคัดสรรสมาชิกวุฒิสภาเป็นเรื่อง ”ภายใน” ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับประชาชน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยรายละเอียดแต่ประการใด
ใครฟังแล้วก็ต้องตกใจ เพราะ ส.ว.อ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนที่มีอำนาจกว้างขวาง รวมถึงการยกมือให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
เพื่อให้เป็นที่กระจ่างว่าคุณวิษณุพูดอย่างไร ขอให้อ่านข่าวชิ้นนี้
“วิษณุ” ชี้คำสั่ง คสช.ตั้ง กก.สรรหา ส.ว.ไม่ผิด แจงเป็นเรื่องภายใน ไม่เกี่ยวกับประชาชน
“เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการคัดเลือก ส.ว. ที่คำสั่ง คสช.ไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่ง ไม่ใช่กฎหมาย ไม่จำเป็นต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพราะเป็นขั้นตอนภายใน ไม่เกี่ยวกับประชาชน แต่ถ้าการสรรหาใช้วิธีสมัคร จะต้องประกาศให้ประชาชนรู้ว่าสมัครกับใคร ที่ไหน อย่างไร
ดังนั้น เมื่อเป็นสรรหา เป็นขั้นตอนภายใน จึงไม่ต้องประกาศ การประกาศหรือไม่ประกาศไม่มีผลใดๆ ทางกฎหมาย และบัดนี้ได้มีการแจกจ่ายกันไปแล้ว นอกจากนี้ ขอยืนยันว่าไม่มีกรรมการสรรหา ส.ว.คนใดคัดเลือกตัวเองมาทำหน้าที่ อย่างนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภาที่มีชื่อเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.ด้วยนั้น ได้ลาออกตั้งแต่ต้นก่อนจะมีการประชุมครั้งแรกเสียอีก
นายวิษณุกล่าวด้วยว่า คำสั่ง คสช.ที่ไม่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษายังมีอีกเยอะ ตนเข้าใจว่าเป็นร้อยฉบับ แต่รับรองได้ว่าไม่เกี่ยวกับประชาชน ไม่กระทบสิทธิหน้าที่ เช่น คำสั่งลดขั้น ลงโทษ ตัดเงินเดือน คำสั่งเหล่านี้ต่อให้ชาวบ้านไม่รู้ ก็ไม่ทำให้เสียหาย นอกเสียจากจะทำให้เกิดความอยากรู้ ซึ่งก็คงช่วยไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีเสียงท้วงติงการไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะทำให้ไม่มีผลทางกฎหมาย นายวิษณุกล่าวว่า ไม่จริง ไม่ใช่ อะไรที่มีผลเกี่ยวกับประชาชนนั้นใช่ แต่คำสั่งนี้จะถือว่าเกี่ยวกับประชาชนไม่ได้ เพราะประชาชนไม่มีส่วนจะมาสมัครอะไรทั้งสิ้น การจะรู้หรือไม่รู้ว่าใครเป็นกรรมการสรรหา ไม่ทำให้ประชาชนได้เปรียบหรือเสียเปรียบ หากจะมีผู้นำเรื่องดังกล่าวไปร้องต่อศาล สามารถนำไปร้องได้ทั้งหมดทุกเรื่องอยู่แล้ว ส่วนกรณีพรรคเพื่อไทย (พท.) จะนำเรื่องการสรรหา ส.ว.ไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก็อยู่ที่ประธานสภาฯ ว่าจะให้หรือไม่ให้ ส่วนใครจะเป็นผู้ชี้แจงนั้น คงไม่มีใครชี้แจง เพราะเป็นอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่วันนี้ความเป็น คสช.จะหมดไปอยู่แล้ว แม้ตัวบุคคลจะยังอยู่ แต่ไม่มีความเป็น คสช.อยู่
เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยเรียกร้องว่าการบอกเล่าของนายวิษณุไม่เพียงพอ แต่ต้องนำเอกสารคำสั่งมาเปิดเผย นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องเราจะไม่เปิด นอกจากไปขออำนาจศาล ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นศาลใด และหากจะเปิดเผย คนที่ดำเนินการคือ คสช.”
สำหรับชาวบ้านอย่างผม เมื่ออ่านข่าวชิ้นนี้แล้วก็เกิดคำถามหลายข้อ
๑.คำสั่งที่มาจากอำนาจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่เป็นกฎหมายได้อย่างไร
๒.ถึงแม้จะอ้างว่าไม่ใช่ “กฎหมาย” จึงไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา, เหตุไฉนคำประกาศอื่นๆ ของ คสช. จึงไม่ได้มีข้อยกเว้นเช่นนั้น
๓.คุณวิษณุพูดได้อย่างไรว่าการแต่งตั้ง ส.ว. “ไม่เกี่ยวกับประชาชน” ทั้งๆ ที่ ส.ว.กินเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน และมีอำนาจเกี่ยวกับการออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง
๔.คุณวิษณุอ้างได้อย่างไรว่าเมื่อประชาชนไม่มีส่วนจะมาสมัครอะไรทั้งสิ้น การจะรู้หรือไม่รู้ว่าใครเป็นกรรมการสรรหา ไม่ทำให้ประชาชนได้เปรียบเสียเปรียบ...เพราะประเด็นไม่เกี่ยวกับการ “ได้เปรียบเสียเปรียบ” ของประชาชน แต่อยู่ที่สิทธิของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญที่จะต้องรู้ว่าใครเป็นคณะกรรมการสรรหา เพื่อจะได้รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มีเกณฑ์การเลือกสรรอย่างไร เพราะพวกเขาอ้างว่าเป็น “ตัวแทนของประชาชน” ด้วยเช่นกัน
การอ้างตรรกะเพี้ยนๆ อย่างนี้เป็นการดูถูกสติปัญญาของประชาชน และเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิดหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |