หลังจากที่ อย. จัดโครงการ “เครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ” เป็นการต่อยอดแนวคิด บวร.ร. (บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล) จากโครงการชุมชนสุขภาพดี ปี 2561 ที่มีการลงพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด โดยในปี 2562 นี้ อย. ได้ขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นเป็น 25 ชุมชน 25 จังหวัดจากทุกภาคทั่วประเทศ เปิดโอกาสให้ประชาชนและหน่วยงานในชุมชนมีส่วนร่วมและร่วมขับเคลื่อน จัดการหรือป้องกันปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยแบ่งปัญหาสุขภาพในชุมชนออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านอาหาร,ด้านยา,ด้านอาหารและยา และด้านการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ซึ่งแต่ละชุมชนดำเนินงานในแต่ละด้าน ทุกชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยขับเคลื่อนทุภาคส่วนในชุมชนร่วมใจ การพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคเป็นปัจจัยหลักของโครงการ ทาง อย.และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคแต่ละจังหวัดไดร่วมมือร่วมใจคุ้มครองประชาชนให้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ตรสจสอบเรื่องการโฆษณา และติดตามข่าวสารเรื่องสุขภาพ ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก คือ การเริ่มต้นดูแลสุขภาพตนเอง ไปจนถึงครอบครัว และชุมชน จนไปถึงเครือข่ายอื่นๆใหญ่ขึ้น ที่ทำให้เรามีสุขภาพดีลดภาวะโรค NCDs ซึ่งทาง อย.เผยจากการดำเนินโครงการถึงวันนี้เรียกว่าสัมฤทธิ์ผลเพราะคนในชุมชนสามารถดูแลตนเองให้มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม โดยนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และคณะ ร่วมมอบโล่เกียรติคุณ 25 ชุมชนจำนวน 50 โล่ และใบประกาศเกียรติคุณแก่เครือข่ายชุมชนร่วมใจจำนวน 50 รางวัลที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ว่าโครงการนี้ต้องการให้คนในชุมชน สร้างเครือข่ายชุมชนหรือรวมตัวกันเพื่อจัดการหรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทางชุมชนในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ และดำเนินกิจกรรมโดยชุมชนเอง ผ่าน บวร.ร. หรือ บ้าน วัด โรงเรียน และโรงพยาบาล ซึ่งเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตที่เหมาะสมกับชุมชน เพื่อจะได้เกิดความยั่งยืน ซึ่งแต่ละชุมชนมีปัญหาเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่แตกต่างกันไป ทั้งปัญหาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสชาติหวาน มัน เค็ม มากเกินไป ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดน้ำที่ผิดกฎหมาย ลักลอบผสมสารสเตียรอยด์ที่มีการเร่ขายตามบ้าน หรือรถเร่ และปัญหาการหลงเชื่อโฆษณาอวดสรรพคุณเกินจริงทางสื่อออนไลน์ วิทยุชุมชน ทำให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือผสมสารอันตราย
ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้จัดทำโครงการ “เครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ” ร่วมกับ 25 ชุมชนจาก 25 จังหวัด และ อย. ได้ลงพื้นที่ติดตามพร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายในชุมชนอย่างใกล้ชิด และถือว่าโครงการสัมฤทธิ์ผลตามที่มุ่งหวัง โดยแต่ละจังหวัดมีกลยุทธ์แก้ไขและป้องกันปัญหา แตกต่างกันไปตามบริบทชุมชน โดย 25 จังหวัดดังกล่าวที่ร่วมดำเนินงานโครงการฯ กับ อย. ไล่เรียงจากภาคเหนือจนถึงภาคใต้ของประเทศ
ซึ่งการดำเนินโครงการจะผ่านกลไลการมีส่วนร่วม โดยคิดเอง ทำเอง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาคอยให้คำปรึกษาให้คำแนะนำ ทั้งวิธีและการสนับสนุนงบประมาณ รวมถึงการติดตามประเมินผล และจากการประเมินผลสำเร็จของโครงการพบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารอย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ จากร้อยละ 62.7 เป็นร้อยละ 95.9 และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.6 เป็นร้อยละ 74.5 สำหรับในประเด็นการใช้ยาที่มีการลักลอบผสมสาร สเตียรอยด์ ยาชุด หรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคยาอย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ จากร้อยละ 74.3 เป็นร้อยละ92.7 และมีพฤติกรรมการบริโภคยาอย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 77.7 เป็นร้อยละ 90.9ส่วนในประเด็นการหลงเชื่อโฆษณายาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการแยกแยะลักษณะของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริงเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ จากร้อยละ 79.0 เป็นร้อยละ 99.5 และมีพฤติกรรมไม่หลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.0 เป็นร้อยละ 100
ซึ่งการดำเนินโครงการที่ผ่านมาจาก 25 ชุมชน ส่งผลให้แต่ละชุมชนมีภูมิคุ้มกัน มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สำคัญ เกิดความร่วมมือเชิงเครือข่ายในรูปแบบประชารัฐ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย อันจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ อย. จะเดินหน้าพัฒนารูปแบบ วิธีการที่ทันสมัย นำนวัตกรรมมาใช้ต่อยอดโครงการดังกล่าวในปีต่อ ๆ ไป โดยหาเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เช่น พชอ. และหน่วยงานในกระทรวงอื่น ๆ เข้าให้ถึงทั้งระดับตำบลและอำเภอ เพื่อให้ครอบคลุมทุกชุมชนทั่วประเทศ ให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี ในระยะยาวต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |