“การพัฒนาเมืองสำหรับคนสูงอายุ” เป็นเรื่องสำคัญ เพราะปัจจุบันคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองกรุงย่อมมีมากขึ้น ซึ่งคิดเป็นประชากรราว 10 ล้านคน และในจำนวนนั้นรวมถึงคนสูงอายุที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน ประกอบกับเมื่อเข้าสู่สังคมเอจจิ้งโซไซตี้ การพัฒนาเมืองให้สามารถรองรับความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้ จึงนับเป็นโจทย์ที่สำคัญ ส่วนหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้วัยเก๋าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีพลัง
ในงานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอประจำปี 2562 “สังคมอายุยืน:แข่งขันได้ และอยู่ดีมีสุขได้อย่างไร?” ในหัวข้อ “พัฒนาเมือง สำหรับคนอย่างไรในสังคมอายุยืน” ดร.สุเมธ องกิตติกุล และ ณิชมน ทองพัฒน์ จากสถาบันทีดีอาร์ไอ และ ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้สะท้อนข้อมูลร่วมกันอย่างน่าสนใจ
(ดร.สุเมธ องกิตติกุล)
ดร.สุเมธ องกิตติกุล บอกว่า สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อบ้านเราก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยในอีกไม่กี่ปีนั้น การที่คนสูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างมีพลังถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่การที่คนกลุ่มนี้จะใช้ชีวิตได้อย่างมีพลัง อันดับแรกต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง และมีการรวมตัวกันทำกิจกรรม รวมถึงต้องมีพื้นที่สาธารณะสำหรับคนสูงวัยด้วย เป็นต้นว่ามีทางเดินที่เอื้อต่อการเดินทางของผู้สูงอายุ อีกทั้งมีระบบขนส่งสาธารณะที่เอื้อให้ผู้สูงอายุเดินทางได้สะดวก เช่น การไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์
“สำหรับการพัฒนาชุมชนในเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร สิ่งสำคัญคือการที่จัดให้พื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม เพื่อใช้ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น ต้องมีสวนสาธารณะเพื่อให้คนได้ออกกำลังกาย ได้วิ่ง ได้เดิน หรือใช้พื้นที่สวนสาธารณะทำกิจกรรมเชิงสังคมและวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้นับเป็นตัวอย่างการช่วยส่งเสริมให้เมืองกรุงมีพื้นที่สาธารณะเพิ่ม ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างเมืองบราซิเลีย เมืองหลวงของประเทศบราซิล ซึ่งมีลักษณะคล้ายนกอินทรี ที่ออกตั้งแต่ปี ค.ศ.1956 ซึ่งเมืองนี้ถูกแบบให้มีลักษณะการผลักคนออกจากเมือง หมายความว่าสถานที่สำคัญต่างๆ นั้นอยู่ห่างไกลหรืออยู่นอกเมือง ทำให้คนต้องขับรถและใช้บริการสาธารณะเพื่อออกไปทำธุระนอกเมือง กระทั่งประเทศฝรั่งเศสที่นำพื้นที่สาธารณะมาทำเป็นถนนให้รถวิ่ง จึงทำให้มีพื้นที่ทางเดินเท้าที่น้อยลง สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า เมืองชื่อดังต่างๆ ในโลกมีพื้นที่เยอะ ดังนั้นการนำมาทำพื้นที่สาธารณะให้คนมีความสุข โดยเฉพาะคนสูงวัยที่อาศัยอยู่ในเมืองได้มีความสุข จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เห็นได้จากตัวอย่างที่ดีจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่รื้อทางด่วนเพื่อนำมาสร้างที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้คนเห็นความสำคัญกับการเดินให้มากขึ้น และเปลี่ยนทางด่วนโดยการขุดคลองสาธารณะ เพื่อให้คนทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างการเดินไปแช่เท้าในคลอง ซึ่งในแต่ละวันจะมีคนไปใช้บริการบริเวณพื้นที่สาธารณะดังกล่าวประมาณ 64,000 คนต่อวัน เป็นต้น”
(ณิชมน ทองพัฒน์)
ด้าน ณิชมน ทองพัฒน์ บอกว่า “สิ่งที่สำคัญนอกจากส่งเสริมให้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับคนสูงวัยที่เพิ่มขึ้นแล้ว การกำหนดให้สวนสาธารณะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น เครื่องเล่นสำหรับออกกำลังกายต่างๆ ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ การส่งเสริมให้พื้นที่เขตเมืองมี “ทางเท้า” เพื่อให้คนสูงอายุสามารถเดินได้อย่างปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น ประเทศสิงคโปร์ที่มีการออกแบบทางเท้าที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อีกทั้งบริเวณ 4 แยกจะมีป้ายเตือนให้รถยนต์ชะลอความเร็วลง อีกทั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์ชะลอความเร็วของรถยนต์ ซึ่งช่วยลดอุบัติเหตุให้กับคนสิงคโปร์ได้ร้อยละ 75% อีกทั้งมีการสร้างถนนให้มีเกาะกลางที่กว้าง เพื่อให้ผู้สูงอายุพักจังหวะขณะข้ามถนน ที่สำคัญสามารถจอดรถวีลแชร์ได้ 2 คัน อีกทั้งมีระบบขนส่งสาธารณะอย่างเช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่เชื่อมต่อไปยังจุดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
หรือแม้แต่ประเทศญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุรวดเร็วกว่าบ้านเราก็ให้ความสำคัญ อย่างการสร้างระบบสาธารณะให้เข้าถึงได้ง่าย เช่น รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดให้มีทางเชื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงอาคารได้ง่าย หรือสร้างลิฟต์สำหรับผู้สูงอายุและรถเข็น กระทั่งสร้างบันไดเลื่อนเพื่อให้คนวัยเก๋าสามารถเดินทางเข้าสู่ตัวอาคารได้อย่างง่ายขึ้น และสามารถอาศัยอยู่ในเมืองหลวงได้อย่างมีพลัง นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นยังมีบริการจัดส่งผู้สูงอายุให้กลับถึงบ้านปลอดภัย เช่น มีรถแท็กซี่ให้บริการผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ซึ่งรถคนดังกล่าวสามารถเดินได้หลายคนพร้อมกัน โดยแวะส่งผู้ใช้บริการแต่ละท่านให้ลงตามจุดที่ต้องการ ส่วนหนึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย หรือทางเดียวกันไปด้วยกัน”
ณิชมน ทองพัฒน์ บอกอีกว่า ปัจจุบันทางเท้าในบ้านเราร้อยละ 70 เปอร์เซ็นต์ ค่อนข้างแคบและมีสิ่งกีดขวาง อีกทั้งมีรถจักรยานยนต์ขึ้นไปวิ่งบนทางเท้า อีกทั้งบริการสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่เมืองหลวง ทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งทางเข้าและทางออกรถไฟฟ้าบางสถานีไม่มีลิฟต์ หรือมีการล็อกลิฟต์ และไม่มีทางลาดที่เอื้อต่อการใช้บริการของผู้สูงอายุและผู้พิการ หรือแม้แต่การใช้รถเมล์ประจำทางที่มีชานชาลาต่ำ เพื่อให้ผู้สูงอายุเดินทางได้ทางสะดวกมากยิ่งขึ้น ก็ยังค่อนข้างมีน้อย
(ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ)
ปิดท้ายกันที่ ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ บอกว่า การออกแบบเพื่อคนเมืองที่สำคัญ ไม่ใช่การออกแบบเพื่อผู้สูงวัยเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อให้คนที่ยังไม่แก่ได้เตรียมตัวและใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นเมืองต้องได้รับการออกแบบเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการส่งเสริมสุขภาพตอนแก่นั่นเอง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ที่ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 เขต ซึ่งร้อยละ 60 สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ แต่ทว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในเมืองไม่สามารถเดินได้อย่างมีคุณภาพ หรือพื้นที่ทางเดินส่วนใหญ่นั้นเดินไม่สะดวกหรือยังเดินได้ไม่ดี
“การออกแบบเมืองที่ดีเพื่อให้ผู้สูงวัยอยู่ได้อย่างมีพลังนั้น ต้องเอื้อให้คนกลุ่มนี้ออกจากบ้านได้โดยไม่เสี่ยงต่ออันตราย นอกจากนี้ การนำสินทรัพย์ของ กทม.ที่มีอยู่เยอะ เช่น สะพานด้วน หรือสะพานที่อยู่กึ่งกลางสะพานพระปกเกล้า ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างของภาครัฐมาทำเป็นสะพานสีเขียว เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อาศัยฝั่งธนบุรี หรืออยู่หลังวัดบริเวณดังกล่าวได้มีพื้นที่เดินออกกำลังกาย ก็เป็นตัวอย่างที่สำคัญมาก นอกจากนี้ การเปลี่ยนสภาพอากาศที่ร้อนระอุของเมืองไทย โดยการเฉพาะปลูกต้นไม้สร้างพื้นที่สีเขียวให้เขตพื้นที่เมืองชั้นใน โดยเฉพาะทางเดิน ให้เป็นพื้นที่สีเขียวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอย่างที่บอกว่า กทม.นั้น ผู้สูงอายุร้อยละ 60 สามารถใช้ชีวิตในเมืองได้ เนื่องจากอาคารสำนักงานที่สามารถติดต่อได้สะดวก แต่มีข้อจำกัดเรื่องของอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดิน นอกเหนือจากเรื่องของทางเท้าที่มีสิ่งกีดขวางแล้ว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |