กระติบข้าวเหนียว ของธรรมดาที่แฝงเรื่องราวน่าค้นหา
ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน 50 ชิ้นที่หน้าตาดูธรรมดา แต่สะท้อนเรื่องราวหลายอย่างมากกว่าที่คิด ทั้งวิถีชีวิต ทัศนคติ ความคิดสร้างสรรค์ และความเชื่อของผู้คน แบ่งออกเป็นสิ่งของจากประเทศไทย 25 ชิ้นและประเทศเยอรมัน 25 ชิ้นจัดแสดงร่วมกันในนิทรรศการ“ Invisible Things : สิ่งที่มองไม่เห็น” ที่ห้องแกลเลอรี่ชั้น 1 อาคารไปรษณีย์กลาง (ส่วนหลัง) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) ถนนเจริญกรุง
นิทรรศการที่น่าสนใจนี้เปรียบเสมือนบทสนทนาระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 2 ฝั่งโลกที่แตกต่างกัน แต่ชวนให้ขบคิดและค้นหารากเหง้าของตนเองผ่านสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ประเทศไทย โดยมีภัณฑารักษ์จาก 2 ประเทศ ประกอบด้วยฟิลิป คอร์นเวล-สมิธห์ ,มาร์ติน เรนเดล และพิบูลย์ อมรจิรพร เป็นทีมสร้างสรรค์นิทรรศการและผู้คัดเลือกสิ่งของ
จัดวางสิ่งของจากเยอรมัน 25 ชิ้นภายในโครงสร้างไม้ไผ่ที่จำลองเป็นบ้าน
ภายในนิทรรศการยังฉายภาพยนตร์สั้น 2 เรื่อง ได้แก่ “อะไรคือความเป็นไทย?” ที่จัดทำโดยทีมนักศึกษาจากประเทศเยอรมัน และ “อะไรคือความเป็นเยอรมัน?” จัดทำโดยทีมนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ประเทศไทย รวมถึงภาพถ่ายบุคคลจากสองประเทศที่สะท้อนวิถีชีวิตของพวกเขาฝีมือช่างภาพที่มีชื่อเสียง โดยในวันเปิดนิทรรศการมีอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ,เกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย,มาเรน นีเมเยอร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และทีมภัณฑารักษ์ ผู้สร้างสรรค์นิทรรศการ ร่วมงาน และนำชมนิทรรศการอย่างสนุกสนาน
การเที่ยวชมนิทรรศการครั้งนี้เหมือนพาไปสำรวจของไทยแท้ๆและเยอรมันแท้ๆคืออะไรสิ่งของธรรมดาจากสองวัฒนธรรมได้จัดวางภายในโครงสร้างไม้ไผ่ที่จำลองสถาปัตยกรรมบ้านที่คนไทยและคนเยอรมันใช้ชีวิตอยู่ทุกวัน แป้งเย็นตรางูแก้ร้อนลดผื่นคัน กระติบข้าวเหนียว แฟนต้าน้ำแดงมีหลอดเสียบ สติ๊กเกอร์เปลี่ยนสีรถ รถคันนี้สีเขียว รถคันนี้สีแดง ท่อพีวีซีเสียบยางรถยนต์ที่เทปูนซีเมนต์ตรงกลาง แม้แต่กระบอกตั๋วรถเมล์ที่คนคุ้นชินจัดแสดงสะท้อนถึงสังคมไทยค่านิยมได้อย่างดี
กระบอกตั๋วรถเมล์ นวัตกรรมคู่ประเทศไทย ฟังก์ชันใช้งานมากมาย
ขณะที่ของใช้ประจำของชาวเยอรมันทั้งจมูกตัวตลกทรงกลมสีแดง รองเท้าแตะเบียร์เคนชต็อกที่เน้นสุขภาพคนสวมใส่มากกว่าแฟชั่น ตราม้าน้ำเครื่องหมายรับรองผู้เรียนว่ายน้ำ พิมพ์เค้กกุกเกิลฮุปพ์ใช้ทำเค้กลายหินอ่อน จนกระทั่งกระโถนเด็กที่หาได้ในท้องตลาดเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมแฝงเรื่องราวจารีตประเพณี จัดวางภายในบ้านจำลองพร้อมคำบรรยายที่ชวนอ่านและคิดตาม
รองเท้าแตะเบียร์เคนชต็อก เน้นสุขภาพคนสวมใส่มากกว่าแฟชั่น
พิบูลย์ อมรจิรพร ทีมผู้สร้างนิทรรศการ กล่าวว่า ของใช้ประจำของคนไทย 25 ชิ้น มีทั้งของในบ้านของนอกบ้าน และสิ่งของที่ใช้ในที่สาธารณะ คัดเลือกสิ่งของธรรมดาที่ไม่แตะตามากนัก ดูแล้วมีความเป็นไทยแบบไม่เป็นทางการ แต่มีนัยยะสำคัญ เช่น กระบอกตั๋วรถเมล์มีใช้ในไทยประเทศเดียว ออกแบบมาพร้อมฟังก์ชันใช้งานสารพัดใส่ตั๋วทุกชนิดราคาใส่เหรียญ ฝากระบอกฉีกตั๋วได้ อีกชิ้นกระติบข้าวเหนียว ตัวกล่องและฝาสานซ้อนกันสองชั้นเพื่อเก็บความร้อนมีรูให้ไอน้ำระเหยข้าวเหนียวอุ่นนุ่มไม่เละของธรรมดาเหล่านี้จนถึงวันนี้ยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ใหม่มาแทนที่
“ นิทรรศการนี้จุดประกายสิ่งของที่เห็นคุ้นเคยในชีวิตประจำวันมีอะไรมากกว่านั้นคอนเทนส์ทางวัฒนธรรมสามารถสร้างโอกาสและมีอนาคตพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์บนทุนทางวัฒนธรรมของเราได้ประเทศเยอรมันถือว่าก้าวหน้าในการพํฒนาเศรษฐกิจจากสิ่งของธรรมดามีผลิตภัณฑ์มากมายออกแบบบนแนวคิดผสมเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ“พิบูลย์ กล่าว
พิบูลย์ อมรจิรพร ทีมผู้สร้างสรรค์นิทรรศการ
มาเร็นนี เมเยอร์ ผอ. สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย กล่าวว่า นิทรรศการนี้มุ่งให้ผู้ชมทั่วโลกคนไทยเข้าใจตัวตนชาวเยอรมันทุกมิติรวมถึงให้คนไทยมองเห็นนัยยะสำคัญที่ซ่อนในสิ่งธรรมดาสะท้อนความเชื่อประวัติศาสตร์ ไม่มองข้ามคุณค่าที่แท้จริงรวมถึงรากเหง้าไทย ทั้งนี้ นิทรรศการสัญจรไปแสดงในเยอรมันจีนและจ.เชียงใหม่ ก่อนมาแสดงในกรุงเทพฯ ครั้งแรก ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างมาก
ชวนไปชมนิทรรศการ“ Invisible Things : สิ่งที่มองไม่เห็น” ได้ฟรีตั้งแต่วันนี้-15 กันยายน2562 50 สิ่งของธรรมดาจากสองประเทศที่จัดแสดงจะมอบดวงตาพิเศษให้กับผู้ชมตระหนักถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ได้เป็นอย่างดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |