สภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินรุนแรงที่แก่นมะกรูด
ด้วยอัตราการพังทลายของดินในพื้นที่แก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี สูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ละปีเกษตรกรสูญเสียปริมาณดินในพื้นที่มากกว่า 10-12 ตันต่อไร่ ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ ผลผลิตที่ได้หลังเพาะปลูกไม่เป็นไปตามเป้า มีการคาดการณ์ว่าภายใน 3-5 ปี ข้างหน้า ดินบนแก่นมะกรูดจะเสื่อมโทรมพังทลายลงมามากกว่านี้ วิกฤตถึงขั้นไม่สามารถเพาะปลูกได้หากไม่เร่งแก้ไขปัญหา
ด้วยเหตนี้ โครงการ”หยุดการชะล้างพังทลายของดิน คืนชีวิตให้แผ่นดินแก่นมะกรูด” โดยบริษัทบางจากคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) สมาคมดินโลก(World Soil Association) กรมพัฒนาที่ดินและสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ จึงเกิดขึ้น ถือเป็นโครงการด้านดินโดยเฉพาะเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตำบลแก่นมะกรูดซึ่งการชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวหลายประเทศรณรงค์และแก้ปัญหาอย่างจริงจังนอกจากนี้งานวันดินโลกวันที่5 ธันวาคมพ.ศ.2562 จะจัดภายใต้ธีม“Stop Soil Erosion, Save Our Future ” หรือปกป้องอนาคตหยุดการชะล้างพังทลายของดินเพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร และเกียรติชัย ไมตรีวงษ์ ปลูกหญ้าแฝกในแปลงเกษตรกรแก่นมะกรูดที่ร่วมโครงการ”หยุดการชะล้างพังทลายของดินฯ”
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายกสมาคมดินโลกกล่าวว่าประเทศไทยเผชิญปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเพราะสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนยิ่งมีการเปิดหน้าดินโล่ง บวกกับความลาดชัน เมื่อมีฝนตกหรือลมแรงจะมีโอกาสชะล้างพังทลายของดินสูงมากการเพาะปลูกไม่ได้ผลมีการเก็บศึกษาวิจัยเก็บข้อมูลพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศกว่า150 ล้านไร่สูญเสียหน้าดินจากการชะล้างของฝนประมาณ108 ล้านไร่ เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยมูลค่าความสูญเสียสองล้านล้านบาทต่อปีหากไม่ทำให้ดินกลับคืนความอุดมสมบูรณ์ประเทศจะไม่เหลืออะไรเลย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานหนักด้านดินมาตลอดพระชนมชีพเพื่อพลิกฟื้นดินให้สมบูรณ์และอุ้มน้ำได้รวมถึงปลูกพืชโดยไม่มีต้นทุนทรงเผยแพร่แนวพระราชดำรินี้ทั่วโลกให้รางวัลพระองค์เชิดชูพระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน
“ ทั่วโลกวิตกกังวลความเสื่อมโทรมของดินต่อไปผู้คนจะอดอยากขาดแคลนอาหารเพราะดินเพาะปลูกไม่ได้การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องไม่ทิ้งใครให้อดอยาก หรือZero Hunger สมาคมดินโลกมีมติตรงกันภายใน3 ปีนี้ต้องหยุดมลพิษในดิน แม้กระทั่งพลาสติกหยุดการชะล้างพังทลายดินปีหน้าต้องร่วมกันทำให้ดินมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชพรรณจุลินทรีย์ไส้เดือนไม่ใช่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่เห็นกัน“ ดร.วิวัฒน์ย้ำ
พื้นที่เกษตรกรรมสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลาย
สำหรับพื้นที่ ต.แก่นมะกรูดที่มีปัญหาคุณภาพดินวิกฤต ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีโครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ต.แก่นมะกรูดอ.บ้านไร่จ.อุทัยธานีตามแนวพระราชดำริโดยมีความร่วมมือจากเครือข่ายที่ศรัทธาในแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีสถาบันปิดทองหลังพระฯเป็นแม่งานหลั กแก้ปัญหาชะล้างพังทลายของดินตามศาสตร์พระราชา มีการอบรมหลักกสิกรรมธรรมชาติให้เกษตรกร ใช้จอบแทนรถไถเพื่อไถพรวนหน้าดินทำไร่ ทำนาขั้นบันไดและคลองไส้ไก่กักเก็บน้ำเก็บตะกอนไม่หลากไปที่อื่น ปลูกหญ้าแฝกฝายชะลอน้ำ และปลูกป่า 5 ระดับสูงกลางเตี้ยเรี่ยดิน จนถึงระดับใต้ดิน ซึ่งวิธีการนี้ความอุดมสมบูรณ์ของดินกลับมาผลผลิตสูงขึ้น 3-4 เท่าและสามารถปลดหนี้ได้จากที่คิดฆ่าตัวตายที่สำคัญไม่บุกรุกป่าเพิ่มเพื่อหาที่ๆดินดีกว่าเมื่อมีตัวอย่างเกษตรกรที่เพาะปลูกผลผลิตงอกงามเกิดการขยายผลในพื้นที่สืบสานศาสตร์พระราชาและส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า“เกษตรกรรมยั่งยืน” รัฐจะต้องส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มที่
“ องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ(FAO) ร่วมกับรัฐบาลไทยจัดให้มีการมอบรางวัลวันดินโลก หรือWorld Soil Day Award ให้แก่ประเทศองค์กรบุคคลที่อนุรักษ์ดินปีแรกองค์กรจากบังคลาเทศได้รางวัลจากการแก้ดินเค็มและกัดเซาะชายฝั่งปี62 นี้หวังจะให้พื้นที่แก่นมะกรูดเป็นต้นแบบการชุบชีวิตดินที่เสื่อมสภาพโดยมีเครือข่ายรัฐเอกชน อบจ. กลุ่มเกษตรกรชนเผ่ากระเหรี่ยงร่วมทำระบบอนุรักษ์ดินน้ำทำเกษตรกรรมยั่งยืนหยุดชะล้างพังทลายของดินอนาคตมีองค์กรทั่วโลกเดินทางมาศึกษาเรียนรู้และน้อมนำศาสตร์พระราชาไปปรับใช้“ ดร.วิวัฒน์ กล่าวย้ำให้แก่นมะกรูดนำร่อง
สร้างฝายเก็บกักน้ำในพื้นที่สูงเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดินตามศาสตร์พระราชา
เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานวางแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาความยั่งยืนองค์กรบางจากฯ กล่าวว่า บางจากฯได้รับคำชักชวนจากสถาบันปิดทองหลังพระฯ ร่วมพัฒนาพื้นที่แก่นมะกรูดในเรื่องสำคัญประกอบด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์และตั้งกลุ่มอาชีพมีการแปรรูปกล้วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากระบบเกษตรกรรมยั่งยืนรวมถึงจะส่งเสริมการปลูกอ้อยชนิดคั้นน้ำในแก่นมะกรูด ส่งมาจำหน่ายให้ร้านของบางจากได้เป็นช่องทางกระจายสินค้าเกษตรและต่อยอดท่องเที่ยววิถีเกษตรและวัฒนธรรมในพื้นที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวอุดหนุนสินค้าชุมชนช่วยให้ชาวบ้านซึ่งเป็นชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีรายได้มากขึ้น และล่าสุดในปีนี้ร่วมโครงการด้านดินเพราะดินเป็นแหล่งเพาะปลูกเกิดอาชีพเนื่องในโอกาส35 ปีจะร่วมแก้ปัญหาชะล้างพังทลายของดินด้วยศาสตร์พระราชาพาไปอบรมทำโคกหนองนาเก็บน้ำทุกหยดที่ตกลงมา เราติดอาวุธให้เกษตรกร
“ ความรุนแรงของปัญหาชะล้างพังทลายของดินทำให้ปีนี้ต้องเร่งรักษาหน้าดินให้ดีเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืชทำดินให้ดีให้มีปุ๋ยมากขึ้นโดยไม่ใช้สารเคมี โครงการนี้จะน้อมนำศาสตร์พระราชาทำงานนำร่องกับ4 ครอบครัวพื้นที่4 แปลงรวม22 ไร่ทำลักษณะโครงการวิจัย มีติดตามวัดผลและติดตามการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการหยุดชะล้างหน้าดินร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินตลอด3 ปีออกแบบพื้นที่ทำโคกปลูกป่า3 อย่างประโยชน์4 อย่างนาขั้นบันไดขุดหลุมขนมครกสวนเกษตรมีฝายกักเก็บน้ำในที่สูง“ เกียรติชายกล่าวถึงการคืนชีวิตให้”ดิน”
คิกออฟโครงการ”หยุดการชะล้างพังทลายของดิน คืนชีวิตให้แผ่นดินแก่นมะกรูด”
ณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีร่วมประกาศเจตนารมณ์หยุดชะล้างพังทลายของดินแก่นมะกรูด กล่าวว่า อุทัยธานีเป็นแหล่งต้นน้ำสะแกกรังพื้นที่80% ของจังหวัดเป็นป่าและเขาสูงมีศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งยังเป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 8 อำเภอในจังหวัดยึดอาชีพเกษตรกรสำหรับการดำเนินโครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ต.แก่นมะกรูดเป็นกระบวนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริรัชกาลที่9 บูรณาการแก้ไขปัญหายากจนสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาจังหวัดเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตรปลอดภัยการต่อยอดสู่โครงการหยุดการชะล้างพังทลายของดินตามแนวพระราชดำริจะเกิดประโยชน์ มีการปรับปรุงบำรุงดิน ลดการรุกป่าหากดึงเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นจะสร้างภูมิคุ้มกันด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เผด็จ นุ้ยปรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี กล่าวว่า พื้นที่แก่นมะกรูดมีชาวกะหรี่ยงอยู่อาศัยมาตั้งแต่ปี2518 ถือเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติรอยต่อพื้นที่อนุรักษ์3 ป่า อดีตชาวบ้านอยู่แบบคู่ขนานกับเจ้าหน้าที่ มีความขัดแย้งไม่ได้รับอนุญาตทำกิน และกำลังจะเผชิญปัญหาเขาหัวโล้นเช่นเดียวกับภาคเหนือและจ.น่าน หากไม่หยุดบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำไร่ กระทั่งอบจ. ร่วมกับชาวบ้านและสถาบันปิดทองหลังพระฯ ทำโครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการฯสภาพความเป็นอยู่แก่นมะกรูด เปลี่ยนแปลงทางที่ดีขึ้น ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากป่า โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา19 ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติเป็นฐานในการสร้างความถูกต้องทางกฎหมายให้กับการทำกินบนพื้นที่21,600 ไร่เมื่อกำหนดพื้นที่ได้แล้วก็ขอความร่วมมือ2,000 คนจาก500 ครัวเรือนไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่ม และเริ่มทำเกษตรยั่งยืนสืบสานศาสตร์พระราชายังมีเรื่องท่องเที่ยวฤดูหนาวมีนักท่องเที่ยวตอบรับดีมาก ทำรายได้เข้าชุมชนใช้สโลแกน”หนาวสุดกลางสยาม”
“ การหยุดชะล้างพังทลายของดินจะช่วยลดต้นทุนเกษตรกรเพราะทุกวันนี้บางครัวเรือนต้องหว่านข้าวโพด3 ครั้งเมื่อฝนตก เมล็ดพันธุ์ไหลลงคลองต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่อย่างไรก็ตามทิศทางบ้านแก่นมะกรูดจะลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเช่น อ้อย มันสำปะหลัง แล้วก็สนับสนุนให้ปลูกพืชหลากหลายหลังปลูกพืชไร่กรมพัฒนาที่ดินยังแนะนำให้ปลูกพืชขวางทางลาดเทของพื้นที่ปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ ไถกลบตอซังแทนเผาสร้างปัญหาฝุ่นพิษ“ นายก อบจ. ย้ำต้องร่วมมือลดตัวเร่งการพังทลายดิน
ใช้จอบแทนรถไถปรับพื้นที่เกษตรลดการชะล้างพังทลาย ขุดคลองไส้ไก่ในแปลงเกษตร
ปัจจุบันมีเกษตรกรแก่นมะกรูดน้อมนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้มากขึ้นเลิกทำเกษตรเชิงเดี่ยวชีวิตเปลี่ยนคุณภาพดินฟื้นคืน วันนบ ขอสุข ประธานกลุ่มแก่นมะกรูดโมเดล กล่าวว่า เคยทำไร่ข้าวโพดมีแต่หนี้สินจนได้ไปอบรมศาสตร์พระราชากับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาตินำโคกหนองนาโมเดลกับเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้กับพื้นที่ของตัวเองเมื่อปี2559 ปลูกกล้วย ส้ม สตอเบอรี่ และพืชผักสวนครัวเ ช่น ฟักข้าว ชะอม ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า พื้นที่ของตน23 ไร่ห่มดินด้วยฟาง ทำคลองไส้ไก่ขุดหลุมขนมครก เก็บน้ำฝนไว้ในพื้นที่ได้มากกว่า80% ล่าสุดปลูกกาแฟรัฐสนับสนุนต้นกล้ากาแฟปัจจุบันแปรรูปขายชื่อกาแฟ”ไร่อุ๊ยกื๋อ” นักท่องเที่ยวนิยมมากซึ่งต้นกาแฟเป็น1 ในการปลูกป่า5 ระดับ ตามศาสตร์พระราชา
“ ช่วงแรกที่ทำเกษตรผสมผสานคนไม่เชื่อจนได้ผลผลิตเก็บกินและขายมีรายได้มากขึ้นพืชผลเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่ได้ทำเพราะดินและน้ำเราดีกว่าคนเริ่มทำตามแต่ยังมีเกษตรกรอีกมากขาดความเข้าใจต้องทำงานขยายผลต่อไปเพราะอนาคตจะต้องเจอกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมลพิษสารเคมี ปัญหาชะล้างหน้าดินรุนแรงหากทำตามศาสตร์พระราชาจะมีชีวิตอยู่รอดและยั่งยืน“ วันนบ ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านแก่นมะกรูดกล่าวในท้ายต้องขับเคลื่อนหยุดชะล้างพังทลายพร้อมเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |