ข้าวไทย เป็นที่ขึ้นชื่อและมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน แถมยังเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศมหาศาล ถึงปัจจุบันอาจจะมีการแข่งขันที่สูงมากในมากในตลาดโลก เนื่องจากหลายประเทศเห็นโอกาสที่จะเข้ามาทำธุรกิจด้านนี้ จึงสนับสนุนการปลูกและเร่งการผลิตให้สามารถส่งออกได้เหนือกว่าไทย แต่ถึงอย่างนั้นแล้วความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมนี้ของประเทศก็ยังสามารถที่จะดำเนินการและต่อสู้ได้ในเวทีโลกอย่างแน่นอน
แต่ทั้งนี้ในยุคสมัยที่นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปนั้น ส่งผลให้เกิดช่องทางการทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าวมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ท้าทายในอุตสาหกรรมตัวนี้ที่ต้องก้าวสู่การยกระดับด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เช่น เครื่องสำอาง การแพทย์และความงาม ยารักษาโรค เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ขณะที่จากข้อมูลการประกอบอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศยังคงเป็นภาคการเกษตร ซึ่งมีจำนวนประมาณ 6.6 ล้านครัวเรือน โดยในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจำนวนมากที่สุด ประมาณ 3.7 ล้านครัวเรือน แต่กลับพบว่ากลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่ยังคงมีฐานะยากจน และมีหนี้สินจำนวนมาก เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูง และกระบวนการเพาะปลูกข้าวยังไม่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งสิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ก็คือ การสนับสนุนให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมสำหรับชาวนา ที่ควรเริ่มตั้งแต่ลดจุดอ่อนของการปลูกข้าว การสร้างตลาด การลดต้นทุน รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่เกิดจากสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี
และเพื่อให้อุตสาหกรรมข้าวและการเกษตรมีทิศทางการเติบโตที่ดีขึ้น จึงมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ที่ล่าสุดได้ออกมาสนับสนุนความสามารถทางนวัตกรรมให้กับกลุ่มเกษตรกร นักวิจัย ผู้ประกอบการ ผ่านศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร โดยตั้งเป้าพลิกโฉมการเกษตรของประเทศจากเกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรนวัตกรรม รวมถึงการเพิ่มสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้จับมือกับมูลนิธิข้าวไทย จัดการประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยประจำปี 2562 เพื่อคัดเลือกผลงานนวัตกรรมที่มีศักยภาพสูงสู่เชิงพาณิชย์ โดยนายวีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ NIA กล่าวว่า อุตสาหกรรมข้าวไทยควรมีการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมในข้าวอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความก้าวล้ำเหนือคู่แข่งพร้อมสร้างมิติใหม่ให้กับวงการการค้าข้าวในตลาดโลก
เนื่องจากปัจจุบันคู่แข่งส่งออก โดยเฉพาะอินเดีย เวียดนาม และปากีสถาน ซึ่งประเทศเหล่านี้มีราคาการจำหน่ายข้าวที่ถูกกว่า ส่วนอีกหนึ่งปัญหาที่พบก็คือเกษตรกรและผู้ประกอบการยังติดอยู่กับการพัฒนาสินค้าแปรรูปเพียงแค่ขั้นกลางกันเป็นจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วปัจจุบันตลาดและกลุ่มผู้บริโภคมีการมองหาและให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นนวัตกรรมกันอย่างแพร่หลาย และ “ข้าว” ถือเป็นสินค้าเกษตรประเภทหนึ่งที่มีโอกาสที่จะเติบโต
และจากการดำเนินงานของ NIA ดังกล่าวจึงเกิดโครงการที่จะสนับสนุนความสามารถทางนวัตกรรมให้กับกลุ่มเกษตรกร นักวิจัย ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ผ่านศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดการไต่ระดับพัฒนาการทางนวัตกรรมด้วยเครื่องมือหลากหลายรูปแบบที่ได้รับการออกแบบอย่างเป็นระบบ โดยตั้งเป้าที่จะพลิกโฉมการเกษตรของประเทศจากเกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรนวัตกรรม
พร้อมยกระดับให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรและอุตสาหกรรมการเกษตรให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการเพิ่มสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสตาร์ทอัพด้านการเกษตร ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะช่วยสร้างทั้งมูลค่าและโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ทั้งยังเปรียบเสมือนการเชื่อมโยงตั้งแต่การดูแลต้นพืชที่เริ่มปลูกในไร่ให้มีคุณภาพที่ดีไปจนถึงมือผู้บริโภค
โดยได้ร่วมกันจัดการประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดเลือกผลงานนวัตกรรมข้าวไทยที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพสูงในการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สำหรับในปีนี้จะเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่ 1 เม.ย.-31 ก.ค.2562 ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่จะกระตุ้นการพัฒนาจากไอเดียของคนรุ่นใหม่ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้ข้าวไทยพัฒนาแซงประเทศคู่แข่ง และเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะพัฒนาเศรษฐกิจประเทศต่อไป.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |