กรมศิลปากรลงนาม MOU– ออสเตรเลีย ทำแผนขุดค้นจัดการแหล่งเรือจม"พนม-สุรินทร์"


เพิ่มเพื่อน    


13 มิ.ย.62- นายอนันต์ ชูโชติ  อธิบดีกรมศิลปากร และดร.วิกกี้เลวาน่   ริชาร์ด  นักอนุรักษ์แผนกโบราณคดีทางทะเลและแผนอนุรักษ์โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ(MOU) ระหว่างไทย– ออสเตรเลียด้านการวิจัยการขุดค้นการอนุรักษ์และการจัดการแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์และแหล่งเรือจมอื่นๆในประเทศไทยโดยมีร้อยเอกบุณยฤทธิ์ฉายสุวรรณผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำและผู้บริหารกรมศิลปากรร่วมเป็นสักขีพยานณห้องประชุมกรมศิลปากร

 

นายอนันต์กล่าวว่าบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรมกับสถาบันสมุทรศาสตร์และวิทยาลัยสังคมศาสตร์(โบราณคดี) มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียแผนกโบราณคดีทางทะเลและแผนอนุรักษ์โบราณวัตถุพิพิธภัณฑสถานแห่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและภาควิชาโบราณคดีคณะศึกษาศาสตร์มนุษยศาสตร์และกฎหมายมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สประเทศออสเตรเลียเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมระหว่างกรมศิลปากรและภาคีหน่วยงานฝ่ายออสเตรเลียในการจัดทำแผนการบริหารจัดการแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์จ.สมุทรสาคร รวมถึงแหล่งเรือจมอื่นๆในประเทศไทยโดยภาคีหน่วยงานฝ่ายออสเตรเลียจะร่วมกำหนดแผนบริหารจัดการแหล่งดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยการให้ความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีใต้น้ำและนักอนุรักษ์ในการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่บุคลากรของกรมศิลปากรให้สามารถปฏิบัติงานในแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์และแหล่งเรือจมอื่นๆในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายอนันต์ กล่าวต่อว่างานโบราณคดีใต้น้ำระหว่างไทยและออสเตรเลียมีความสัมพันธ์อย่างยาวนานรัฐบาลประเทศออสเตรเลียได้เคยส่งผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีใต้น้ำเข้ามาช่วยเหลือในการสำรวจแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2525 ซึ่งเป็นยุคเริ่มงานโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยร่วมสำรวจแหล่งเรือจมสีชังหมายเลข1,2 และหมายเลข3 นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเคยส่งนักโบราณคดีใต้น้ำไทยไปศึกษาต่อด้านโบราณคดีทางทะเลณมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สประเทศออสเตรเลียอีกด้วย

ข้อมูลจากหนังสือแหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ของกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรมระบุว่าจากการศึกษาอักษรอาหรับบนชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปภาชนะดินเผาที่พบทั้งจากแหล่งผลิตจากจีนตะวันออกกลางและภาชนะในท้องถิ่นทั้งรูปแบบเรือที่ใช้วิธีการต่อเรือแบบอาหรับโบราณ  และการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ตัวอย่างอินทรียวัตถุที่พบสอดคล้องกันว่าเรือโบราณลำนี้มีอายุราวพ.ศ. 1200-1300 (ประมาณพุทธศตวรรษที่13-14) ร่วมสมัยกับเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี นับเป็นหลักฐานแหล่งเรือจมมีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบแหล่งเรือจมในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"