กฟผ. จับมือรัฐดึงนวัตกรรมสร้างมูลค่าผักตบชวาแปลงเป็นปุ๋ยหมัก


เพิ่มเพื่อน    


กฟผ.ดึงนวัตกรรมเครื่องร่อนปุ๋ยอินทรีย์ผลิตปุ๋ยหมักจากผักตบชวาช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมลดปริมาณผักตบชวาบริเวณเขื่อนปากมูลจ.อุบลราชธานีต่อยอดสร้างรายได้ให้ชุมชน

12 มิ.ย. 62 - ว่าที่ร.ต. ไพฑูรย์จงจินากูลรักษาราชการแทนนายอำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ผักตบชวาสวะที่มีคุณค่า”โดยร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานีหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 มณฑลทหารบกที่ 22 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่โครงการชลประทานอุบลราชธานีกรมชลประทานหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนปากมูลอุบลราชธานีกรมประมงสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตรประชาชนในพื้นที่อำเภอโขงเจียมและอำเภอสิรินธรรวมทั้งมีนายธนภัทรฉัตรสุวรรณหัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)และพนักงาน กฟผ.ร่วมกิจกรรม ณบ้านหัวเห่วอำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี

นายศานิต  นิยมาคม ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน ในฐานะรองโฆษก กฟผ. เปิดเผยว่า โครงการ“ผักตบชวาสวะที่มีคุณค่า”ได้นำนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยหมักจากผักตบชวาแบบไม่พลิกกลับกองซึ่งเป็นผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องร่อนปุ๋ยอินทรีย์ของกฟผ. มาร่วมแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่มีปริมาณหนาแน่นในเขื่อนปากมูลอ.โขงเจียมจ.อุบลราชธานีที่มีปริมาณผักตบชวาประมาณ 4,200 ตัน/ปีซึ่งเป็นสาเหตุหลักของน้ำเน่าเสียส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำและทำให้เสียทัศนียภาพในด้านการท่องเที่ยวโดยนำผักตบชวามาผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองเพื่อสร้างคุณค่าและก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนในพื้นที่ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับเพาะปลูกอีกทั้งยังส่งผลให้คุณภาพดินเพาะปลูกในชุมชนดีขึ้นและยังช่วยสร้างรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยหมักเป็นสินค้าของวิสาหกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการ “ผักตบชวาสวะที่มีคุณค่า”ได้นำแนวทางธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business Model) มาปรับใช้โดย กฟผ. สนับสนุนเงินลงทุนบางส่วนเครื่องจักรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับวิสาหกิจชุมชนปัจจุบันมีวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาบ้านหัวเห่วอ.โขงเจียมและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานผัง 16 บ้านคำวังยางอ.สิรินธรจ.อุบลราชธานีทั้งนี้ในปี 2562 ชุมชนมีเป้าหมายที่จะนำผักตบชวาจำนวน 400 ตันมาทำปุ๋ยหมักจำนวน 120 ตันโดยจะแบ่งปุ๋ยหมักให้สมาชิกตามสัดส่วนการร่วมลงทุนค่ามูลสัตว์เพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกจำนวน 60 ตันและวิสาหกิจชุมชนนำไปจำหน่ายในรูปของผลิตภัณฑ์ดินอินทรีย์จำนวน 60 ตัน

“กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมพลังงานเพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไทยอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าและเขื่อนกฟผ. และ กฟผ. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาปริมาณผักตบชวาในพื้นที่พร้อมต่อยอดสร้างรายได้และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนได้อย่างยั่งยืน” รองโฆษก กฟผ. กล่าวในที่สุด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"