จดหมายเรื่อง'ช่อ'ศิษย์เก่าจุฬาฯเขียนถึง'อัยการปรเมศวร์'


เพิ่มเพื่อน    

12 มิ.ย.62 -  น.ส.ศุภมาส เสนะเวส ในฐานะศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้

เรียน ท่านรองอธิบดีอัยการ

ในทุกสังคมมีบุคคล มีสัญลักษณ์ มีรูปเคารพ มีอนุสาวรีย์ มีสิ่งสักการะบูชา ไม่ว่าจะโดยคุณงามความดีต่อประเทศชาติ โดยความศรัทธาตามหลักศาสนา ฯลฯ

หากใครมาหมิ่นหยาม ย่อมนำมาซึ่งความขุ่นแค้นโกรธเคือง

ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

อนุสาวรีย์หรือพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

นับเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวจุฬาฯ

ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ยังเพิ่มเติมด้วยรูปของ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ -พระบิดาแห่งนิติศาสตร์ไทย (ซึ่งท่านคงรู้จัก) อีกด้วย

ดังนั้น เมื่อมีผู้แสดงอาการลบหลู่ หมิ่นแคลน เสียดเย้ย ต่อผู้ที่เคารพบูชา เป็นธรรมดาที่ย่อมมีผู้ไม่พอใจและมีปฏิกิริยาจากชาวจุฬาฯ จำนวนมาก

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ทุกพระองค์ยังเป็นที่เคารพรักของพสกนิกรชาวไทย #ส่วนใหญ่ 

ด้วยทรงมีคุณูปการอเนกอนันต์ต่อประเทศไทย

กระแสความไม่พอใจ โกรธแค้น ขุ่นเคือง ตำหนิ ทักท้วง หรือสาปแช่งด่าทอ จึงโหมกระพือโดยธรรมชาติของตัวมันเอง

ลุกลามไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

นำมาซึ่งการสืบค้นถึงพฤติการณ์ต่าง ๆที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ของผู้กระทำ

และที่สำคัญยิ่ง การกระทำในเรื่องดังกล่าวมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คุ้มครองพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

การเรียกร้องให้ตรวจสอบและดำเนินคดีจึงตามมา และฝ่ายบ้านเมืองจึงดำเนินการ

ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามหลัก 

#อิทัปปัจจยตา -ผลย่อมมาแต่เหตุ

ผู้กระทำเป็นผู้สร้างทำ มิใช่ผู้อื่นจองล้างกลั่นแกล้งแต่ประกาศใด จึงขอความกรุณาท่านโปรดเข้าใจ #ข้อเท็จจริง

บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรม #โดยเฉพาะระดับสูง พึงดำรงความเที่ยงธรรมไว้ในจิตใจ มองทุกอย่างด้วยหลักเหตุผล

ใช้อารมณ์ความรู้สึกให้น้อย --น้อยกว่าบุคคลทั่วไป ดังที่กล่าวกันว่า พึงปราศจากอคติ ๔ อันได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ

และระมัดระวังการแสดงความเห็นอันกอปรด้วยอคติ ออกสู่สาธารณะ

อนึ่ง ตามหลักกฎหมายอาญา ผู้ที่ถือว่าเป็นเด็กและเยาวชน จะต้องมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์ การพิจารณาคดีจึงจะทำในศาลคดีเด็ก เยาวชนฯ และการลงโทษจะใช้กระบวนการฝึกอบรมในสถานพินิจต่าง ๆ แทนการจำคุกในเรือนจำ แต่กระนั้นก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับพฤติการณ์ที่โหดร้ายรุนแรงกว่าปกติ

ส่วนในหลักกฎหมายแพ่งฯ นั้น 
อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ถือว่า #บรรลุนิติภาวะ มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอที่จะทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ได้ โดยรับรู้ผลของการกระทำนั้น
(ทบทวนมา เผื่อท่านจะหลงลืมด้วยวัยชรา)

ผู้กระทำการดังกล่าว มีอายุราว ๒๑-๒๒ ปีในขณะนั้น 
จึงไม่ใช่ #เด็ก ในสถานะใด ๆ ทั้งสิ้น

นอกจากนั้น ผู้กระทำ ยังกระทำในขณะที่กำลังจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร อันเป็นเครื่องประกาศความเป็นบัณฑิต
บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา ผู้ทรงความรู้ นักปราชญ์ ฯ

จึงมิอาจกล่าวได้ว่ากระทำไปด้วยความ #เบาเต็ง หรือ #เยาว์ความ

จึงน้อมเรียนมาเพื่อทราบ

#การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง
สัพพทานัง ธรรมทานัง ชิเนติ

ศุภมาส เสนะเวส
นิสิตเก่านิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๒๑
(ผู้มีความรู้ไม่มากนัก)

๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๒


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"