ในสภาวะที่เสียงในสภาฯ ปริ่มน้ำ จำนวน ส.ส.ห่างกันไม่กี่คน จึงทำให้ ส.ส.ของ 19 พรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลฝั่งพลังประชารัฐ (พปชร.) ไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ เพราะหากขาดไปเพียงไม่กี่คนก็มีสิทธิ์ทำให้องค์ประชุมล่ม กระทบต่อการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ และภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่อาจพังได้
ดังนั้นแต่ละพรรคจึงมีการควบคุมจำนวน ส.ส.ให้มาประชุมอย่างเคร่งครัด จะไปไหนมาไหนก็ต้องแจ้งให้หัวหน้าพรรคหรือคนที่ดูแลองค์ประชุมทราบ เพราะหากจู่ๆ ไปไหนมาไหนตามตัวไม่ทัน เดี๋ยวจะถูกอีกฝ่ายหาเรื่องนับองค์ประชุม..ยุ่งตาย
ย้อนกลับไปเหตุการณ์โหวตนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตจากพรรคพลังประชารัฐ กับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่งพรรคอนาคตใหม่
หลังทราบว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ลาออกเพราะไม่เห็นด้วยกับการไปร่วมงานกับ พปชร. รวมทั้ง ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนฯ จะงดออกเสียง
ยิ่งทำให้ฝ่าย พปชร.และพรรคร่วมรัฐบาลต้องคุมเข้มคะแนนเสียง และจำเป็นต้องให้เสียงหนุน ลุงตู่ เกิน 250 เสียงให้ได้ เพื่อสะท้อนให้สังคมเห็นภาพการทำงานข้างหน้าว่ามีเสถียรภาพ รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ พล.อ.ประยุทธ์ที่ไม่ต้องหวังพึ่งเสียง ส.ว.สรรหา
ด้วยการคุมเข้มเช่นนี้ แม้แต่แม่ลูกอ่อนอย่าง ส.ส.ผึ้ง-ศุภมาส อิศรภักดี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ก็ยังไม่สามารถออกไปให้นมลูกได้ จึงใช้โอกาสระหว่าง ส.ส.และ ส.ว.อภิปรายเรื่องคุณสมบัติของนายกฯ กันยาวเหยียด ออกไปหาห้องในอาคารทีโอทีหลบมุมปั๊มนมให้ลูก
“ปั๊มนมวนไป รอโหวตนายกฯ จ้า” ส.ส.แม่ลูกอ่อนบอกอย่างนั้น
อย่างนี้เรียกว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่พร่อง 555.
ช่างสงสัย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |