ผู้สูงวัยเปรียบเหมือนแหล่งรวมความรักของลูกหลาน แต่ด้วยร่างกายที่เสื่อมถอยลงไม่แข็งแรงเท่าคนหนุ่มสาว ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ ข้อมูล รวมถึงการให้ความใส่ใจเรื่องการตรวจสุขภาพและการดูแลร่างกายให้แข็งแรงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
พญ.ธิศรา วีรสมัย สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัวและหัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยโรงพยาบาลพญาไท 1 กล่าวว่า "สังคมไทยของเราในตอนนี้กำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข คือ การมีสุขภาพที่ดี มีร่างกายที่เข็งแรง ดังนั้นจึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการดูแลและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ตามมากับอายุที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น มีปัญหาในการได้ยินหรือหูตึง มีปัญหาในการมองเห็น ความจำเสื่อม ข้อเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกบาง และสำหรับของผู้หญิงต้องให้ความสำคัญกับความเสี่ยงของโรคที่ตามมาหลังวัยหมดประจำเดือนเป็นพิเศษ เพราะฮอร์โมนเพศในร่างกายลดลง ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น ผิวแห้ง ช่องคลอดแห้งเกิดการระคายเคือง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยในผู้สูงอายุช่องคลอดและมดลูกจะหย่อน โดยเฉพาะในรายที่คลอดลูกหลายคน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่เพิ่มขึ้น
อีกหนึ่งโรคที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะความเสี่ยงของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นกันคือ "โรคมะเร็ง" มะเร็งที่พบมากในผู้หญิง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งที่เพิ่มขึ้นจากการมีอายุมากขึ้นนั้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่นเดียวกันกับความเสี่ยงทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก
อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ คือ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งปนเปื้อนสารเคมีหรื่อสารก่อมะเร็ง เช่น การทานอาหารปิ้งย่างติดเขม่าดำ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การสัมผัสมลพิษทางอากาศ เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป ควันรถยนต์ ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และตรวจเพิ่มเติมตามข้อแนะนำทางการแพทย์ เมื่ออายุถึงเกณฑ์ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจเต้านมด้วย digital mammogram ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งเต้านม อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง และตั้งแต่อายุ 55 ปี อาจรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย low-dose CT โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำหรือใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ตามวินิจฉัยของแพทย์
นอกจากนี้ หากพบประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งอาจบ่งบอกได้ว่าเกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ การตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งด้วยการตรวจยีนจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัย สามารถตรวจได้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการผิดปกติหรือไม่พบความผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์หรือเลือด เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพเชิงลึก เช่น หากผลตรวจเป็นบวก นั่นคือ ยังไม่ได้เป็นมะเร็งตอนนี้ แต่พบความเสี่ยงเป็นมะเร็งทางพันธุกรรมซึ่งจะเกิดในอนาคต ตอนนี้ก็ต้องปรับรูปแบบการใช้ชีวิต ทั้งอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็งชนิดนั้นๆ
หากผลตรวจเป็นลบ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีทางเป็นมะเร็งเลย แต่หมายถึง ไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมในการเกิดมะเร็ง การดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงก็ยังมีความสำคัญ เพราะการเกิดมะเร็ง นอกจากพันธุกรรมแล้ว รูปแบบการใช้ชีวิต และการปนเปื้อนสารเคมี หรือสารก่อมะเร็ง ก็เป็นปัจจัยสำคัญ เช่น เลี่ยงการทานอาหารปิ้ง-ย่างติดเขม่าดำ เลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเป็นประจำ เลี่ยงการสัมผัสมลพิษทั้งทางอากาศ อาหาร เป็นต้น
การตรวจยีนทำได้ง่ายและสะดวก ด้วยการเจาะเลือด 6 มล. ส่งตรวจห้องปฏิบัติการทางพันธุกรรม วิเคราะห์ผลด้วยเทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) ที่นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการตรวจยีน มีความแม่นยำ ถูกต้อง ปลอดภัย มาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา โดยผลการตรวจเฉพาะรายบุคคลรับรองโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ศาสตร์โรคมะเร็ง ปัจจุบันการตรวจยีนจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ประโยชน์ของการตรวจสามารถช่วยวางแผนการตรวจสุขภาพได้ตรงจุดเสี่ยงมากขึ้น และหากพบก้อนเนื้อที่ผิดปกติและสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้ทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม และหากพบว่าเป็นมะเร็งระยะต้นๆ จะเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในระยะยาว".
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |