10kom01.pol
อึ้ง!รุมอัด'กระบวนการยุติธรรม'เอียง
วงเสวนา "วิกฤตศรัทธาตุลาการกับอนาคตประเทศไทย" สับเละกระบวนการยุติธรรม "โบว์" ชี้หลายคดีการเมืองมีใบสั่ง เตือนถ้าคนไม่เชื่อในความยุติธรรมอาจเกิดกลียุค "สมยศ" อัดซ้ำตุลาการไทยหลังปี 49 รับใช้เผด็จการ-มือที่มองไม่เห็น "อนค." ระบุจับตาศาล รธน.ใช้มาตรฐานสั่งคดีถือหุ้นสื่อพรรคอื่นเทียบ "ธนาธร" อดีตตำรวจแนะตัดสินคดีบนความถูกต้องไม่บิดเบี้ยวช่วยกู้ศรัทธาได้
ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว วันที่ 9 มิ.ย. มีการจัดงานเสวนาในหัวข้อ "วิกฤตศรัทธาตุลาการ กับอนาคตประเทศไทย" ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง, นายชำนาญ จันทร์เรือง รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.), พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร อดีตรองผู้บังคับจเรตำรวจ และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ประธานกลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย
น.ส.ณัฏฐากล่าวว่า วิกฤติในวันนี้คือวิกฤติศรัทธาที่เกิดขึ้นต่อกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งศาลและ องค์กรอิสระ ขอยกตัวอย่างคดีของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง คดีการชุมนุมที่มาบุญครอง เรามีผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 9 คน 3 คนในนั้นไม่ได้เกี่ยวข้อง คือนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักกิจกรรมนักศึกษา, นายสมบัติ บุญงามอนงค์ บ.ก.ลายจุด และนายวีระ สมความคิด ที่มายืนดูให้กำลังใจ แต่ปรากฏว่าทั้ง 3 คนถูกแจ้งข้อกล่าวหา ม.116 ที่มีโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี ซึ่งอัยการก็ส่งฟ้องต่อไป ทั้งที่ได้ข้อมูลมาจากตำรวจโดยไม่มีการใส่สีตีไข่แต่อย่างใด อีกข้อหาหนึ่งคือการชุมนุมใกล้พื้นที่พระราชฐานไม่เกิน 150 เมตร โดยห่างแค่ 148.53 เมตร แสดงให้เห็นว่าคดีเหล่านี้มีใบสั่ง ซึ่งเราพยายามสร้างมาตรฐานใหม่ โดยทำหนังสือขอความประสงค์โดยไม่ใช้หลักทรัพย์ คัดค้านการฝากขัง เพราะเราไม่เข้าเงื่อนไขในการขอประกันตัว ซึ่งผลที่ได้คือเราได้รับการประกันตัวโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยเฉพาะคดีการเมือง
น.ส.ณัฏฐากล่าวว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น มีการออกกฎหมายย้อนหลังให้เอาผิด ซึ่งขัดต่อหลักการของสหประชาชาติ อีกทั้งมีการออกกฎหมายให้สืบพยานลับหลังจำเลยได้ด้วย แสดงให้เห็นว่าการพยายามเอาผิดนายทักษิณ ชินวัตร คนเดียว ถึงกับต้องทำลายหลักนิติธรรมเลยหรือ เราต้องสร้างวัฒนธรรมของการไม่ยอมรับความไม่ยุติธรรมทุกรูปแบบ อย่างกรณีคำถามพ่วงตอนลงมติรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด หากมีกรณีเกิดขึ้นอีกเราทุกคนต้องร่วมกันกรีดร้อง
"อีกไม่นานนี้คาดว่าจะปรากฏภาพของประธานศาลฎีกา ประธาน สนช. และนายทหารที่ใกล้ชิดกับคนใน คสช. ที่จะเป็นประเด็นในอีกไม่นานนี้ ยิ่งทำให้เกิดปัญหาวิกฤติศรัทธา ดังนั้นขอให้วิกฤติศรัทธาลามในความยุติธรรม เพราะเมื่อคนไม่เชื่อในความยุติธรรมแล้วจะเกิดกลียุค” น.ส.ณัฏฐากล่าว
ส่วนนายสมยศกล่าวว่า ตนตกเป็นจำเลยหลายคดี ทั้งคดีหมิ่นประมาทโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ หมิ่นเจ้าพนักงาน รวมทั้ง ม.112 ซึ่งอำนาจตุลาการมีปัญหาตั้งแต่ปี 48-49 เรื่อยมา เนื่องจากอำนาจตุลาการเป็นอำนาจที่ไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับประชาชน ผู้พิพากษามาจากการแต่งตั้ง ซึ่งผิดกับอำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ตอนที่ตนโดนจับกุมมั่นใจว่าสู้คดีชนะแน่ แต่ปรากฏว่าเมื่อขอประกันตัวทั้งหมด 17 ครั้ง ตั้งแต่ศาลชั้นต้นไปถึงศาลฎีกา กลับไม่ได้รับอนุญาต โดยให้เหตุผลว่าโทษสูงกลัวหลบหนี ขณะที่คดีหมอนิ่มมีการฆ่าคนตาย แต่ศาลชั้นต้นกลับให้ประกันตัว ทั้งที่เป็นสิทธิพื้นฐานในการต่อสู้คดี ซึ่งเป็นลักษณะการดำเนินการ 2 มาตรฐาน เช่นเดียวกับกรณี ตรรกวิบัติ อย่างการไม่ให้สร้างรถไฟความเร็วสูง ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลกลับอนุญาตให้ทำได้โดยไม่มีคนค้าน
"ที่ผ่านมาตุลาการไทยทำหน้าที่ 3 อย่าง ตั้งแต่ปี 2549 คือ 1.รับใช้เผด็จการอย่างเป็นรูปธรรม 2.ตุลาการทำเพื่อตัวเอง อย่างการรับตำแหน่งขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2550 3.ตุลาการทำงานรับใช้มือที่มองไม่เห็น ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่หลายครั้ง และแน่นอนว่ามือนั้นยังคงมีอยู่”ประธานกลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตยกล่าว
ด้านนายชำนาญกล่าวว่า ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยซึ่งไม่ได้อยู่เหนือ 2 อำนาจ นิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบรัฐสภา ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ทำให้ระบอบตุลาการเป็นใหญ่ เมื่อก่อนเราสามารถถอดถอนได้ผ่าน ส.ว. แต่ตอนนี้ถอดถอนไม่ได้ ขณะเดียวกันเราเจอข้อสงสัยหลายครั้งที่ทำให้ศาลมีคำถาม เพราะศาลเป็นคนเช่นเดียวกับเรา เหตุแห่งความสงสัยในเรื่องความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น สามารถใช้ผู้เชี่ยวชาญทดแทนได้ แต่เหตุแห่งความสงสัยต่อเรื่องความเป็นกลางของศาลนั้นเกิดได้ไม่กี่เหตุ อย่างเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัว ที่มาจากความสัมพันธ์ทางความคิดและทัศนคติทางการเมือง
"เรื่องหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เชื่อว่าโดยกฎหมายเราไม่มีทางผิดในข้อหานี้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญรับไปมีการสั่งให้สปีด ให้ยุติปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเราได้ยื่นหลักฐานชี้แจงไปแล้ว พร้อมกับยื่นร้องพรรคอื่นประมาณ 2 พรรคไปในกรณีเดียวกันกับที่นายธนาธรโดน หวังว่าศาลรัฐธรรมนูญน่าจะใช้มาตรฐานเดียวกัน เพราะพิจารณานายธนาธรใช้เวลา 7 วัน ก็รอดูอยู่ว่าจะใช้เวลากี่วัน" รองหัวหน้าพรรค อนค.กล่าว
ขณะที่ พ.ต.อ.วิรุตม์กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าประชาชนส่วนใหญ่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา รวมถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่มีการใช้อำนาจวินิจฉัย ก็เป็นหนึ่งในอำนาจตุลาการด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันผู้คนมีความคับแค้นใจจากความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและเพื่อนร่วมชาติ แต่เมื่อคำพิพากษาออกมา พวกเขาเหล่านั้นก็พูดไม่ออก เพราะเกรงว่าจะโดนข้อหาหมิ่นศาล
"มีผู้พิพากษาหลายท่านพยายามบอกสังคมว่า เราไม่อาจประสาทความยุติธรรมให้ประชาชนได้ เพราะไม่ว่าจะตัดสินอย่างไรก็ต้องมีคนไม่พอใจอยู่ดี แต่ผมขอยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่จริง หากการตัดสินคดีอยู่บนความถูกต้องชอบธรรมและไม่บิดเบี้ยว ขณะที่รัฐบาลที่ผ่านมามีการคุยโวว่าออกกฎหมายมากว่า 500 ฉบับ แต่ก็ไม่ได้มีการออกกฎหมายสำคัญที่จะจัดการกับปัญหาคอร์รัปชันได้ คือ พ.ร.บ.ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ที่ป้องกันการนำของหลวงหรือการนำเจ้าหน้าที่ไปคอยเดินตามผู้ใหญ่ ซึ่งก็ยังคงค้างอยู่ที่สภา สิ่งสำคัญที่จะไม่ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดวิกฤติตุลาการ คือการทำให้พยานหลักฐานและสำนวนต่างๆ เข้ามาอยู่ในกระบวนการทางกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยให้พนักงานอาญาเข้ามามีส่วนร่วมในการสอบสวนตั้งแต่เกิดเหตุ” พ.ต.อ.วิรุตม์กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |