“อัยการธนกฤต” กาง รธน. ชี้ประยุทธ์บวกพลังประชารัฐถือแต้มต่อเลือกเก้าอี้รัฐมนตรี


เพิ่มเพื่อน    


วันที่ 9 มิ.ย. ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความเห็นเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ระบุว่า การจัดตั้งรัฐบาลเมื่อต่างฝ่ายต่างมีแต้มต่อ แต่พลเอกประยุทธ์บวกพลังประชารัฐถือแต้มต่อเหนือกว่า  ภายหลังรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาลที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ยิ่งมีความเข้มข้นขึ้นและต้องจับตามองเป็นพิเศษขึ้นไปอีก ท่ามกลางกระแสข่าวความไม่ลงตัวในการจัดสรรตำแหน่ง และการต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงต่าง ๆ ของพรรคการเมืองฝ่ายขั้วรัฐบาล คือ พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย 

การจะพิจารณาความได้เปรียบและเสียเปรียบในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองแต่ละพรรคนั้น มีความจำเป็นยิ่งอย่างขาดไม่ได้ที่จะต้องพิจารณาถึงอำนาจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กุมสถานะความได้เปรียบเหนือพรรคการเมืองทุกพรรค ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ในขณะที่ยังไม่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ และบทเฉพาะกาล มาตรา 265 วรรคหนึ่งก็กำหนดให้ คสช. ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ในขณะนี้ถึงแม้การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะยังไม่เรียบร้อย พลเอกประยุทธ์ คณะรัฐมนตรีชุดเดิม และ คสช. ก็ยังคงดำรงสถานะเดิมในตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่

2.  ถ้าไม่มีทางออกหรือถึงทางตันในการจัดตั้งรัฐบาล หรือมีความขัดแย้ง ความไม่ลงตัว ในการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ อย่างที่ไม่มีใครยอมใคร  พลเอกประยุทธ์ คณะรัฐมนตรีชุดเดิมและ คสช.ก็มีอำนาจตามมาตรา 44 และบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไป โดยไม่ต้องมีการจัดตั้งรัฐบาล

3. เมื่อรัฐสภามีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เห็นชอบให้พลเอกประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว อำนาจในการต่อรองและคัดสรรผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ จำนวนไม่เกิน 35 คน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงไม่ได้อยู่เฉพาะกับบรรดาแกนนำพรรคการเมืองและ    ผู้มีอำนาจแต่ได้มาอยู่ในมือของพลเอกประยุทธ์ด้วย

4.  บรรดาพรรคการเมืองขั้วร่วมรัฐบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคการเมืองอื่น ๆ ย่อมไม่มีพรรคไหนที่อยากให้การเจรจาต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีประสบความวุ่นวายและความขัดแย้งถึงขนาดที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนทำให้การจัดตั้งรัฐบาลล้มเหลวและนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่

5. พรรคการเมืองขั้วร่วมรัฐบาลต่าง ๆ คงไม่มีพรรคไหนปฏิเสธว่าไม่อยากร่วมรัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ถ้าจะมีเงื่อนไขใดที่จะเป็นอุปสรรคปิดกั้นในการร่วมรัฐบาลแล้ว บรรดาพรรคการเมืองเหล่านี้ย่อมพร้อมที่จะสละเงื่อนไข ลดเลิกอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นเงื่อนไขของฝ่ายตนเพื่อให้สามารถเข้าร่วมรัฐบาลได้

การเจรจาต่อรองการจัดสรรตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะตำแหน่งรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย ในที่สุดจึงน่าจะอยู่ที่การแสดงบทบาทและอำนาจในการตัดสินใจของพลเอกประยุทธ์ที่จะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเลือกว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรี ที่จะทำให้บรรลุประโยชน์จนเป็นที่พอใจหรือสามารถที่จะยอมรับได้ของพรรคการเมืองต่าง ๆ

นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีความใกล้ชิดและเป็นฐานเสียงใหญ่สำคัญที่สุดของพลเอกประยุทธ์ ย่อมจะถือเอาโอกาสที่พลเอกประยุทธ์มีอำนาจและสถานะที่เหนือกว่าบรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ ใช้สถานะความได้เปรียบของพลเอกประยุทธ์นำมาเป็นความได้เปรียบของตัวเอง ความได้เปรียบของพลเอกประยุทธ์จึงเป็นความได้เปรียบของพรรคพลังประชารัฐด้วย ซึ่งย่อมทำให้พรรคพลังประชารัฐมีแต้มต่อที่เหนือกว่าพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทยด้วยเช่นกัน

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทยเองก็มีแต้มต่อในการต่อรองการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าแต้มต่อของทั้ง 2 พรรค จะมีน้อยกว่าพลเอกประยุทธ์และพรรคพลังประชารัฐก็ตาม โดยแต้มต่อที่มีแต่เดิมเป็นการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ถึงแม้ว่าลำพังพียงแค่จำนวนเสียงของ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ พรรคการเมืองขนาดเล็ก และ ส.ว. จะเพียงพอที่จะทำให้พลเอกประยุทธ์ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งพอที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่หากพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย ไม่ร่วมลงคะแนนให้ด้วย การได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ก็อาจจะขาดความสง่างาม แต่ทั้ง 2 พรรคการเมือง ได้สละเงื่อนไขที่เป็นแต้มต่ออันนี้ไปแล้ว ปัจจัยที่เหลืออยู่ที่จะเป็นแต้มต่อของพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย ได้ในขณะนี้ จึงได้แก่

1.      พลเอกประยุทธ์และ คสช. คงไม่ใช้อำนาจตามมาตรา 44 และบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญดังที่กล่าวมาเพื่อที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป โดยไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และอาจจะทำให้เกิดความไม่พอใจ และการต่อต้าน จากบุคคลบางกลุ่มและบรรดาผู้ออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้

2.      พรรคการเมืองขั้วร่วมรัฐบาลหากขาดพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคภูมิใจไทยพรรคใดพรรคหนึ่งไป จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยทันที ซึ่งย่อมจะต้องกระทบกับความมั่นคงของรัฐบาลอย่างแน่นอน หากต้องเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภา

3.      หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าย่อมกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์และ คสช. เอง และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย ดังนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม จะต้องมีการเร่งรีบให้การจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จโดยเร็ว 

ท้ายที่สุดแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ถึงจะยังมีความไม่ลงตัวและยังคงมีการเจรจาต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ระหว่างบรรดาพรรคการเมืองอย่างเข้มข้น เพื่อต่อรองให้ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ แต่ในที่สุดก็คงจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ แม้จะมีเสียงปริ่มน้ำเพียง 254 เสียง ก็ตาม โดยมีการเจรจาต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ในคณะรัฐมนตรี จนบรรลุประโยชน์ที่พึงพอใจหรือเป็นที่พอจะยอมรับได้ของทุกฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลนี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"