ฝนหนักถึง12มิ.ย. กทม.รับสู้ไม่ไหว!


เพิ่มเพื่อน    


    กรุงเทพฯ ยังเสี่ยงเผชิญฝนตกหนัก-น้ำท่วม กรมอุตุฯ ออกประกาศแทบทุกภาคยังมีฝนตกหนักถึงหนักมากจนถึง 12 มิ.ย. รองปลัด กทม.ยอมรับระบบท่อปัจจุบันยังไม่สามารถระบายน้ำทันหากเกิดฝนตกหนัก "ศรีสุวรรณ" อัดผู้ว่าฯ กทม.ไร้ความสามารถ แฉโครงการสร้างเขื่อนและโครงการบ้านมั่นคง รวม 4.7 พันล้าน ทิ้งขยะทั้งอิฐหินดินทรายลงคลอง แต่กลับไม่จัดการ
    ภายหลังเกิดฝนตกหนักน้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นวงกว้าง ส่งผลให้การจราจรในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นอัมพาต กรุงเทพมหานครก็เร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตรวจสอบสถานีสูบน้ำทุกแห่งให้ใช้การได้เป็นปกติ รวมทั้งกวาดเก็บขยะมูลฝอยที่เป็นตัวขวางทางน้ำ โดยเฉพาะขยะขนาดใหญ่ในคลองลาดพร้าวใกล้บึงพระราม 9 ที่พบมีทั้งฟูกที่นอน กล่องโฟม และวัสดุต่างๆ ซึ่งเมื่อวันอาทิตย์พบว่าถูกกำจัดไปเกือบหมดสิ้น นอกจากนี้มีหลายเขต อาทิ เขตพระโขนง สายไหม จัดกิจกรรมนัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ เช่น โซฟา ตู้ เตียง ที่นอนเก่า ตู้เย็น ขยะอันตรายเเละสิ่งของเหลือใช้ในชุมชนเเละหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งจะจัดเก็บในช่วงวันหยุดเดือนละครั้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่ออำนวยความสะดวก ลดปริมาณขยะ และป้องกันไม่ให้ประชาชนลักลอบทิ้งขยะลงในลำคลอง 
    นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัด กทม. เปิดเผยว่า กทม.และรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาขยายทางน้ำและให้ชุมชนที่กีดขวางทางน้ำออกไป ซึ่งแล้วเสร็จไปแล้วในส่วนเขตสายไหม แต่ยังไม่ได้ขุดลอกคลองทั้งหมด อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยทำไปได้ 7 กิโลเมตร จากระยะทางทั้งหมดกว่า 20 กม. ซึ่งยอมรับว่าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผน เพราะมีปัญหาการส่งคืนพื้นที่และสร้างที่อยู่ใหม่ให้ชุมชนที่ย้ายออก
    "ยืนยันว่า กทม.ได้เตรียมรับมือเรื่องการระบายน้ำในทุกด้าน ทั้งการวางระบบท่อระบายน้ำ การลอกท่อ ระบบสูบน้ำ การจัดการคูคลอง ทำให้น้ำที่ท่วมขังสามารถระบายได้เร็วขึ้น 1-2 ชั่วโมง แต่ระบบท่อระบายน้ำในถนน กทม.สามารถรับน้ำได้เพียงแค่ 60-80 มิลลิเมตร ซึ่งเกินกำลังที่จะสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาสูงมากถึง 120-130 มิลลิเมตรได้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมถนน ก่อนจะระบายออกไป"
    กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศตั้งแต่เวลา 12.00 น. วันที่ 9 มิ.ย. ถึง 12.00 น. วันที่ 10 มิ.ย. ระบุว่า บริเวณด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ 
    พยากรณ์อากาศ ภาคเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลกกำแพงเพชร ตาก และเพชรบูรณ์ 
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี 
    ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี 
    ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร 
    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 
    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 
    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
    นายไพบูลย์ โอมาก ปฏิบัติราชการแทน ผวจ.ตรัง ลงนามคำประกาศกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง แจ้งเตือนทุกภาคส่วนในพื้นที่เสี่ยง เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 12 มิถุนายน พร้อมสั่งการให้หน่วยงานเจ้าท่า ประมง และตำรวจน้ำออกลาดตระเวน แจ้งเตือนการเดินเรือ จัดเตรียมอุปกรณ์ชูชีพให้เพียงพอ และให้ถือปฏิบัติอย่างเข้มงวด ในการตรวจความพร้อมก่อนออกเรือ รวมถึงติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด 
    นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า ตามที่เกิดพายุฝนตกหนักในช่วงบ่ายวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้หลายเขตของ กทม. เช่น เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตพญาไท เขตบางซื่อ เขตพระนคร ฯลฯ เกิดน้ำท่วมขังก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติจราจร รถติดอย่างมาก ปัญหาดังกล่าว ผู้ว่าฯ กทม.กลับไปโทษระบบไฟฟ้าดับที่อุโมงค์สูบน้ำบางซื่อ โดยไม่เคยโทษตนเองว่าบกพร่องในการบริหารสั่งการให้มีการเตรียมความพร้อม 24 ชั่วโมง ทั้งที่กรมอุตุนิยมวิทยาก็แจ้งล่วงหน้าแล้วว่าจะเกิดฝนตกหนักในวันเวลาใด อีกทั้งเรดาร์ตรวจอากาศของ กทม.ก็รายงานข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ 
    "แบบนี้ต้องถามผู้ว่าฯ อัศวินกันตรงๆ ว่ามีความสามารถในการบริหาร กทม.หรือไม่ และต้องถามย้อนไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ด้วยว่าจะรับผิดชอบต่อผู้ว่าฯ คนนี้ที่ท่านตั้งขึ้นมาอย่างไร" 
    นายศรีสุวรรณกล่าวว่า โครงการสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล. )ริมคลองของ กทม. งบประมาณ 1,654 ล้านบาท และโครงการบ้านมั่นคง งบ 4,061 ล้านบาท ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะ เป็นสาเหตุหลักที่แอบโกยขยะทิ้งจากโครงการก่อสร้างลงคลองเต็มไปหมด และไม่ยอมขุดลอกก่อนฤดูฝนจะมาถึง ทั้งนี้ ประชาชนสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ว่าขณะนี้คลองลาดพร้าวตื้นเขินมาก พื้นที่รองรับน้ำฝนลดน้อยลงมาก เหตุเพราะผู้รับเหมาก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล.ริมคลอง ได้โกยดินริมตลิ่งไปเกลี่ยทิ้งลงในคลองตลอดทั้งแนวคลอง ผนวกกับการก่อสร้างบ้านมั่นคงริมคลองก็มักง่ายแอบโกยขยะจากการก่อสร้าง เศษอิฐ หิน ดิน ทราย ทิ้งลงในคลองลาดพร้าวเต็มไปหมด แถมบางชุมชนมีการเกรดดินขยายพื้นที่ถมคลองให้แคบลงเพื่อเอาพื้นที่ไปสร้างบ้านมั่นคง โดยที่ กทม.ก็รับรู้ แต่แสร้งทำไม่รู้ไม่เห็น เนื่องจากโครงการเหล่านี้มีผลประโยชน์มหาศาลนับพันล้านบาท มีหน่วยงานรัฐต่างๆ เข้ามาเอี่ยวมากมาย อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กอ.รมน. กองทัพบก และ กทม. 
    นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มอบหมายให้ สทนช.พิจารณาประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ และปรับปรุงข้อมูลแผน ผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งรายละเอียดแผนการดำเนินงานในแต่ละปี เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการปรับปรุงอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่เดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การระบายน้ำในช่วงฤดูฝนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
    ผลการดำเนินงานล่าสุด พบว่า การจัดการสิ่งกีดขวางทางน้ำทั่วประเทศ เช่น โครงสร้างสิ่งก่อสร้าง ถนน สะพาน ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการทั้งสิ้น 11 หน่วยงาน อาทิ กรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 562 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 161 แห่ง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 60 แห่ง,  ภาคกลาง 115 แห่ง, ภาคตะวันออก 115 แห่ง ซึ่งปัจจุบันทั้ง 451 แห่ง ยังไม่มีการดำเนินการปรับปรุง เนื่องจากมีหลายหน่วยงานยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบพิกัดจุดที่ตั้ง และข้อมูลบัญชีรายการของอาคาร จึงเห็นควรพิจารณาตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล เพื่อให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และจัดทำแผนปฏิบัติการในแต่ละปีต่อไป ขณะที่การปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำในเขตภาคใต้ จำนวน 111 แห่ง ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 74 แห่ง และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 26 แห่ง โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 2561 ที่เหลือจำนวน 11 รายการ อยู่ในแผนการดำเนินงานปี 2562 และ 2563 ของหน่วยงาน
    เลขาธิการ สทนช.กล่าวอีกว่า นอกจากสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เป็นอาคารสิ่งก่อสร้างแล้ว สทนช.ยังได้ติดตามความก้าวหน้าการจัดการแก้ไขปัญหาผักตบชวา โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้ดำเนินการสำรวจปริมาณผักตบชวาในแหล่งน้ำทั่วประเทศ และดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำจัดผักตบชวามาอย่างต่อเนื่องในแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่ประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา ลงมาถึงอ่าวไทย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีนตั้งเหนือประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา และพื้นที่คลองชลประทาน กรุงเทพมหานคร แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการดำเนินงานล่าสุดได้แก้ไขปัญหาผักตบชวาแล้วทั้งสิ้น 2,834,642 ตัน. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"