9 มิ.ย.62-นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้การว่ารถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่สายใต้นั้นขณะนี้มีความคืบหน้าการก่อสร้างเฉลี่ย 28% แบ่งเป็น ช่วงนครปฐม-หัวหิน คืบหน้า 33% ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ คืบหน้า 30% และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร คืบหน้า 19%
อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อถึงสถานีชุมพร จะใช้เวลาเพียง 5 ชั่วโมง จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 8-9 ชั่วโมง ดังนั้นถือว่าโครงการรถไฟทางคู่เป็นเส้นทางที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ โดยในเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเดินทางถึง90% ของผู้โดยสารทั้งหมด โดยเฉพาะการย่นระยะเดินทางจากกรุงเทพ-หัวหิน จะใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง จากเดิมที่ใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 4-5 ชั่วโมง โดยรถไฟจะวิ่งความเร็วอยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อย่างไรก็ตามเส้นทางรถไฟทางคู่สายใต้จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2564 จากนั้นใช้เวลาติดตั้งงานระบบอีก 1 ปี ก่อนเปิดใช้ในปี 2565
อย่างไรก็ตามรฟท.มีแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้เฟส 2 ได้แก่ รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท รถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา วงเงิน 5.7 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 48 กม. วงเงิน 8 พันล้านบาท
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าส่วนความคืบหน้ารถไฟทางคู่สายอีสานนั้นในปีนี้จะเร่งออกแบบและผลักดันโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติ คือรถไฟทางคู่ช่วง บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 6.79 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกที่เข้าสู่อีสานตอนกลาง ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีรถไฟเข้าถึงมาก่อน ขณะที่อีกเส้นทางที่ครม.อนุมัติไปแล้วคือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 8.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกพระราชกฤษฎีกา(พรฎ.) เวนคืนพื้นที่ก่อสร้างคาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2567 โดยมีแนวเวนคืน 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย โดยแนวเส้นทางจะเริ่มต้นที่สถานีเด่นชัย จ.แพร่ มุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่าน จ.ลำปาง พะเยา และเชียงราย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนเชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งพื้นที่เวนคืนจะมีเขตทางกว้าง 50 เมตร มีทั้งหมด 7,292 แปลง และที่ดิน 9,661 ไร่
ส่วนด้านการร่างขอบเขตเงื่อนไขการประกวดราคา(TOR) นั้นจะทำควบคู่กันไปเพื่อเปิดประมูล ทั้งนี้แบ่งสัญญาก่อสร้างออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. วงเงิน 2.67 หมื่นล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. วงเงิน 2.87 หมื่นล้านบาท และสัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 1.74 หมื่นล้านบาท
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าส่วนเส้นทางรถไฟทางคู่ ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จได้ในปีนี้ คือ แก่งคอย-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา คาดว่าในอีก 1-2 เดือนจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ และเส้นทางจิระ-ขอนแก่น ที่จะเปิดใช้เต็มเส้นทางในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ส่วนด้านโครงการทางคู่ที่ส่งให้สภาพัฒน์พิจารณแล้วหากผ่านความเห็นชอบจะเสนอเข้าสู่ครม.ในรัฐบาลใหม่นั้นได้แก่ รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 3.7 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องที่แอร์พอร์ตลิ้ง ต้องการเข้ามาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์รถไฟสายสีแดงนั้น รฟท.ยังต้องพิจารณาอีกครั้งเนื่องจากเป็นภารกิจที่ซับซ้อนอีกทั้งยังไม่แน่นอนด้านรายได้ หากบริหารไปแล้วเกิดปัญหาขาดทุนคือรายได้น้อยกว่ารายจ่าย จะมีวิธีบริหารจัดการอย่างไร คาดว่าสถานีบางแห่งที่มีรายได้จำนวนมากจะต้องนำรายได้ไปทดแทนสถานีที่ขาดทุน ส่วนด้านฝ่ายนักลงทุนมองว่าจุดตั้งสถานีศักยภาพขนาดใหญ่บางแห่ง ยังไม่ตอบโจทย์การลงทุน เช่น สถานีดอนเมืองและสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งยังมีข้อจำกัดบางด้าน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |