8 มิ.ย. 2562 นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับหน่วยงานโรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น, บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ(CoRE) เปิดตัวอินดัสเทรียล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แพลทฟอร์ม หรือไอทีพี (ITP:Industrial Transformation Platform) ภายใต้โครงการโรโบติก คลัสเตอร์ พาวิลเลี่ยน(Robotic Cluster Pavillion) ภายในงานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2019
โดยสศอ.ตั้งเป้าหมายขยายผลการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปสู่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรให้สามารถใช้เครื่องมือทางการเกษตรที่ทันสมัย เช่น ระบบเซ็นเซอร์ในการวัดตัวแปรหรือพารามิเตอร์ต่างๆ สำหรับเป็นฐานข้อมูลในการประเมินปัจจัยการผลิตที่คุ้มค่า ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกอบการนำร่องเข้าโครงการด้วยงบลงทุน 800,000 บาท สามารถคืนทุนได้ภายใน 16-18 เดือน
“สศอ.วางแผนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นำร่องในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสร และอำนาจเจริญ) เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น แปรรูปอาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม “นายณัฐพล กล่าว
สำหรับงานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2019 : มหกรรมเทคโนโลยีและโซลูชั่น เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมและการผลิต จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 มิ.ย.2562 บนพื้นที่ 46,000 คน ที่ไบเทค บางนา คาดจะมีผู้เข้าชมงานกว่า 95,000 คน มีบริษัทเข้าร่วมงานจัดแสดงกว่า 500 บริษัท 2,400 แบรนด์ จาก 46 ประเทศ ครอบคลุม 7 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและการประกอบการ 95 บริษัท มีบริษัทหุ่นยนต์ทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 27 แบรนด์ นับว่ามากที่สุดในภูมิภาค, พลาสติก, แม่พิมพ์และการขึ้นรูป, เทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, เคลือบและเตรียมพื้นผิว, การรับช่วงการผลิต
ด้านนายชิต เหล่าวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า คาดภายใน 5 ปี หรือปี 2564 มีเงินลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 200,000 ล้านบาทตามเป้าหมายแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ฯ ทำให้มีการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานมากกว่า 50% ภายใน 10 ปี หรือปี 2569 ผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียนด้วยเทคโนโลยีของตัวเองและส่งออกหุ่นยนต์ได้ในอนาคต
นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน และประธานคณะกรรมการ CoRE กล่าวว่า การดำเนินงานในช่วงปี 2561-2562 มีโรงงานปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต 229 โรง มีผู้ประกอบการ 65 รายได้รับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่ารวม 9,641 ล้านบาท และมีผู้ขอสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อปรับระบบรวม 20 ราย มูลค่รม 123.5 ล้านบาท มีผู้ให้บริการและออกแบบระบบ หรือเอสไอ(SI:System Integrator) ได้รับการอบรมและพัฒนา 100 ราย มีต้นแบบหุ่นยนต์ได้รับการพัฒนาแล้ว 5 ต้นแบบ มีสมาชิกหน่วยงานเครือข่าย 15 แห่ง รวมถึงมีบุคลากรหรือผู้ใช้ 610 คนก็ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาตามโปรแกรม
นายชัยพล มหามงคลสวัสดิ์ กรรมการบริหารฝ่ายจัดงาน สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) กล่าวว่า ภายในสิ้นปีนี้ตั้งเป้าหมายมีผู้ให้บริการออกแบบระบบที่มีศักยภาพเพิ่มเป็น 200 ราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 110 ราย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |