6 มิ.ย.62- การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของที่ประชุมรัฐสภาวานนี้ใช้เวลาร่วม 13 ชั่วโมง นับเป็นการประชุมเพื่อเลือกนายกฯที่ยาวนานเป็นประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่มีการอภิปรายซักฟอกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
อาจเป็นเพราะกติกาที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเสียงสนับสนุนในสภาผูัแทนราษฎรที่ก้ำกึ่งกัน ทำให้ฝั่งที่สนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ มีความหวังว่า อาจมีส.ว.เปลี่ยนใจโหวตเลือกฝ่ายตนดังที่นายธนาธรแถลงข่าวหลังทราบผลโหวตว่า ตอนแรกมีความหวัง แต่ตบท้ายว่าชัยชนะถูกปล้นไป ทำให้เกิดข้อสงสัยในความมีสปิริตทางการเมืองของนายธนาธร ที่มักไม่ยอมรับมติหรือคำตัดสิน และโทษว่าอีกฝ่ายสกปรกเสมอ
ย้อนกลับไปดูการเลือกนายกฯของที่ประชุมสภาผู้แทนฯเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ที่ใช้เวลาเพียงไม่นานในการเลือกนายกฯ ซึ่งครั้งนั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับเลือกจากสภา แม้การเมืองช่วงนั้นจะมีความขัดแย้งรุนแรงเพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองไปไม่นานก็ตาม
โดยการประชุมเริ่มต้น เวลา 10.10 น. มีส.ส.มาเซ็นต์ชื่อเข้าประชุมจำนวน 488 คนจากสมาชิกทั้งหมด 500 คน โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม และมีนายเจริญ จันทร์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 และนายวิสุทธิ์ ไชยณรุน รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ออกนั่งบัลลังค์ด้วย จากนั้นเข้าสู่ระเบียบวาระเรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ซึ่งเป็นการรับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาฯ
ต่อมาเข้าสู่ระเบียบวาระในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญ โดยข้อบังคับการประชุมสภาฯ กำหนดให้มีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการเปิดเผย ซึ่งผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่หรือ 251 เสียงขึ้นไป
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายสมศักดิ์ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกที่ให้เกียรติเลือกให้เป็นประธานสภา สถาบันนิติบัญญัติเป็นสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงขอทำความเข้าใจกับสมาชิก3 ประการคือ
1 .เพื่อให้การทำหน้าที่ประธานอย่างเป็นกลางและเป็นธรรม เราจะยึดการใช้ข้อบังคับอย่างเคร่งครัด เพราะการชี้วัดว่าประธานทำหน้าที่เป็นกลางหรือไม่ คือข้อบังคับการประชุม เราจะไม่มีการอนุโลมใดๆทั้งนั้นเพื่อให้การประชุมของเราดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีสาระที่ประชาชนให้ความสนใจ ฉะนั้นจะใช้ข้อบังคับอย่างเต็มที่ ขอสมาชิกให้ความร่วมมือ เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันอันเป็นที่รักของเรา
2. ปัญหาที่ผ่านมาคือองค์ประชุมไม่ครบซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่ทำให้การประชุมสภาไม่มีประสิทธิภาพ ตนมีความตั้งใจที่อยากให้การประชุมของเราดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของทุกคนต่อสถาบันนี้ และต่อประชาชนที่ไว้วางใจให้มาทำหน้าที่ ตนดีจี่ครั้งนี้มีสมาชิกใหม่หลายคน จึงฝากความหวังไว้กับสมาชิกใหม่ รวมถึงสมาชิกเก่าเพื่อมาช่วยกันทำให้องค์ประชุมไม่มีปัญหา ถ้าสิ่งที่ขอความร่วมมือไม่บรรลุเป้าหมาย ทำให้องค์ประชุมไม่ครบทำให้เกิดความเสียหาย ตนอาจต้องใช้มาตรการเข้มข้นเพื่อควบคุมองค์ให้มีปัญหาน้อยที่สุดเพื่อสถาบันของเรา
และ 3.ขอความร่วมมือคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีให้ร่วมมือกับสถาบันติติบัญญัติ โดยเฉพราะเรื่องกระทู้ ญัตติต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะวันที่มีการประชุม ถ้าไม่มีอะไรก็อยากให้มาทำงานที่สภา เตรียมแฟ้มเอกสารมาให้พร้อมเพื่อให้เกียรติกับสภา นั่นหมายถึงให้เกียรติกับประชาชนทั้งประเทศ
ด้าน นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าอยากสนับสนุนมาตรการของประธานเพื่อให้บรรลุผล แต่ต้องเรียนเพื่อความเป็นธรรมต่อสภาชุดที่ผ่านมาที่ถูกครหาอย่างมาก คือการไม่มาร่วม ประชุม หรือมาแต่ไม่ยอมแสดงตน ซึ่งประธานก็ทราบดี แม้ที่ผ่านมาสภาทุกชุดจะมีปัญหาบ้างแต่ก็ไม่มากนัก มีการเดินออกบ้างสองสามครั้งก็เป็นธรรมดาที่มีความขัดแย้ง แต่กรณีสมัยที่แล้วถือว่าผิดปกติจริงๆ ซึ่งประธานก็มีส่วนร่วมไม่แสดงตน หากมีการกดหนดชัดเจนว่าจะใช้วิธีการนับด้วยกดบัตร หรือนับหัว ก็คงไม่มีปัญหาไม่ต้องมาขอร้องสมาชิกอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นอย่างปีที่แล้วคือมาแล้วไม่กดบัตรแสดงตน ก็ต้องให้ความเป็นธรรมด้วย เพราะส่วนใหญ่ไม่เป็น เพิ่งจะเกิดขึ้นช่วงสองปีที่ผ่านมา ดังนั้นประธานสภาควรจะกำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีการนับองค์ประชุมอย่างไรเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ
นายสมศักดิ์กล่าวว่า ถ้าว่ากันตรงไปตรงมาก็มีการทำทั้งสองฝ่ายแต่เป็นเรื่องในอดีต ไม่ควรเอาความหลังเก่ามาว่า เราควรเดินหน้าดีกว่า ไม่ว่าฝ่ายค้าน หรือรัฐบาลถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน เพราะองค์ประชุมประกอบด้วยสองฝ่ายควรมาทำการเมืองเพื่อสร้างสรรค์ เรื่องเก่าๆอย่าไปพูดถึงแต่ก็น้อมรับคำแนะนำของนายชวน ซึ่งเราจะหาวิธีการต่อไป แต่ยืนยันว่าตนจะใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม และจะดูแลตรงนี้ไม่ให้มีปัญหา ถ้าจำเป็นเจ้าหน้าที่นับจำนวนคนก็จะใช้ จะไม่ใช้วิธีการที่ท่านเป็นห่วงแน่นอน
ขณะที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย ขอหารือเรื่องการจัดที่นั่งในห้องประชุมสภา ว่าเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ได้ให้คนไปคุยกับเลขาธิการสภาฯ ที่นั่งที่จัดให้พรรคการเมืองมันจัดผิด ในรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บอกว่าพรรคไหนนั่งตรงไหน ตนทำจดหมายลงวันที่ 3 ส.ค.ก็ไม่ตอบรับ เลขาธิการสภาฯ ก็ไม่ได้มาคุยกับส.ส.
นายสมศักดิ์ได้ตัดบทและขอให้นายชูวิทย์ไปหารือในการประชุมครั้งหน้า แต่นายชูวิทย์ไม่ยอมหยุดพูด จึงถูกตัดไมค์ไม่ให้พูด แต่นายชูวิทย์ยังคงตะโกนพูดพร้อมกับชูค้อนผูกโบว์แดงประท้วง และได้มอบให้กับนายสมศักดิ์ที่บังลังก์โดยมีเลขาธิการสภาฯ เป็นผู้รับมอบแทน
ปรากฏว่าหลังประธานให้ส.ส.อีก 4 คนที่เพิ่งจะได้รับการประกาศรับรองผล เสร็จสิ้น นายชูวิทย์ก็ยังยกมือขอหารือเรื่องที่นั่งของพรรครักประเทศไทย ซึ่งนายสมศักดิ์ได้สั่งให้นายชูวิทย์นั่งลงอยู่หลายครั้ง แต่นายชูวิทย์ไม่ยอมนั่ง จนทำให้นายสมศักดิ์ต้องลุกขึ้นยืน และกล่าวว่า การที่ตนยืนถือเป็นมาตรการแทนการใช้ค้อนอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อตนยืนนายชูวิทย์ก็ต้องนั่ง แต่เมื่อสั่งแล้วไม่ยอมนั่ง ตนขอใช้อำนาจประธานขอสั่งให้ออกจากห้องประชุม แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเชิญตัวนายชูวิทย์ออกจากห้องประชุม นายชูวิทย์กลับขอจับมือและนั่งลงตามเดิม
ทำให้นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตามข้อบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเชิญแล้วก็ต้องออก ไม่ออกไม่ได้ ซึ่งทำให้ประธานในที่ประชุมสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาเชิญตัวนายชูวิทย์ให้ออกจากห้องประชุมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนายชูวิทย์ก็ยอมออกจากห้องประชุมแต่โดยดี
ต่อมาเข้าสู่ระเบียบวาระในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญ โดยข้อบังคับการประชุมสภาฯ กำหนดให้มีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการเปิดเผย โดยการขานชื่อ และออกเสียงเป็นรายคน ซึ่งผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่คือตั้งแต่ 251 เสียงขึ้นไป
จากนั้นนายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายเสนาะกลับพูดว่า ขอเสนอให้น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทำให้สมาชิกในห้องประชุมต่างส่งเสียงฮือฮา ทำให้นายเสนาะต้องพูดเสนอชื่อใหม่อีกครั้ง โดยพรรคประชาธิปัตย์ไม่เสนอชื่อบุคคลเข้าแข่ง จากนั้นเริ่มมีการลงคะแนนด้วยวิธีการขานชื่อส.ส.รายบุคคล โดยเรียงตามลำดับตัวอักษร
หลังจากที่ส.ส.ได้ลงคะแนนครบแล้ว นายสมศักดิ์ได้ประกาศผลคะแนนว่า ส.ส. มติด้วยคะแนนเสียง 296 เสียง สนับสนุนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ โดยมีคะแนนเสียงไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง จากจำนวนสมาชิกที่มาร่วมประชุม 497 คน และปิดประชุมในช่วงเที่ยง ใช้เวลาประชุมเพียงประมาณชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |