ส่องฝักถั่ว สนช.4 ปี รัฐสภาในอุ้งมือ คสช.


เพิ่มเพื่อน    

 

 

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กำลังถูกจับจ้องจากสังคมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในรอบเกือบครบ 4 ปีของ คสช. หลังถูกมองเป็นเครื่องมือรัฐบาลเล่นเกมตุกติกยื้อเลือกตั้ง เช่น ใช้แท็กติกขยายเวลาการบังคับใช้ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ล่าช้าไปอีก 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเษกษา ทำให้การเลือกตั้งถูกเลื่อนไปเดือน ก.พ.62 

รวมทั้งล่าสุดกับเหตุการณ์ไม่เกรงใจใครด้วยการคว่ำบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำนวน 7 คน ที่มาจากการคัดสรรจากคณะกรรมการสรรหา 5 คน ที่มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน และอีก 2 คนที่มาจากการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกานับร้อยคน ท่ามกลางข้อสันนิษฐานว่าต้องการยื้อเลือกตั้งออกไป

            กลับมาที่ สนช. เมื่อดูบทบาทการทำงานในรอบ 4 ปี กลับละเลยบทบาทสำคัญคือ การตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล มีเพียงข้อเรียกร้องจากภาคประชาชนและนักการเมืองบางส่วนเท่านั้น ดังเช่นการเคลื่อนไหวของ กลุ่มสตาร์ทอัพ ที่เคยยื่นข้อเรียกร้อง 22 ธันวาคม 2560 ที่สวนสัตว์ดุสิต ตรงข้ามรัฐสภา โดยอ่านจดหมายเปิดผนึกถึง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจและลงมติถอดถอนรัฐบาลทั้งคณะ

         'ขอเรียกร้องให้ สนช.ที่ทำหน้าที่ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 263 และรับเงินเดือนจากภาษีประชาชน ดำเนินการดังนี้ 1.ขอให้ สนช.เปิดอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล คสช.ทั้งคณะ ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญ 2560 2.การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ คสช.ถือเป็นหน้าที่ของ สนช. และ 3.เมื่อประชาชนสงสัยความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาล สนช.ที่ทำหน้าที่ ส.ส.ต้องเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และตรวจสอบการทุจริตอย่างจริงจัง แต่ สนช.ก็นิ่งเฉย 

กลับมาดูบทบาทและหน้าที่ของ สนช.ตาม รธน.ชั่วคราว 2557 มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

            โปรดสังเกตคำว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

            มาตรา 11 ยังระบุว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ตรวจสอบเหมือนกับที่สภาผู้แทนฯ เขาทำ ให้สมกับเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ดังนี้

มาตรา 16 ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิ์ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิ์ที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ต้องห้ามตามข้อบังคับ ในกรณีนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะตราข้อบังคับกำหนดองค์ประชุมให้แตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 วรรคหนึ่ง ก็ได้ เมื่อมีปัญหาสำคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้

สรุปคือให้ สนช.ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีมีสิทธิ์เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 เสนอญัตติซักฟอกเพื่อซักถามข้อเท็จจริงต่อ ครม.ก็ได้ แต่ห้ามลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ แต่ สนช.ไม่ทำหน้าที่

            มาดู รธน.ปัจจุบัน ประกาศใช้ 6 เมษายน 2560 เขียนในบทเฉพาะกาล ดังนี้ “มาตรา 263 ในระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว) 2557 ยังคงทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต่อไป และให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ตามลำดับ...”

เขียนไว้ชัดเจนขนาดนี้ แต่ สนช.ก็มิได้ทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบรัฐบาล ทั้งๆ ที่มี ปัญหามากมายที่ควรจะอภิปรายซักถาม ครม. เช่น การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นตามโรดแมปหรือไม่, แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องประชาชนทำอะไรไปบ้าง, ทำไมจึงมีแต่คนพูดว่า การปฏิรูปประเทศล้มเหลว, การทุจริตคอร์รัปชันเหตุใดจึงยังมีอยู่มากและพัวพันมาถึงคนในรัฐบาล จะจัดการอย่างไร ฯลฯ

            โจษขานกันว่า สนช.ที่ดูเสมือนเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่ตรวจสอบรัฐบาล ด้านหนึ่งต้องการอยู่ยาว อีกด้านก็ต้องการเป็น ส.ว. โดยผู้มีอำนาจเป็นผู้เลือก ตามกฎหมายที่ตัวเองเขียน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"