เลี่ยงหนี้นอกระบบ


เพิ่มเพื่อน    

 

                ปัจจุบันกลุ่มคนทำงานบริษัทที่ต้องรอเงินเดือนเป็นส่วนใหญ่ในการชำระหนี้ไม่มีอาชีพเสริมหรืออาชีพรอง และหลายๆ คนที่มีปัญหาด้านการเงิน และกำลังมองหาแหล่งเงินทุน จะขอกู้เงินที่ไหนก็ลำบาก เพราะการทำเรื่องขอกู้จากสถาบันการเงินอาจใช้เวลานาน และต้องเตรียมเอกสารมากมาย จนบางคนต้องหันไปกู้หนี้นอกระบบ แต่ในความเป็นจริงนั้นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจริงๆ มาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ที่หนึ่งไปชำระคืนให้แหล่งเงินกู้เดิม สุดท้ายอาจมาจากความยากจนจริงๆ ไม่มีงานทำ ตกงาน จึงไม่มีเงินเพียงพอในการชำระหนี้

                ซึ่งหนี้ระบบยังคงเป็นหนึ่งที่ทำให้หนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา ”หนี้นอกระบบ” เกิดขึ้นจากการที่บุคคลขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทน จึงมีความจำเป็นต้องไปพึ่งพาเจ้าหนี้นอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูง เป็นรายวัน หรือรายเดือน นอกจากนี้หากลูกหนี้ไม่มีเงินชำระหนี้ก็อาจใช้วิธีตามทวงหนี้ที่รุนแรง ซึ่งต่างจาก ”หนี้ในระบบ” ที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อของผู้ประกอบการหรือนิติบุคคล ที่ดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ภายใต้กรอบการกำกับที่ชัดเจนขององค์กรกลาง และยังมีสิทธิพิเศษที่ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ขอสินเชื่อ

                อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการตระหนักถึงความรุนแรงและความเสี่ยงของปัญหาหนี้นอกระบบ จึงได้ออกมาตรการดึงลูกหนี้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบให้ถูกต้อง โดยได้ออกสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ หรือ นาโน ไฟแนนซ์ เพื่อให้บุคคลธรรมดาที่มีรายได้น้อยหรือเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ที่ไม่มีเอกสารแสดงของแหล่งที่มาของรายได้อย่างชัดเจน และไม่มีสินทรัพย์เป็นหลักค้ำประกันในการกู้ยืมเงิน หรือไม่เคยมีข้อมูลที่จะสามารถแสดงประวัติในการชำระหนี้ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยถูก เพื่อนำเงินไปใช้ในการประกอบอาชีพ

                นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ บมจ.บัตร กรุงไทย (KTC) ผู้นำธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวภายในงานเสวนา KTC FIT Talks  5 จับเข่าคุยเล่าความเสี่ยงหนี้นอกระบบ ว่า ในปัจจุบันสัดส่วนของหนี้นอกระบบและหนี้ในระบบ โดยในภาพรวมหนี้ครัวเรือนของไทยมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2561 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 12.83 ล้านล้านบาท สอดคล้องกับการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อรายย่อยหลายๆ ประเภท ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ รวมถึงสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

                และเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภค ภาครัฐจึงได้ออกสินเชื่อรายย่อย หรือนาโนไฟแนนซ์ มีวงเงินสินเชื่อสูงสุดรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมกันสูงสุดไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี โดยเมื่อสิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่ปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ทั้งสิ้น 33 ราย จำนวนบัญชีที่ได้รับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ทั้งสิ้น 1.91 ล้านบัญชี และมียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้นกว่า 30,669 ล้านบาท นอกจากนี้ภาครัฐยังได้มีการออกสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ หรือพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ให้กับบุคคลธรรมดากู้ยืมไปใช้จ่ายส่วนตัว

                ทั้งนี้ บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะรุกขยาย 3 ธุรกิจใหม่ ได้แก่ นาโนไฟแนนซ์ พิโกไฟแนนซ์ และสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน โดยบริษัทคาดว่าภายในไตรมาส 3 นี้จะสามารถเปิดให้บริการปล่อยสินเชื่อได้สำหรับการรุกธุรกิจใหม่ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสการขยายตัวของสินเชื่อในอนาคต ทั้งจากฐานลูกค้าและวงเงินที่ต่างจากสินเชื่อเดิม โดยคาดว่าจะทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และคาดหวังว่าจะเป็นผู้นำในการขยายฐานรายได้ใหม่ให้กับบริษัทเพิ่มเติมจากการทำธุรกิจหลักกับบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล

                อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาครัฐจะได้ออกมาตรการเพื่อช่วยผู้บริโภค แต่ถ้าหากเราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน เชื่อว่าถึงแม้จะให้ภาครัฐ หรือแม้กระทั่งภาคเอกชน ออกมาตรการหรือแคมเปญดีๆ ออกมาเท่าไรก็ไม่สามารถจะช่วยหรือลดหนี้นอกระบบได้แน่นอน.

ศรยุทธ เทียนสี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"