เกิดเป็นคนไทย ถึงจะไม่ชอบเสี่ยงโชค เพราะเชื่อว่า หากต้องการความมั่งมีศรีสุข ร่ำรวย หรือมีเงินทองใช้สอยสบายใจนั้นก็ต้องลงมือทำด้วยตัวเอง ...อย่างไรเสียคงต้องเห็นภาพคนใกล้ตัว ไกลตัวมากมายจะแสดงอาการตื่นตัว ตื่นเต้น ลุ้นกันอย่างออกรสชาติ เมื่อถึงวันหวยออก
ที่น่าขบขันคือ มีอยู่ทุกมุมซอกซอยทีเดียวที่จะวิเคราะห์กันอย่างหนัก ทั้งก่อนและหลังหวยออก ว่าเลขที่ออกควรจะเป็นอะไร
นอกจากนั้นที่ตลกเสียจนอยากร้องไห้คือ ต้นไม้ออกดอก กิ่งไม้รูปร่างหน้าตาประหลาด กบมี 3 ขา วัวคลอดลูกโดยเอาขาหลังออกมา แมวร้องเสียงนก หรือแม้แต่ขี้เถ้าจากธูป บรรดานักเสี่ยงโชคจะสามารถตีความหรือถอดรหัสให้เป็นตัวเลขได้ และที่น่าประหลาดใจคือ ทุกคนจะพากันเข้าคิวกราบไหว้ เห็นเป็นสิ่งมหัศจรรย์บรรดาโชคได้
นี่เป็นมุมหนึ่งในสังคมไทย ที่จะสะท้อนให้เห็นชัดเจนระหว่างวันที่ 13-14-15 และ 29-30-31 ของทุกเดือน แม้ไม่เคยสนใจใคร่รู้ใคร่อยากเห็น ยังไงมันจะเข้าหูเข้าตาทุกงวดทีเดียว เพราะหลังหวยออกจะได้ยินเสียงเฮ!! หรือไม่ก็เสียงบ่น ที่มักจะบอกว่า ..เสียดาย เกือบไปแล้ว ..ตามด้วยการอวดอ้างสถิติต่างๆ ว่า คิดแล้วมันจะต้องมีเลขเบิ้ล 555
เรียกว่าต่อให้ไม่สนใจขนาดไหนก็หนีไม่พ้น
ดังนั้น การเลือกที่จะเข้าไปถามเข้าไปฟังสังคมของคนมีความหวังเดือนละ 2 หน สนทนากัน ก็ทำให้ชีวิตมีชีวาไปอีกแบบนะคะ
ได้ฟังว่า ทำไมเขาถึงเลือกซื้อหวยเลขนั้น
ได้รู้ว่า เขาฝันถึงอะไร
ได้เข้าใจว่า การตีความฝันออกมาเป็นตัวเลขนั้นเป็นศาสตร์และศิลป์ที่คนในวงการหวังรวยทางลัดนั้น จะเข้าถึง เข้าใจ และเชี่ยวชาญชำนาญที่สุด ประมาณว่า ไม่ต้องสอน แต่มันสามารถซึมซับเข้าไปในสายเลือดกันเลยล่ะ
แต่จนถึงวันนี้ มนุษย์ป้าก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมคนบางคนยอมดั้นด้นเสียเงินเสียทอง เสียเวลา เบียดเสียดเพื่อไปขูดต้นไม้ ขูดรูปปั้น กราบไหว้สถานที่ต่างๆ ทั้งๆ ที่นี่มันยุคดิจิตอลแล้วนะ
ที่น่าฉงนคือ เวลาไม่ถูกหวย ไม่เห็นมีใครมารับรู้เลยว่า เขาลงทุนเพื่อการเสี่ยงโชคไปเท่าไร แต่เวลาถูกหวยล่ะก็ โอ้โฮ!! มีคนมาช่วยแชร์ ช่วยใช้ ช่วยกินกันบานตะไท.
"ป้าเอง"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |