5 มิ.ย.2562 นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ จะมีการนำเสนอโครงการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 3 มาตรการหลักๆ 1.โครงการออมก่อนกู้ ซึ่งธนาคารจะเปิดให้ลูกค้าที่สนใจซื้อบ้าน ได้เริ่มต้นออมเงิน โดยจะยึดตามมูลค่าการออมเทียบกับการผ่อนชำระรายเดือน ซึ่งหากมีการออมสม่ำเสมอ ทางธนาคารจะนำประวัติการออมเงินเป็นเกณฑ์การในพิจารณาปล่อยกู้ให้กับลูกค้า
มาตรการที่สอง การปล่อยเงินกู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โดยร่วมกับ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน ซึ่งมาตรการนี้บังคับให้ภาคเอกชนต้องเปิดเงื่อนไขลักษณะการเช่าซื้อให้กับลูกค้า โดยแต่ละโครงการเอกชนจะต้องมีการประเมินความสามารถของลูกค้าด้วยตัวเองและรับความเสี่ยงเอง ก่อนเปิดให้ลูกค้ามีการเช่าที่อยู่อาศัยหลังสร้างเสร็จ ซึ่งหากพบว่า ลูกค้ามีความสามารถในการผ่อนชำระดี ทางผู้ประกอบการก็สามารถติดต่อออมสิน เพื่อปล่อยเงินกู้ตรงให้กับลูกค้าต่อไป
และมาตรการที่สาม การปรับวิธีการคำนวณปล่อยสินเชื่อ โดยยึดหลักการประเมินรายได้ในอนาคตของผู้กู้ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเคาะตัวเลขกลางในกลุ่มพนักงานเอกชนจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยๆ 3% ส่วนข้าราชการจะมีรายได้เฉลี่ย 5% ซึ่งหากมีการประเมินด้วยเกณฑ์รายได้ล่วงหน้า จะช่วยให้ประชาชนมี่ที่อยู่อาศัยของตัวเองง่ายขึ้น
“ออมสินต้องการแก้ปัญหาให้กับลูกค้ารายย่อย และผู้ประกอบการอาชีพอิสระ ที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง ซึ่งในปัจจุบัน มีลูกค้าในที่ถูกสถาบันการเงินปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากไม่มีแหล่งรายได้ที่ชัดเจนเพียงพอ ถึง 30%ของจำนวนผู้ยื่นกู้ทั้งหมด ดังนั้น ออมสินจึงคิดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างเกณฑ์ในการประเมินการให้สินเชื่อใหม่ โดยยึดจากการออม หรือผ่อนชำระค่าเช่า และการปรับคิดคำนวณรายได้ในอนาคตใหม่ ซึ่งเชื่อว่า แนวทางนี้จะช่วยให้ประชาชนมีบ้านของตัวเองง่ายขึ้น” นายชาติชาย กล่าว
ทั้งนี้เบื้องต้นวางแนวทางการปล่อยกู้ภายใต้โครงการนี้จำนวน 15,000-20,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 3ปี เฉลี่ย 3% เล็งเป้าหมายเป็นบ้านในกลุ่มราคา 1-2ล้านบาท
นายชาติชาย ยังกล่าวถึงผลการดำเนินงานของธนาคารออมสินในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งธนาคารมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น6,045 ล้านบาท จากการเติบโตของสินเชื่อและเงินลงทุน โดยมียอดการปล่อยสินชื่อใหม่กว่า 135,000 ล้านบาท และมีสินเชื่อคงเหลือเป็นอันดับ 1 ของระบบสถาบันการเงิน หรือมีตัวเลขอยู่ที่ 2,157,505 ล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้เสีย (NPL)อยู่ที่ 2.83% เพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปี 2561 เล็กน้อย และในไตรมาสแรก ธนาคารยังนำส่งรายได้เข้ารัฐถึง 7,268 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 4 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด
ส่วนแผนงานในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ได้วางแผนที่ขับเคลื่อนสู่ธนาคารในยุคดิจิทัล ด้วยค่านิยมองค์กร GSB WAY 2019 ซึ่งมีเป้าหมายดูแลลูกค้ามากกว่าใคร ทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคล กลุ่มลูกค้าธุรกิจ และภาครัฐ และกลุ่มลูกค้าฐานรากและนโยบายรัฐ โดยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลุกค้าในการใช้บริการและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสาขาธนาคารในรูปแบบปกติ ล่าสุดได้มีการเปิดให้บริการ GSB Queue application ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถจองคิวออนไลน์จากที่บ้าน เพื่อนัดหมายการมาใช้บริการที่สาขา ได้ล่วงหน้าถึง 5 วัน
หรือทางด้านดิจิทัล แบงก์กิ้ง ที่จะมีการสร้างบริการใหม่ๆบนแพลต์ฟอร์ม mymo ทั้งบริการด้านการออม การลงทุน ประกันชีวิต/ประกันภัย และการขอสินเชื่อ นอกจากนี้ยังมีการจัดมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในรูปแบบ Loyalty Program โดยให้ลูกค้าสามารถสะสม GSB Point หรือ GSB Money ในการแลกของรางวัลที่ธนาคารเตรียมไว้มากมาย
และอีกด้าน คือ การเป็น โซเซียล แบงก์กิ้ง เพื่อเป้นการตอบแทน คือสู่สังคม ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความรู้และศักยภาพ โดยดำเนินการผ่าน Social Branch ซึ่งจะปรับบทบาทสาขานอกจากเป็นศูนย์กลางทางการเงินแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชน ทั้งการแก้ไขหนี้นอกระบบ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และการพัฒนาอาชีพ
อย่างไรก็ดีธนาคารมีเป้าหมายที่จะมีผลประกอบการที่ดีไม่ต่างจากปีก่อน มีกำไรไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |