สำรวจทุพโภชนาการ" เด็กไทย"พบ ออกแนว"อ้วน"มากกว่า"ผอม"


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 4มิ.ย.62-นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ได้มีการหารือเรื่องโครงการอาหารกลางวัน  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากเด็กมีสุขภาพที่ไม่ดี  ก็จะไม่สามารถพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ โดยจากข้อมูล ที่ สพฐ. พบมีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ระดับอนุบาล มีนักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) 143,302 คน คิดเป็นร้อยละ 15 นักเรียนที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ (เตี้ย) 103,038 คน คิดเป็นร้อยละ 10.79 นักเรียนที่มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ (เริ่มอ้วน+อ้วน) 111,361 คน คิดเป็นร้อยละ 11.66 
ระดับประถมศึกษา มีนักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) 297,072 คน คิดเป็นร้อยละ 9.63 นักเรียนที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ (เตี้ย) 243,047 คน คิดเป็นร้อยละ 7.88 นักเรียนที่มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ (เริ่มอ้วน+อ้วน) 583,831 คน คิดเป็นร้อยละ 18.93 
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) 84,185 คน คิดเป็นร้อยละ 5.11 นักเรียนที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ (เตี้ย) 86,574 คน คิดเป็นร้อยละ 5.25 มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ (เริ่มอ้วน+อ้วน) 370,298 คน คิดเป็นร้อยละ 22.46 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) 53,138 คน คิดเป็นร้อยละ 5.80 นักเรียนที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ (เตี้ย) 46,060 คน คิดเป็นร้อยละ 5.02 นักเรียนที่มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ (เริ่มอ้วน+อ้วน) 215,527 คน คิดเป็นร้อยละ 23.51

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลพบว่านักเรียนในสังกัดของ สพฐ.มีภาวะทุพโภชนาการ เกินเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด และบางจังหวัดมีเด็กที่อยู่ในกลุ่มซ้ำซ้อนอยู่ด้วย คือ อ้วนและขาดสารอาหาร หรือ ผอมและเตี้ย โดย สพฐ. ได้มอบหมายให้ สพท.และโรงเรียนร่วมกันตรวจสอบ สุขภาพของเด็กและส่งเสริมให้เด็กได้รับอาหารครบ 5 หมู่ ซึ่งจะพบว่าเด็กบางคนไม่ได้รับประทานอาหารในช่วงเช้าด้วย ดังนั้นจึงขอความร่วมมือโรงเรียนและ สพท.ให้ช่วยกัน ดูแลเรื่องโภชนาการของเด็กทุกระดับชั้นให้ได้รับประทานอาหารครบถ้วนอย่างสมบูรณ์ โดยการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการจัดสรรให้มีโครงการอาหารเช้า แต่โรงเรียนไหนที่มีศักยภาพมีความพร้อมก็สามารถดูแลเด็กในเรื่องอาหารการกินให้ครบถ้วน หรือหากโรงเรียนใดจะบริหารจัดการด้วยการทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวก็สามารถนำผลผลิตเหล่านั้นมาปรุงอาหารให้เด็กได้โดยที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ

“เรื่องนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเอเชีย ก็ยังคงมีปัญหาของการขาดอาหาร ปัญหาทางสุขภาพอนามัย การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่น่าจะรักษาหรือป้องกันได้ โดยการปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องอาหารการกิน ความสะอาด สุขลักษณะและสิ่งแวดล้อม และยังมีเด็กในจำนวนไม่น้อยยังมีปัญหาการขาดสารอาหารเพราะพ่อแม่ไม่รู้วิธีการดูแลที่เหมาะสม ดังนั้นอาหารจึงมีความจำเป็นและคือรากฐานสำคัญของสุขอนามัยที่ดีตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา ทั้งนี้ สพฐ.จะน้อมนำพระราชดำรัสที่พระองค์ท่านทรงมีความเป็นห่วงเรื่องอาหารการกินของเด็กไทยมาสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม พร้อมกับกำชับให้ทุกเขตพื้นที่ดูแลให้เด็กทุกคนกินดีอยู่ดี เพื่อการบริโภคสารอาหารได้ครบจะส่งผลต่อการเรียนของเด็ก”ปฏิบัติหน้าที่เลขาฯ กพฐ.กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"