‘ศิริราช’ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อลิมบัส รักษาผิวกระจกตาบกพร่องสำเร็จครั้งแรก ผู้ป่วยสตีเวนส์จอห์นสันกลับมามองเห็นอีกครั้ง 


เพิ่มเพื่อน    

 

4 มิ.ย.62- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลจัดแถลงข่าวเรื่อง“ศิริราชประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์รักษาผิวกระจกตาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย“  ณ ห้องจุฬาภรณ์ ตึกสยามินทร์ รพ.ศิริราชศ. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า  ตลอดระยะเวลา 12 ปีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้พัฒนาวิธีการรักษาด้านจักษุวิทยามาจนประสบความสำเร็จจากงานวิจัยสู่การรักษาช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะภาวะสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาบกพร่อง ซึ่งรักษายาก  โดยมีประสบการณ์ตั้งแต่พ.ศ. 2550 ทีมจักษุแพทย์ศิริราชได้ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทยด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลิมบัสCLET ต่อมาพ.ศ. 2551 พัฒนาการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเยื่อบุปากCOMET   จากนั้นพ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบันใช้วิธีปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อลิมบัสโดยไม่อาศัยการเพาะเลี้ยงSLETมาใช้สำเร็จเป็นครั้งแรกของไทยช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษา ถือเป็นการพัฒนากระบวนการผลิตเซลล์โดยศิริราชเทคนิค  การปลูกถ่ายมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง ส่วนจะรักษาวิธีใดจาก3 วิธีนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้กลับมามองเห็นภาพได้   เพราะการมองไม่เห็นคือทุกข์ 

 

รศ.นพ.งามแขเรืองวรเวทย์หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยากล่าวถึงภาวะสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาบกพร่องพบได้ในหลายโรคเช่นตาที่ได้รับอันตรายรุนแรงจากสารเคมีเข้าตากลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสันการอักเสบหรือติดเชื้อที่กระจกตาโรคสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาบกพร่องแต่กำเนิดโรคเนื้องอกต้อเนื้อขั้นรุนแรงตาที่ได้รับการผ่าตัดหลายครั้ง  เมื่อสเต็มเซลล์บกพร่องทำให้มีเส้นเลือดรุกเข้ามาในกระจกตากระจกตาขุ่นเกิดแผลถลอกที่ผิวกระจกตากระจกตาติดเชื้อทำให้ผู้ป่วยมีสายตามัวลงภาวะสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาบกพร่องเป็นภาวะที่รักษายาก ในผู้ป่วยที่มีภาวะสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาบกพร่องนั้นเสมือนไม่มีโรงงานที่คอยสร้างเซลล์และไม่มีเขื่อนที่คอยป้องกันเส้นเลือดซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาตามวิธีมาตรฐานไม่สามารถรักษาภาวะสเต็มเซลล์บกพร่องได้และเส้นเลือดยังสามารถรุกเข้ามาในกระจกตาจนบดบังการมองเห็นดังนั้นในผู้ป่วยที่สเต็มเซลล์บกพร่องมากการรักษาจึงจำเป็นต้องทำการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตา

รศ.พญ.ภิญนิตา ตันธุวนิตย์หัวหน้าสาขากระจกตาภาควิชาจักษุวิทยาและหัวหน้าทีมปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาศิริราชทางคลินิกกล่าวว่าผู้ป่วยที่มีสเต็มเซลล์บกพร่องอย่างรุนแรงจำเป็นต้องรักษาโดยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาซึ่งวิธีการในปัจจุบันแบ่งเป็น2 กลุ่มคือ  กลุ่มที่1 จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฏิบัติการ   ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลิมบัส โดยลิมปัสที่นำมาเพาะเลี้ยงได้จากตาที่ดีอีกข้างหนึ่งของผู้ป่วย กรณีผู้ป่วยเป็นโรคใสตาข้างเดียว แต่ถ้าเป็นทั้งสองตา จะใช้ลิมบัสจากญาติสายตรงหรือตาบริจาคของผู้ที่เสียชีวิต ผู้ป่วยต้องได้รับยากดภูมิลดปฏิกริยาต่อต้าน อีกวิธีการเพาะเลี้ยงเยื่อบุปากของผู้ป่วย   เพราะมีคุณลักษณะคล้ายเซลล์ผิวกระจกตา ข้อดีเป็นเซลล์ของผู้ป่วย วิธีนี้ไม่ต้องรับยากดภูมิ   และกลุ่มที่สอง  การนำเนื้อเยื่อจากลิมปัสมาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยโดยตรง โดยไม่ต้องเพาะเลี้ยง เป็นวิธีล่าสุดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

“ วิธีนี้จะตัดเนื้อเยื่อที่มีสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาจากลิมบัสให้เหมาะสมกับตาผู้ป่วยไทยยาว1.5 x 3  มิลลิเมตรแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ20-30 ชิ้น  วางบนกระจกตาผู้ป่วยที่เสื่อมที่มีเยื่อรกคลุมผิวกระจกตาใช้กาวหยอดโดยไม่ต้องเย็บจากนั้นจะปล่อยให้เซลล์เจริญเติบโตจนเต็มผิวกระจกตาประมาณ2-3 สัปดาห์  ระยะพักฟื้นของผู้ป่วยราว1 เดือนวิธีนี้ประสบผลสำเร็จดีมีผู้ป่วยกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสันมารักษาและกลับมามองเห็นอีกครั้ง  อีกทั้งลดข้อจำกัดวิธีการเพาะเลี้ยงเพราะต้องอาศัยห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานสูงในโรงพยาบาลหรือสถาบันการศึกษา  “ รศ.พญ.ภิญนิตา กล่าว 

รศ.พญ.ภิญนิตา  กล่าวว่า โรงพยาบาลศิริราชได้ทำการรักษาผู้ป่วยภาวะสเต็มเซลล์เยื่อบุผิวกระจกตาบกพร่องด้วยวิธีการทั้ง3 วิธีและได้พัฒนาเทคนิคเฉพาะให้เหมาะสมกับผู้ป่วยไทยด้วยวิธีSLET เรียกว่า“ศิริราชเทคนิค” โดยจะเลือกใช้วิธีSLET โดยใช้เซลล์ผู้ป่วยเองวิธีแรก  ปัจจุบันทำการผ่าตัดไปทั้งสิ้น86 ตาในผู้ป่วย75 รายจากวิธีCLET 24 ตาCOMET 27 ตาประสบผลสำเร็จร้อยละ70 ในขณะวิธีล่าสุดSLET ผ่าตัดแล้ว35 ตาประสบผลสำเร็จถึงร้อยละ83 อย่างไรก็ตามการรักษาทั้ง3 วิธีระยะเวลาของการเจ็บป่วยไม่ใช่ข้อจำกัดแต่ขึ้นอยู่กับสภาพกระจกตาของผู้ป่วยโดยก่อนผ่าตัดใหญ่ต้องประเมินน้ำตาผู้ป่วยยังมีเพียงพอเปลือกตาของผู้ป่วยคุณภาพดีพอหรือไม่      รวมถึงใช้ศิริราชเทคนิคพิสูจน์ก่อนว่าเซลล์ผิวกระจกตาเสื่อมหรือไม่ 

“ ขณะนี้เป็นงานวิจัยสู่การรักษาวางแผนจะกระจายองค์ความรู้วิธีSLET  เดือนสิงหาคมนี้โดยจัดประชุมถ่ายทอดความรู้ให้จักษุแพทย์กระจกตาทั่วประเทศและจัดฝึกอบรมภาคปฏิบัติรวมถึงสาธิตการผ่าตัดวิธีนี้ให้แพทย์ทั่วประเทศจะเกิดประโยชน์อย่างแน่นอนนอกจากนี้ฝ่ายวิจัยจะบริการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ให้แก่โรงพยาบาลที่ต้องการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์รักษาผิวกระจกตาให้ผู้ป่วยด้วย“ รศ.พญ.ภิญนิตา กล่าว 

ด้านนายประกอบ ขจรฤทธิ์ ผู้ป่วยปลูกถ่ายโดยไม่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ SLET กล่าวว่า ก่อนมารักษาป่วยเป็นสตีเวนส์จอห์นสันมาตั้งแต่ปี2540 เป็นเวลาร่วม22 ปีตนได้รับการรักษามาหลายโรงพยาบาลผ่านการผ่าตัดตาทั้ง2 ข้างเกินข้างละ3 ครั้ง  รวมถึงเปลี่ยนถ่ายท่อน้ำตาแต่หลังการรักษายังไม่ดีขึ้นจนได้รับคำแนะนำมาเข้าโครงการวิจัยที่ศิริราช 

“ เหมือนได้ชีวิตใหม่ผมมองไม่เห็นชีวิตแทบจะเป็นศูนย์ทีมแพทย์ช่วยให้ผมกลับมามองเห็นอีกครั้งแม้ไม่เต็มร้อยแต่สามารถดำรงชีวิตเหมือนคนปกติได้กลับมาทำงานอีกครั้งหลังการรักษา1 ปี6 เดือนความเป็นอยู่ครอบครัวดีขึ้นผมได้ชีวิตใหม่จริงๆ“  นายประกอบกล่าวทั้งน้ำตา 

 

ประกอบ ขจรฤทธิ์ ผู้ได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ จนกลับมามองเห็นอีกครั้ง

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"