1 มิ.ย.62- วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่าบางครั้งผมก็อดงงกับการใช้ภาษาของคนรุ่นใหม่มิได้ เพราะอ่านในบริบทแล้ว ดูเหมือนเป็นบริภาษและเสียดสี แต่คำที่ใช้กลับเป็นคำชม
ตัวอย่างที่เห็นบ่อยที่สุดคือคำว่า สลิ่ม
สลิ่มไม่ใช่คำด่า ตรงกันข้ามเป็นคำที่มีความหมายดีมาก มาจากภาษาอังกฤษ slim
slim เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่าผอม หุ่นเพรียว หุ่นดี สัดส่วนดี ภาษาอังกฤษว่า gracefully thin คือผอมแบบเท่หรือดูดี
คำนี้ยังใช้เป็นกริยาได้ แปลว่าทำให้ผอม ลดน้ำหนัก
ดังนั้นหากเราบอกว่าใครเป็นสลิ่ม ก็หมายถึงเขาหรือเธอมีหุ่นดี สวยงาม น่าประทับใจ
ย่อมเป็นคำชมแน่แท้มิต้องสงสัย
ทว่าหากตั้งใจใช้คำว่า 'สลิ่ม' ให้หมายถึงขนมชนิดหนึ่งที่มีหลากสี ก็ต้องสะกด ซ่าหริ่ม หรือ ซาหริ่ม
แต่ถึงใช้ ซ่าหริ่ม ก็ยังเป็นคำที่มีความหมายดีอีกนั่นเอง เพราะซ่าหริ่มเป็นคำอาหรับ Salim หรือ Saleem แปลว่า
ปลอดภัย ไร้อันตราย
ดังนั้นหากเราบอกว่าใครเป็น 'ซ่าหริ่ม' ก็หมายถึงต้องการอวยพรให้เขาหรือเธอปลอดภัย
คงต้องเลือกคำใหม่แล้วละ
เราเป็นคนไทย ไม่ว่าจะรักหรือเกลียดเมืองไทย ก็ควรเขียนภาษาไทยให้ถูก ถ้าชมก็ได้ความหมายถูก ถ้าด่าก็ด่าถูกคำ
ไม่ใช่ด่าแล้ว คนโดนด่ายิ้มระรื่นชื่นใจทั้งวัน
ต่อไปนี้ใครด่าผิด จะให้คาบไม้บรรทัดเลย
(ป.ล. วันนี้หอมปากหอมคอแค่นี้พอ ทีหลังก็อย่ามาเปิดกล่อง Pandora's Box ของผม เปิดทีมาเป็นชุดเลย)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |