สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดอุบลราชธานี รุนแรงล่าสุดพบมีผู้เสียชีวิตแล้ว 8 ราย เพิ่มจากช่วงกลางเดือนพฤษภาคม อีก3 ราย มากที่สุดในเขตสุขภาพที่ 10 ในห้าจังหวัดอีสานล่าง ขณะที่ยังพบโรงเรียนพื้นที่ชายแดนเสี่ยงนอนกลางวันไม่มีมุ้งกันยุง
29 พ.ค.62 - นพ.ดนัย เจียรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี (สคร.10) กรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 5 จังหวัดอีสานล่าง (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร)
โดยภาพรวมจากการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.– 14 พ.ค.2562 ประเทศไทยพบผู้ป่วยแล้ว 20,733 ราย และเสียชีวิต 25 ราย (ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 5-14 ปี รองลงมาได้แก่ 15-34 ปี และแรกเกิดถึง 4 ปี ตามลำดับ) ขณะที่สถานการณ์ 5 จังหวัดเขตสุขภาพ 10 มีรายงานผู้ป่วย 1,720 ราย เสียชีวิต 3 ราย พบผู้ป่วยมากสุดที่ จ.อุบลราชธานี 822 ราย รองลงมาคือ จ.ศรีสะเกษ 567 ราย
แต่หลังจากที่นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ออกมาเปิดเผยตัวเลขผู้ป่วย และเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมาพบว่า มีการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น โดยพบว่าในพื้นที่ 25 อำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ป่วยแล้ว 1,145 ราย เพิ่มขึ้นจากกลางเดือนพฤษภาคม 323 ราย และพบมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 8 ราย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอนาจะหลวย มีผู้ป่วยถึง 146 ราย เสียชีวิตแล้ว 5 ศพ
ขณะที่ผู้ว่าฯอุบลราชธานี ลงติดตามสถานการณ์ที่อำเภอนาจะหลวยอย่างใกล้ชิด และเข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกที่กำลังเฝ้าระวังการแพร่เชื้ออยู่ที่โรงพยาบาลนาจะหลวย จากนั้นได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการณ์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOD) โรคไข้เลือดออกระดับอำเภอ โดยเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขสถานการณ์ และปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจากสถานการณ์การระบาดในครั้งนี้ ภายใต้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ที่ต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการจัดกิจกรรมตามโครงการจิตอาสาฯ ในวันนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หน่วยงาน ทุกภาคส่วนและพี่น้องประชาชน จะได้ร่วมกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้หมดสิ้นไปจากพื้นที่อำเภอนาจะหลวย
รายงานข่าวแจ้งว่า พื้นที่อำเภอสิรินธร และอำเภอบุณฑริก ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยยอดมน และเขตอนุรักษ์ป่ายอดมน ยังพบมีโรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ซึ่งจะต้องมีเวลาให้เด็กได้นอนกลางวัน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลายแห่งไม่มีมุ้งกันยุง ทำให้เด็กๆมีความเสี่ยงที่จะถูกยุงกัดในเวลากลางวันจำนวนมาก
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |