28พ.ค.62-ที่ห้องอารีย์ 1 โรงแรมเดอะ ควอเตอร์ อารีย์ - กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดประชุมวิชาการนานาชาติ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาและการเพิ่มทักษะดิจิตอลให้แก่กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่ด้อยโอกาส : บทเรียนและประสบการณ์จากประเทศเอสโตเนีย" โดยนายนักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีกลุ่มแรงงานด้อยโอกาสจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นแรงงานที่มีการศึกษา ทักษะค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น นอกจากนี้ยังมีแรงงานนอกระบบ หรือแรงงานด้อยโอกาส ซึ่งมีอีกประมาณร้อยละ 55 ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ดังนั้นหากตนคิดว่าสิ่งหนึ่งที่จะพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ก็คือ การพัฒนาแรงงานซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสูงมาก ทั้งนี้ กสศ. ในฐานะหน่วยงานที่พยายามลดช่องว่างทางการศึกษาของประเทศไทย จึงจัดอบรมแรงงานด้อยโอกาส เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาให้คนด้อยโอกาส และได้แรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้น นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
"แรงงานในระบบมีอยู่ประมาณ 17 ล้านคน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 4 ล้านคน อาชีวศึกษา 2.2 ล้านคน นอกนั้นอีก 10 ล้านคน เป็นแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับชั้น ม.6 ซึ่งโจทย์ปัญหาแรงงานในประเทศไทยที่ต้องเตรียมรับมือในอนาคตก็คืออีก 5-10 ปี ข้างหน้า แรงงานกลุ่มนี้จะถูกแทนด้วยระบบอัตโนมัติ ประเทศไทยต้องผลิตแรงงานให้ตรงกับความต้องการ โดยมีทักษะความรู้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตได้"นายนักสิทธิ์ กล่าว
ด้าน นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า ประเทศเอสโตเนียมีขนาดเท่ากับจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทย มีประชากรราว 1.3 ล้านคน ได้รับสมญานามว่า ‘Silicon Valley’ ของยุโรปที่พัฒนาไปเร็วมาก ใช้เวลาไม่ถึง 30 ปี เปลี่ยนจากประเทศยากจนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจุบันมีรายได้ต่อหัวมากกว่าประเทศไทยถึง 7 เท่า ผลการสอบ PISA ปี 2015 เอสโตเนียอยู่ในระดับท็อป 5 ของโลก ระบบโรงเรียนสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงไม่ขาดสาย การสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเปิดโอกาสให้แรงงานวัยผู้ใหญ่ที่ด้อยโอกาสได้กลับมา RESKILL เพิ่มศักยภาพได้ ประเด็นที่น่าสนใจคือจะสร้างแรงจูงใจอย่างไรให้คนกลุ่มนี้อยากกลับมาเรียน ฝึกอบรมเพิ่มเติม ซึ่งพบว่าประเทศเอสโตเนียใช้วิธีสร้างแรงจูงใจให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง โดยส่วนของนายจ้างหากมีนโยบายส่งเสริมให้ลูกจ้างไปเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถที่จะนำโครงการดังกล่าวไปลดหย่อนภาษีได้ ในขณะที่ในส่วนของลูกจ้างเอง ได้กำหนดให้สามารถลาหยุดงานเพื่อไปเรียนเพิ่มเติมเฉลี่ยสูงสุดถึง 30 วันต่อปี ขณะเดียวกันยังมีการจัดแคมเปญรณรงค์ให้แรงงานทุกระดับชั้นเข้าเรียนเพื่อเพิ่มทักษะอย่างต่อเนื่อง
"กสศ. เองได้นำบทเรียนจากเอสโตเนียมาเป็นส่วนหนึ่งของฐานความรู้ในการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่และแรงงานฝีมือโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำร่องใน 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่มีสัดส่วนความยากจน การว่างงานสูง และมีดัชนีความก้าวหน้าของคนต่ำ โดยจะมีการวิเคราะห์ศักยภาพและจัดทำแผนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาทักษะอาชีพแบบครบวงจร โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน คาดว่าในปีแรกจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประมาณ 5,000-10,000 คน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเชิญชวนหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา ที่มีศักยภาพในด้านการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น สามารถเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับชุมชนได้ โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ใน www.eef.or.th”ผู้จัดการ กสศ.กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |