นายราฆพ โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์โขน) ปี 2547
วงการโขนละครเศร้าสิ้น'ครูราฆพ โพธิเวส' ศิลปินแห่งชาติวัย 84 ปี ด้วยโรคชรา เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณในหลวง ร.9 ต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ อธิบดี สวธ.ระบุเป็นครูโขนฝีมือเยี่ยม 'ครูมืด'สุดอาลัยเผยทั้งชีวิตครูถ่ายทอดวิชาไม่ขาด วงการนาฏศิลป์สูญเสียกำลังหลัก ด้านครอบครัวตั้งพิธีสวดพระอภิธรรมวัดตรีทศเทพ ศาลา 5/1 วันที่ 23-28 ก.พ.
22 ก.พ.61 -นางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากครอบครัวนายราฆพ โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์โขน) ปี 2547 ว่าท่านถึงแก่กรรมลงแล้วในเวลา 13.35 น. ของวันที่ 22 ก.พ. ณ บ้านพักเลขที่ 47 เขตดุสิต กรุงเทพฯ จากโรคชรา สิริอายุ 84 ปี โดยจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันที่ 23 ก.พ. เวลา 17.00น. และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 23-28 ก.พ. วลา 18.30 น.ณ ศาลา 5/1 วัดตรีทศเทพ และทางครอบครัวจะเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 50 วัน และจะขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป ซึ่งประเทศไทยได้สูญเสียครูโขนที่มีฝีมือการแสดงยอดเยี่ยม โดยเฉพาะตัวยักษ์ สำคัญที่ท่านสามารถใช้ท่ารำมีอาวุธประกอบได้อย่างชำนาญ คล่องแคล่วว่องไว และมีกระบวนท่ารำที่งดงาม ทุกครั้งที่แสดงโขนก็จะได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ สวธ.ได้มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมทำบำเพ็ญกุศลศพจำนวน 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000บาท และดำเนินการเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพให้แก่ทางครอบครัวต่อไป
นายประสาท ทองอร่าม ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กล่าวว่า นับเป็นการสูญเสียกำลังหลักของวงการนาฏศิลป์และคีตศิลป์ ท่านเป็น 1 ใน 60 นักเรียนโขนรุ่นแรก และสืบทอดการแสดงโขนจากบิดาซึ่งเป็นครูโขนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่ำเรียนการแสดงโขนได้เพียง 5-6 เดือนก็ฉายแวว กรมศิลปากรเปิดการแสดงโขนรามเกียรติ์ครั้งแรก ตอนนาคบาศ ท่านได้รับคัดเลือกให้รับบทเป็นตัวละครพิเภก เพราะเห็นว่ามีฝีไม้ลายมือดี หลังจากนั้นท่านก็ได้รับการฝึกฝนเพื่อการเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม และแสดงเป็นตัวยักษ์สำคัญมาโดยตลอด ทั้งยังร่วมแสดงละครหลวงวิจิตรวาทการ ตลอดจนฝึกดาบจนได้รับการยกย่องเป็นครูดาบที่มากฝีมือ ทั้งอาวุธสั้นและยาว และดาบสองมือ ความรู้และประสบการณ์การแสดงโขนของท่านได้ถ่ายทอดให้ศิลปินกรมศิลปากร นอกจากนี้ ท่านเป็นอาจารย์สอนนักแสดงโขนและร่วมแสดงในงานพระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี งานพระเมรุ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา นับเป็นครูโขนที่มีกลุ่มลูกศิษย์มากมายเข้าพบเพื่อขอวิชาความรู้ แม้เกษียณอายุราชการ กรมศิลปากรให้ท่านดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย โขนยักษ์ ในวันที่สิ้นลมก็ยังอยู่ในตำแหน่งนี้จนวาระสุดท้าย
สำหรับประวัติของ นายราฆพ โพธิเวส เป็นผู้มีฝีมือยอดเยี่ยมในการแสดงโขน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับการต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ในพระราชพิธีพระราชทานครอบผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขน นอกจากนี้ได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยเป็นนักแสดง เป็นอาจารย์สอนศิลปะโขน เป็นผู้กำกับการแสดงโขน และถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการแสดงโขนให้กับสถาบัน ต่างๆ เพื่อเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ และแพร่หลาย ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ ได้แก่การแสดงละครพันทาง และต่อท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ท่านจึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์โขน) ปี 2547.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |