"อีอีซี คือพื้นที่ที่บริษัททำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาบตาพุด แหลมฉบัง การส่งเสริมอีอีซี ทำให้มีโอกาส ด้วยนโยบายของเอสเอ็นกรุ๊ป ที่มุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม รองรับนโยบายของประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0, อีอีซี และสมาร์ทปาร์ค บริษัทจึงพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการปรับปรุงและยกระดับด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการน้ำและความหลากหลายของโซลูชั่นต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกอยู่ตลอดเวลา"
ปัจจุบันรัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับโครงการอีอีซี หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้วางแนวทางการขับเคลื่อนอีอีซีแบบบูรณาการไว้ 4 ระยะ ซึ่งขณะนี้การขับเคลื่อนเข้าสู่ในระยะที่ 2 คือการผลักดันลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ ลงทุนรวม 650,000 ล้านบาท ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (เอ็มอาร์โอ) คาดว่าจะสามารถสรุปในร่างสัญญาเงื่อนไขการร่วมลงทุนกับรัฐทั้งหมดได้ภายใน มิ.ย.นี้
สำหรับระยะที่ 3 รัฐบาลจะเร่งรัดการส่งเสริมลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และเพิ่มเติมอีก 2 อุตสาหกรรม (10+2) ได้แก่ อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา เพื่อให้สอดรับกับกำลังแรงงานในอีอีซี ภาพรวมโดยจะเน้นหนักในปีนี้และครึ่งปีหลัง และระยะที่ 4 เป็นการพัฒนาเมืองใหม่ ที่ขณะนี้กำลังหารือในการวางผังเมืองที่จะอยู่บริเวณ 30 กิโลเมตรรอบสนามบินอู่ตะเภา ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนามีรูปแบบที่ชัดเจน เป็นระเบียบ ไม่ให้เกิดปัญหา เช่น กรุงเทพมหานคร โดยจะเริ่มในไตรมาส 4
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า อีอีซีและอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นตัวขับเคลื่อนและสร้างรายได้ให้ประเทศ จากเดิมที่ไทยส่งออกต้องติดลบ จีดีพีเติบโตได้น้อย จนในที่สุดการกำหนดเป้าหมายขึ้นมาเพื่อดึงนักลงทุนและเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้จีดีพีไทยสามารถโตได้เกิน 3% เห็นการลงทุนจากเอกชนในไตรมาสแรกปี 2562 บวกถึง 4.4% แม้เศรษฐกิจโลกจะเจอกับสงครามการค้าก็ตาม
"ตามแผน 5 ปี อีอีซีจะสะสมการลงทุนให้ไทยเองมีการลงทุนในสัดส่วนถึง 10% จากเดิมอยู่ที่เพียง 5% เท่านั้น ไทยต้องสะสมเทคโนโลยี และยังมีแผนด้านการศึกษาเพื่อเยาวชน สร้างงานใหม่ แผนด้านสิ่งแวดล้อม" นายคณิศกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขับเคลื่อนอีอีซีทั้งระบบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมขนส่งแล้ว ยังต้องมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟฟ้า ที่มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อการรองรับ การลงทุนทั้งระบบของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นภายใต้การบริหารงานของ นางเกตุวลี นภาศัพท์ ประธานกรรมการ บริษัท ส.นภา (ประเทศไทย) จำกัด และโกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด หรือกัสโก้ ในเครือ เอสเอ็นกรุ๊ป (SN Group) ในฐานะบริษัทบริหารพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำครบวงจร ได้ระบุว่า
พัฒนาและบริหารจัดการน้ำครบวง
เอสเอ็นกรุ๊ป เป็นผู้พัฒนาธุรกิจน้ำและสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา ออกแบบ ก่อสร้างและบริหารจัดการระบบผลิตน้ำประปา น้ำเพื่ออุตสาหกรรม รวมทั้งระบบน้ำรีไซเคิล และระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมการออกแบบติดตั้งระบบสระว่ายน้ำและงานภูมิสถาปัตย์ด้านน้ำ เพื่อให้การบริการลูกค้าทั้งในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ทั้งของภาครัฐและเอกชน ภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และชุมชน โดยเฉพาะพื้นภาคตะวันออก ใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา
นอกจากนั้น ทางบริษัทยังให้ความสำคัญการเดินระบบและบำรุงรักษา ตลอดจนบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงสุด ทางบริษัทได้มีโอกาสเข้าไปร่วมทุนกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในนามบริษัท โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด หรือกัสโก้ และบริษัท เจม เอ็นไวรันเมนทัล แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือเจม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการสาธารณูปโภคในนิคมฯ ในการให้บริการและดูแลในพื้นที่นิคมฯ ต่างๆ เช่น นิคมฯ มาบตาพุด, นิคมฯ แหลมฉบัง, นิคมฯ บางชัน, นิคมฯ บางปู เป็นต้น
ทั้งในด้านการบริหารจัดการจ่ายน้ำ ทำระบบน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย และการบริหารจัดการเรื่องของระบบสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นระบบถนน ต้นไม้ การบำรุงรักษาให้กับลูกค้าในทุกส่วน ปัจจุบันเอสเอ็นกรุ๊ปมีลูกค้าที่ให้บริการในนิคมฯ ประมาณ 3,000 ราย และขยายผลไปยังลูกค้าอื่นๆ อีกด้วย
พร้อมลุยอีอีซี
นางเกตุวลี กล่าวว่า การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอีอีซี เป็นเป้าหมายสำคัญของการยกระดับการลงทุนของประเทศที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (SMART PARK) ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดร่วมกันกับ กนอ. โดยในส่วนของ กนอ. กำลังดูเรื่องโครงสร้างพื้นฐานหลัก ที่นำไปสู่การรองรับอีอีซี ดังนั้นในการพัฒนาสมาร์ท ปาร์ค นับโครงการที่มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งบริษัทก็พร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ อีอีซีถือว่าเป็นนโยบายที่ดี เดิมนั้นประเทศไทยมีอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งทำสำเร็จมาแล้ว ดังนั้นพื้นที่อีอีซีจึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และรัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการลงทุน ซึ่งขณะนี้ต่างประเทศก็ให้ความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีนก็สนใจ ดังนั้นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและให้การส่งเสริม เพื่อรองรับการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยกำลังเร่งดำเนินการอยู่ ทั้งท่าเรือฯ สนามบิน รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ เป็นต้น
"อีอีซี คือพื้นที่ที่บริษัททำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาบตาพุด แหลมฉบัง การส่งเสริมอีอีซี ทำให้มีโอกาส ด้วยนโยบายของเอสเอ็นกรุ๊ป ที่มุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม รองรับนโยบายของประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0, อีอีซีและสมาร์ทปาร์ค บริษัทจึงพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการปรับปรุงและยกระดับด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการน้ำและความหลากหลายของโซลูชั่นต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกอยู่ตลอดเวลา" นางเกตุวลีกล่าว
ทุ่มลงทุนจิวัยพัมนาเทคโนโลยี
นางเกตุวลี กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของบริษัทในช่วง 5 ปีข้างหน้า ว่าเตรียมใช้งบลงทุน เพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบผลิตน้ำ และระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อขายน้ำให้กับโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการลงทุนสนับสนุนด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังได้เข้าไปให้บริการเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ อาทิ โครงการผลิตน้ำประปาของการประปาฯ, โครงการลงทุน และบริหารระบบรีไซเคิลน้ำในภาคอุตสาหกรรม, โครงการนำพุประกอบดนตรีขนาดใหญ่ในศูนย์การค้า ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ของกลุ่มบริษัท เอสเอ็นกรุ๊ป อยู่ที่ 3,500 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 10% และมีโครงการที่อยู่ในแผนที่บริษัทสามารถรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทจึงได้มีการลงทุนในงานวิจัยและพัฒนา ในการแสวงหาเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบน้ำให้มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุดบริษัทได้ลงนามความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถนำผลวิจัยไปใช้ได้จริง ในการออกแบบและวางระบบ ในการกระบวนการผลิต การรีไซเคิล การบำบัดน้ำเสีย และบำรุงรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เกิดโซลูชั่นใหม่ๆสำหรับการบริหารจัดน้ำทุกขั้นตอน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ให้กับบริษัทเพื่อต่อยอดธุรกิจในอนาคต
"ในปีที่ผ่านมานั้นบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานเป็นเอสเอ็นกรุ๊ป เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและการลงทุนในอีอีซีที่กำลังเกิดขึ้น เพราะจากเดิมคิดว่าเทคโนโลยีจะเป็นจุดแข็ง แต่ปัจจุบันไม่ใช่ ต้องมองให้กว้างกว่านั้น ดังนั้นบริษัทจึงมีทั้งเทคโนโลยีและคอมเมอร์เชียล การปรับองค์กรให้มีความฉับไว มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน (เคพีไอ) อย่างชัดเจนว่าการบริหารจัดการน้ำของบริษัทนั้นจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนทางด้านพลังงาน ต้นทุนค่าใช้จ่ายเท่าไหร่" นางเกตุวลีกล่าว
อย่างไรก็ตาม เอสเอ็นกรุ๊ปยังได้ขยายการลงทุนไปยังกลุ่มภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำเพื่อความสวยงาม และเชื่อมั่นว่าในอนาคตธุรกิจการบริหารจัดการน้ำจะสามารถขยายฐานไปยังภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมีอัตราการเติบโตทางด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมไปยังประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ลาว กัมพูชา เมียนมา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพื้นฐาน ทำให้เรามองเห็นโอกาส และมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ทั่วโลก
นางเกตุวลี กล่าวว่า บริษัทยังได้ศึกษาเรื่องโซลาร์รูฟท็อป โดยการเข้าไปเป็นพันธมิตรกับบริษัทบีกริม เพื่อจัดตั้ง บริษัท บีกริม ส.นภาโซล่าร์เพาเวอร์ จำกัด ขึ้น ทั้งนี้การที่บริษัทสนใจการลงทุนในธุรกิจโซลาร์เนื่องจากเป็นเรื่องของการประหยัดพลังงาน และมองว่าเอสเอ็นกรุ๊ปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีมาก ดังนั้นจึงคิดว่าน่าจะมีโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งโครงการแรกที่ได้เข้าไปดำเนินงานคือไอคอนสยาม
สำหรับความคืบหน้าโครงการสมาร์ทปาร์คนั้น นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ.อยู่ระหว่างผลักดันโครงการสมาร์ทปาร์ค โดยกำลังจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าจะเสร็จในเดือน มิ.ย.-ก.ค.2562 และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติโครงการ รวมทั้งเริ่มก่อสร้างต้นปี 2563 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ปี 2565
อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการสมาร์ทปาร์ค ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีพื้นที่ 1,500 ไร่ ใช้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2,800 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ และอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ซึ่งมีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในสมาร์ทปาร์คหลายราย เช่น บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (บีไอจี) ที่มีแผนตั้งโรงงานผลิตก๊าซไนโตรเจนป้อนโรงงาน รวมทั้งกลุ่ม ปตท.จะเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชั้นสูง และมีนักลงทุนจากจีนหลายรายสนใจมาลงทุน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |