สวนพฤกษศาสตร์ผาแดงที่จะเกิ
"เหมืองผาแดง" ที่แม่สอด จ.ตาก เคยเป็นแหล่งถลุงแร่โลหะสังกะสีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ในเนื้อที่รวม2,077 ไร่ ซึ่งบริษัทผาแดงอินดัสทรีจำกัด(มหาชน) ได้รับสัมปทานขุดหาแร่ มายาวนานกว่า32 ปี ก่อนจะปิดตัวลงในปี2560 เนื่องจากปริมาณแร่สำรองหมดแล้ว
หลังการปิดเหมืองปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่เหลือทิ้งไว้คึอ สภาพความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ระบบนิเวศที่ย่ำแย่ เพราะดินขาดธาตุอาหาร อีกทั้งยังมีปัญหาชะล้างพังทลายของหน้าดินสูง ทั้งหมดเป็นภารกิจที่ นักธุรกิจเอกชน ต้องรับผิดชอบ และต้องฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่เหมือง ให้กลายเป็นพื้นที่ป่าอีกครั้ง เพื่อส่งมอบให้กรมป่าไม้ ต่อไป เนื่องจากพื้นที่นี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด
ในแผนการฟื้นฟู ได้มีการนำโครงการ”ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดตาก”อันเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรรัชกาลที่9 เป็นแนวทาง พลิกฟื้นผืนดิน โดยกรมป่าไม้แ ละสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงานกปร.) ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายสุดท้าทาย
การเนรมิตรขุมเหมือง ให้เป็นศูนย์การพัฒนาและแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติประกอบด้วยศูนย์อบรมสัมมนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ,พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดง,ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ,ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าและพืชท้องถิ่น, ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำและสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศแลนด์มาร์คใหม่. จ.ตาก
ความก้าวหน้าในการฟื้นฟูและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่เหมืองเก่าได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีแนวพระราชดำริให้จัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์บนพื้นที่970 ไร่ในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ฯทรงตามรอยเบื้องพระยุคลบาทปฏิบัติพระราชกรณียกิจสืบสานต่อจากพระราชบิดาด้วยทรงมีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะสนับสนุนงานด้านพฤกษศาสตร์และงานด้านสวนพฤกษศาสตร์ ทรงมุ่งหวังที่จะให้”สวนพฤกษศาสตร์ผาแดง” มีลักษณะเช่นเดียวกับ"สวนพฤกศาสตร์อีเด็นในเมืองคอร์นวอลล์ สหราชอาณาจักร " ซึ่งเดิมเคยเป็นพื้นที่เหมือง และเหมืองปิดตัวลง ต่อมาได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสวนพฤษศาสตร์ มีเรือนเพาะพันธุ์ไม้ในระบบนิเวศป่าฝนใหญ่ที่สุดในโลก เป็นแหล่งพันธุ์ไม้หายาก โครงการสวนพฤกษศาสตร์อีเด็น กลายเป็นต้นแบบระดับสากลเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางอีกทั้งสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นมหาศาล
ภาพตัวอย่างการฟื้นฟูเหมืองผาแดง ด้วยการปลูกป่าให้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้บริหารสวนพฤกษศาสตร์อีเด็น ได้เดินทางมาเยี่ยมชมเหมืองผาแดง และจัดทำข้อเสนอแนะ การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งคณะอนุกรรมการจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ฯจะนำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเ พื่อทรงโปรดมีพระราชวินิจฉัยต่อไป
ในงานประชุมวิชาการนานาชาติInternational Conference on Biodivesity ( IBD 2019 ) เมื่อวันที่22-24 พ.ค.ที่ผ่านมา ณ เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และหน่วยงานพันธมิตรด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีการรายงานความก้าวหน้าของการสร้างสวนพฤกษศาสตร์ผาแดงสนองแนวพระราชดำริ
ดร.วีระชัย ณ นคร กรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
ดร.วีระชัย ณ นคร กรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวถึง ที่มาสวนพฤกศาสตร์แห่งใหม่ว่า เมื่อบริษัทยุติการทำเหมืองต้องคืนพื้นที่ตามกฎหมายและพัฒนาให้พื้นที่กลับอยู่ในสภาพเดิมหรือใกล้เคียงมากที่สุด ซึ่งเหมืองผาแดงผ่านการปลูกป่า และซ่อมแซมสิ่งแวดล้อมมาแล้วระดับหนึ่ง แต่ในพื้นที่เดิมมีโครงสร้างพื้นฐานก่อสร้างขึ้นสมบูรณ์แบบทั้งอาคาร, หอประชุม, บ้านพัก, ถนนฯลฯ การกลับคืนสู่ป่าแบบเดิมอาจทำไม่ได้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงงานผืนป่าตะวันตกของไทยทุกปี มีพระตำหนักที่ดอยผาแดง เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน เมื่อเสด็จจังหวัดตาก พระราชกรณียกิจ มีทั้งเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โครงการปลูกป่าภาคตะวันตก เหตุนี้ กรมป่าไม้และบริษัทผาแดงฯได้ขอทรงมีพระราชวินิจฉัยการพัฒนาพื้นที่เหมืองแร่เดิม ซึ่งทรงมีพระราชวินิจฉัย ให้ฟื้นฟูสภาพเป็นศูนย์การพัฒนาและเรียนรู้ทางธรรมชาติ ส่วนที่เป็นป่าต้องฟื้นฟูให้ดำเนินการจัดสร้างสวนพฤกศาสตร์นี่เป็นแนวทางใหม่
“ ทรงให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมพื้นที่ผาแดงเหมือนอีเด็นเนื้อที่2,000 กว่าไร่สภาพดินพัง จะต่างที่อีเด็นของอังกฤษ ที่เป็นเหมืองทองแดง พระองค์เสด็จทอดพระเนตรสวนพฤกศาสตร์อีเด็นมาแล้ว ทรงเห็นว่ามีการฟื้นฟูเป็นรูปธรรมมาก จึงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้กรมป่าไม้ไปศึกษานำแบบอย่างมาปรับใช้กับพื้นที่เหมืองผาแดง นำมาสู่การประสานงาน ให้คำแนะนำและร่วมออกแบบผังการจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ผาแดงเพื่อเป็นสถานที่อนุรักษ์พรรณไม้และรักษาป่าขนาดใหญ่ในผืนป่าตะวันตก ซึ่งมีพรรณไม้มากถึง4,000 ชนิด พบสัตว์ป่าชุกชุมในพื้นที่ต่างๆทั้งทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้งแก่งกระจานและกุยบุรีถือว่าใหญ่ที่สุดในเอเซีย “ ดร.วีระชัยกล่าวว่า
970 ไร่ ของสวนพฤกษศาสตร์ผาแดง ออกแบบผัง โดยแบ่งพื้นที่ต่างๆจำนวน 5 โซนประกอบด้วยโซน A พื้นที่ก่อสร้างสระมรกตและป่าดึกดำบรรพ์200 ไร่ โซนB พื้นที่ก่อสร้างน้ำตกความสูง40 เมตรจำนวน 100 ไร่โซนC พื้นที่ก่อสร้างกลุ่มอาคารเรือนกระจก200 ไร่โซนD พื้นที่สำหรับการฟื้นฟูป่า300 ไร่โซนE พื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำผาแดง170 ไร่ นอกจากนี้ในพื้นที่จะมีศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ด้วย
สวนพฤกษศาสตร์แห่งใหม่ จะแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆตรงที่ ใช้พรรณไม้สีม่วง มาฟื้นฟูป่า ดร.วีระชัยเผยว่าขณะนี้กรมป่าไม้ เตรียมพันธุ์ไม้สีม่วง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ของกรมสมเด็จพระเทพฯสำหรับปลูกในพื้นที่เป็นไม้ยืนต้นอาทิอินทนิล,ตะแบก,เสลา,อินทรชิตฯลฯรวมถึงพันธุ์ไม้สีเขียวของผืนป่าตะวันตกทั้งไม้เต็ง, รัง, สัก, ตะแบกขาว,เส้าดำฯลฯอีกทั้งจะปลูกพันธุ์ไม้หายากของผืนป่าตะวันตก ทั้งหมดมีรายการปลูกราว600-700 ชนิด ถ้าอยากรู้จักพรรณไม้ป่าภาคตะวันตกให้มาเยี่ยมชมที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้
ส่วนการสร้างป่าดึกดำบรรพ์ ดร.วีระชัย ให้ข้อมูลว่าเป็นแนวทางสร้างป่าขึ้นใหม่ พันธุ์ไม้ที่ปลูกอาทิ ปรง,วาสนา ฯลฯรวมทั้ง สร้างสระมรกตเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของผืนดิน ใครมาเที่ยวชมสวนพฤกษศาสตร์ผาแดงจะมีพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ให้ชมด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานทำให้ได้รับความร่วมมือด้านพันธุกรรมพืชรู้สึกปีติทรงพระราชทานแนวพระราชดำริปกป้องผืนป่าใหญ่ภาคตะวันตกเป็นผ้าห่มผืนเดียวที่เหลืออยู่ของบ้านเรา
สภาพพื้นที่หลังทำเหมือง มีแต่ดินปนปรายก้อนกรวดมีแอ่งน้ำกระจัดกระจาย การฟื้นฟูสุขภาพดินให้คุณภาพดีขึ้นกำลังจะเกิดขึ้น ดร.วีระชัยกล่าวว่าโครงการจะน้อมนำแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่9 มาใช้มีการปลูกหญ้าแฝกลดปัญหาหน้าดินพังทลายช่วยเก็บกักตะกอนในพื้นที่ลาดชันจากนั้นจะปลูกไม้ท้องถิ่นและเริ่มใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินขณะที่กรมทรัพยากรธรณีและกรมควบคุมมลพิษช่วยตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในพื้นที่ กรมชลประทานทำงานเรื่องระบบน้ำแต่ละโซนระบบนิเวศเเชื่อมต่อกันเป็นความท้าทายเพราะขุมเหมืองสภาพแย่ทำอย่างไรจะได้เห็นพื้นที่เขียวชอุ่มกลับมาตนร่วมจัดทำสวนพฤกษศาสตร์มาหลายแห่งทั่วประเทศไทยแต่การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ผาแดงยากที่สุด
“ คาดว่าแบบก่อสร้างสวนพฤกษศาสตร์ผาแดงจะแล้วเสร็จภายในปี62 นี้ใช้งบประมาณจัดสร้างไม่ต่ำกว่า700 ล้านบาทตั้งเป้าอีก5 ปีข้างหน้าจะสามารถเปิดให้เยี่ยมชมได้ ผู้มาเยี่ยมชมจเพลิดเพลินกับพืชพรรณควบคู่กับการตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าพันธุ์ไม้ เป็นหมื่นชนิด ที่รอคอยการศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้โครงการฯจะเสริมความแข็งแกร่งด้านพืชพรรณ และมีกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อมุ่งสู่ศูนย์กลางการวิจัยและอนุรักษ์พรรณไม้ของไทยที่มีความเป็นเลิศเกิดสถานีวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มจำนวนนักพฤกษศาสตร์ให้กับประเทศ “ ดร.วีระชัยกล่าวย้ำ
ดร.ราเชล วามิงตัน ผู้จัดการทีมวิทยาศาสตร์โครงการ อีเด็น สหราชอาณาจักร
ด้านดร.ราเชล วามิงตัน ผู้จัดการทีมวิทยาศาสตร์โครงการสวนพฤกษศาสตร์อีเด็น ซึ่งเดินทางมาร่วมประชุมวิชาการนานาชาติที่ไทย และร่วมบรรยายเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์ผาแดงต้นแบบของสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อน ที่เกิดจากการฟื้นฟูเหมืองเล่าแนวทางฟื้นฟูพื้นเหมืองอีเด็นว่า หลังทำเหมืองสภาพพื้นที่กลายเป็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ ในเมืองคอร์นวอลล์ เมื่อฝนตกกลายสภาพเป็นบ่อน้ำขัง การพัฒนาพื้นที่ต้องสร้างระบบระบายน้ำ และการดึงน้ำออกจากพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และหาดินมาลง โครงการได้รับคำแนะนำจากมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้ว่า ไม่ควรนำดินชั้นบนจากแหล่งอื่นมาใช้ เพราะจะนำสิ่งมีชีวิตและเชื้อโรคมาสู่พื้นที่ โครงการก็ศึกษาหาแนวทางและเลือก ใช้กากของเสียเปลือกกุ้งปูหอย,เศษกรวดหินขนาดเล็ก,เศษไม้ตามธรรมชาติ มาถมพื้นที่2 พันกว่าไร่ โดยพักดินไว้ระยะหนึ่ง ถือเป็นการปรับปรุงดินก่อนจะปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ ทั้งพันธุ์ไม้พื้นถิ่นไม้ใกล้สูญพันธุ์และพันธุ์ไม้จากต่างประเทศ ซึ่งมีการเพาะพันธุ์ในประเทศรวมถึงใช้เครือข่ายด้านพฤกศาสตร์ที่มี ช่วยส่งพรรณไม้นานาชนิดให้กับโครงการอีเด็น ซึ่งความสำเร็จทั้งหมดมาจากวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งโครงการ บวกกับการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายสวนพฤกษศาสตร์จำนวนมากระหว่างทางแม้มีอุปสรรคก็ช่วยกันแก้ไข
สำหรับโครงการอีเด็นจุดเด่น ตรงที่ช่วยพลิกฟื้นที่ดินทรุดโทรมจากการทำเหมืองมาสู่สวนพฤกศาสตร์ ภายในมีเรือนเพาะพันธุ์ไม้ ในระบบนิเวศป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นแหล่งพันธุ์ไม้หายากจากทั่วโลกและโซนจัดแสดงนิทรรศการหอพรรณไม้ รวมถึงเป็นหอแสดงนิทรรศการศิลปะไปในตัว ทุกปีมีจัดเทศกาลดนตรีศิลปะกิจกรรมเหมาะกับครอบครัวดำเนินโครงการมา18 ปี มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 400 คน มีผู้เข้าเยี่ยมชมไม่ต่ำกว่า20 ล้านคน สร้างรายได้27 ล้านปอนด์ต่อปี และสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นรวม2 พันล้านปอนด์ เกิดผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์อย่างน่าพอใจ
“ เป้าหมายสูงสุดของอีเด็นโปรเจ็คคือการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่เสื่อมสภาพจากกิจกรรมเหมืองและสามารถสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นความท้าทายของการสร้างสวนพฤกศาสตร์อีเด็นเริ่มตั้งแต่ศูนย์จนทุกวันนี้ยังต้องเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่หายาก และอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์รวมถึงดูแลรักษาพรรณไม้ในพื้นที่อย่างเหมาะสมโดยมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำสิ่งที่โครงการอีเด็นพิสูจน์ชัดเจนว่ากิจกรรมมนุษย์ทำลายพื้นที่แต่มนุษย์สามารถฟื้นฟูให้เกิดประโยชน์ระยะยาวและแสดงให้เห็นว่าพรรณไม้สำคัญต่อโลกใบนี้ “ ดร.ราเชลระบุ
ภาพตัวอย่างโครงการที่จะเกิดขึ้นในสวนพฤกษศาสตร์ผาแดง
อย่างไรก็ตามผู้จัดการทีมวิทยาศาสตร์ฯกล่าวในท้ายว่าสำหรับการสร้างสวนพฤกศาสตร์ผาแดงจ.ตากมีความคล้ายคลึงกับที่อีเด็นสภาพพื้นที่สูงชันได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปรับพื้นที่ เพื่อให้สามารถปลูกพืชพรรณต่างๆได้ตามแผนของโครงการ อย่างไรก็ตาม ทีมไทยจะต้องสำรวจพื้นที่ให้ครอบคลุมวิเคราะห์คุณภาพดิน เนื่องจาก พื้นที่แต่ละส่วนในเหมืองมีความซับซ้อนต่างกัน เพื่อวางแนวทางพัฒนาอย่างถูกต้อง ตนประทับใจในพระอัจฉริยะภาพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรเชื่อว่าโครงการสวนพฤกศาสตร์ผาแดงจะประสบผลสำเร็จช่วยอนุรักษ์ป่าตะวันตกและสร้างประโยชน์จากพื้นที่ในอนาคต ส่งผลให้มีการเชื่อมโยงร่วมกับป่าแม่สอดโดยรอบ เพราะทุกฝ่ายทำงานด้วยความมุ่งมั่นและสืบสานแนวพระราชดำริให้ดีที่สุด
อาคารเรือนกระจกที่จะสร้างในสวนพฤกษศาสตร์ผาแดง
เรือนรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทย
ภาพการออกแบบพื้นที่ส่วนหนึ่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |