23 พ.ค.62 - นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ระบุว่า เมื่อคืนเคลิ้มหลับไปฝันว่า พรรคประชาธิปัตย์มีมติเข้าร่วมรัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ์ จาก คสช. เป็นนายกฯ ต่อไป
หลังจากนั้นไม่นานก็มีกระแสโจมตีพรรคประชาธิปัตย์อย่างรุนแรง
1. ประชาธิปัตย์เปลี่ยนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย สนับสนุนกองทัพเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศผ่านการตั้งพรรคพลังประชารัฐ โดยมีกติกาที่เอาเปรียบเพื่อจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะแต่งตั้ง ส.ว. 250 คน จากบรรดาข้าราชการ เพื่อเลือกตนเองและอื่นๆ
2. ประชาธิปัตย์เปลี่ยนอุดมการณ์ สามารถเข้าร่วมกับคนในกลุ่มการเมืองที่เคยก่อตั้งพรรคในระบอบทุนนิยมสามานย์หรือระบอบทักษิณได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสมคิด กลุ่มสุริยะ กลุ่มสมศักดิ์ กลุ่มสุชาติ กลุ่มชลบุรี และกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งมีการออกแบบกติกาโดยอาจารย์มีชัยและอาจารย์วิษณุ ผู้เคยร่วมกับขั้วการเมืองในระบอบทักษิณทั้งสิ้น
3. ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย เคยอ้างจับมือเพื่อฟังความเห็นและให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ ที่แท้ก็จับมือเพื่อต่อรองตำแหน่งในรัฐบาล
4.ข้ออ้างของคนประชาธิปัตย์บางคนที่ว่า ประชาธิปัตย์แพ้เลือกตั้งเพราะไปประกาศไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จาก คสช. เป็นนายกฯ อีกสมัย ก็เป็นการวิเคราะห์ที่เลื่อนลอย เพราะพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) และพรรคประชาชนปฏิรูป ต่างประกาศสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ก็ได้คะแนนและจำนวน ส.ส. น้อยเกินคาดเช่นกัน แสดงว่าประชาชนผู้สนับสนุน คสช.มีอำนาจต่อไป ต่างก็ได้หันไปเลือกพลังประชารัฐไปแล้ว
ผู้ที่เลือกประชาธิปัตย์เกือบ 4 ล้านคน คือ ผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ทั้งเผด็จการโดยปืน และเผด็จการโดยทุน คนกลุ่มนี้ไม่มีที่ยืนที่เป็นตัวแทนในสภาและการบริหารประเทศ
5. พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ต่างจากพรรคกรเมืองอื่น ที่ทำงานการเมืองโดยแสวงหาอำนาจและตำแหน่ง ไม่ยอมเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายสนับสนุนอิสระ ไม่ยอมเป็นตัวแทนของประชาชนที่อยากมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศโดยไม่ฝักใฝ่เผด็จการโดยทุนหรือเผด็จการโดยปืน
ตกใจ !! ตื่นขึ้น เพิ่งรู้ความจริงว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้ประชุม เพราะจะประชุมในตอนบ่ายวันนี้ (23 พฤษภาคม)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |