ชุดในคอลเลกชั่น จากแดนไกล แบรนด์ WISHARAWISH
ชุดเดรส ชุดคลุม เสื้อ กางเกง ที่ดูทันสมัยกว่า 49 ชุด จากแบรนด์ WASHIRAWISH ในคอลเลกชันล่าสุด “จากแดนไกล” แทบไม่น่าเชื่อว่า แต่ละชุดออกแบบโดยใช้ผ้าไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผ้าคอตตอน ผ้าขาวม้า ผ้าไหมมัดหมี่ หรือจะเป็นผ้าบาติก คอลเลกชั่นนี้เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กับแบรนด์ WASHIRAWISH นำโดยวชิรวิทย์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ เป็นผู้ออกแบบชุด และหยิบยกเอาความงามและความละเมียดละไมของผืนผ้าไทยทอมือทั้งหลายมาเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งวัสดุหลักก็คือบรรดาผืนผ้าที่เขาได้เลือกใช้ถึง 7 ชนิดจากผู้ประกอบการท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น Jutatip จ.ขอนแก่น, ผ้าไหมมัดหมี่ by นิดดา จ.ขอนแก่น, กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโขจังหวัดขอนแก่น, Cotton Farm จ.เชียงใหม่, เรือนไหมใบหม่อน จ.สุรินทร์, อิมปานิ จ.ราชบุรี และบาติก เดอนารา จ.ปัตตานี เป็นต้น
สำหรับ “จากแดนไกล” เป็นคอลเลกชันที่บอกเล่า เรื่องราวการเดินทางของผืนผ้าที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยอันหลากหลายจากชุมชนห่างไกลที่ยังคงสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ พอๆ กับที่เป็นเรื่องราวของการเดินทางของนักออกแบบเองเพื่อทำความรู้จัก และเข้าใจอัตลักษณ์ของผ้าไทยชนิดต่างๆ จนตกผลึกเป็นแนวทางในการพัฒนาผ้าไทยเหล่านี้ต่อไปอย่างยั่งยืนในมุมมองของเขา จนเกิดเป็นคอลเลกชันที่ไม่ได้พูดถึงแดนไกลแต่เพียงในแง่ของระยะทาง แต่รวมถึงแดนไกลที่หมายถึงการนำเอาวัฒนธรรมที่ห่างหาย และห่างไกลจากวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันกลับมาทำความรู้จักกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง
วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH (วิชระวิชญ์)
วชิรวิทย์ หัวเรือใหญ่ เคยบอกว่า ผ้าแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง การนำมาออกแบบให้ดูทันสมัยแต่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมนั้น ต้องลืมว่าเป็นผ้าไทยแล้วสนุกไปกับการออกแบบ จะได้มีการนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวันได้ง่าย ไม่ใช่ผ้าที่ต้องใส่เฉพาะวันสำคัญ หรือถูกมองว่าใส่ได้แค่คนเฒ่าคนแก่ในชุมชนเท่านั้น ส่วนการนำผ้าไทยจาก 7 แห่งมาออกแบบเป็นชุดที่ทันสมัย แต่ละชุดเน้นเป็นเดรส ชุดคลุม เสื้อจากผ้าแต่ละแบบ รวมถึงกางเกงยีนส์ที่ทำจากผ้าไหมเอาใจคนรักเดนิที่ความพิเศษคือทำให้ซักในเครื่องซักผ้าได้เหมือนเสื้อผ้าทั่วไป
ในช่วงระหว่างที่พัฒนาโครงการ วชิรวิทย์ ได้มีโอกาสนำบางส่วนที่ทำแล้วในคอลเลกชันไปเฉิดฉายบนเวที Amazon Fashion Week กรุงโตเกียวด้วย มาแล้ว ซึ่งเขาเล่าว่า ได้ผลตอบรับดีเกินคาดเพราะไม่คิดว่าคนในวงกว้างหรือชาวต่างชาติจะสนใจ และมีออเดอร์เข้ามา อย่างคนจีนมีออเดอร์ผ้าของอิมปานิไป หรือผ้าบาติกของปัตตานี ทางญี่ปุ่นก็สั่งผลิต ตอนนี้ก็ส่งไปเรียบร้อยแล้ว นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ผ้าไทยจะก้าวไปได้อีก
วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข และผู้ประกอบการทั้ง 7 ชุมชน
ด้านฝั่งผู้ประกอบการ เจ้าของผืนผ้าที่ วชิรวิทย์ได้นำไปออกแบบนั้นต่างก็มีเรื่องราว และการทำงานในโครงการต่างกัน อย่างผ้า Jutatip จ.ขอนแก่น เป็นแบรนด์ผ้าฝ้ายหรือผ้าคอตตอนที่ถือว่าเป็นเส้นใยจากธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่ เป็นที่ต้องการของตลาดในอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่ยากจะหาผ้าที่ทอจากสองมือจริงๆ เพราะส่วนใหญ่จะผลิตผ่านเครื่องจักร
จุฑาทิพย์ ไชยสุระ เจ้าของแบรนด์ เผยว่า จุดเริ่มต้นแบรนด์เกิดจากความหลงไหลในเส้นใยธรรมชาติ และชื่นชมกับวิธีการผลิตผ้าฝ้ายด้วยกระบวนการดั้งเดิมที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอน ความโดดเด่นของผ้า Jutatip คือวิธีการสร้างลวดลายลงบนผ้าฝ้ายที่เรียกว่า “เกาะหลวง” ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ยุ่งยากและละเอียด ชนิดที่ต้องเรียงเส้นใยผ้าทีละเส้น เพื่อสร้างลวดลายให้เกิดบนผืนผ้า นอกจากความละเอียดประณีตแล้วยังต้องใช้ระยะเวลาที่มากขึ้นเพื่อสร้างลวดลายที่แตกต่างไปในแต่ละส่วนของผืนผ้าด้วย ดังนั้นการทำงานด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมเข้ามาหลอมรวมกับแนวคิดของดีไซเนอร์ อย่างคุณวชิรวิทย์ทำให้เกิดการส่งต่อองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบของกลุ่มสี คู่สีร้อน เย็น คู่สีแบบตรงข้าม และการส่งต่อแนวคิดในการทำรู้จักกับกระแสที่กำลังจะเกิดขึ้นของโลกแฟชั่น สิ่งที่ได้เรียนรู้เหล่านี้ทำให้เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการทำงานของ Jutatip ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น
ชุดในคอลเลกชั่น จากแดนไกล โดยใช้ผ้าจาก บาติก เดอ นารา จ.ปัตตานี
" ที่สำคัญคือผ้าของ Jutatip จากคอลเลกชั่นนี้ได้ขึ้นไปยืนอยู่บนงาน อเมซอนแฟชันวีคที่กรุงโตเกียวมาแล้ว ความรู้สึกเหมือนเรียนจบแล้วได้รับเกียรตินิยม สร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเองมาก รวมไปถึงกลุ่มชาวบ้านที่ได้ร่วมแรงร่วมใจทอผ้าชิ้นนี้ขึ้นมา การได้เห็นผลงานผ้าฝ้ายทอมือที่ถูกแต่งเติมความคิดสร้างสรรค์โดยนักออกแบบที่มีความเข้าใจในผ้าไทย ได้ปรับเปลี่ยนให้งานผ้าฝ้ายทอมือไม่ใช่แค่ของพื้นเมืองที่ดูเชย หรือล้าหลังแต่เป็นงาน ที่ทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนมุมมองต่อผ้าฝ้ายทอมือไปเลย โครงการนี้เป็นโครงการที่มองเห็นถึงกลุ่มคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เป็นเพียงจุดเดียว ที่เป็นเพียงฟันเฟืองตัวเดียวบนอาณาจักรผ้าไทย เรียกได้ว่าเป็นการโยนหินก้อนเล็กๆ ลงไปในมหาสมุทรกว้างใหญ่ที่ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมขึ้นมากมายเป็นทั้งแรงบันดาลใจและเป็นทั้งเป้าหมายให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาใส่ใจในสิ่งที่สังคมให้ไม่ลืมเลือนไป” จุฑาทิพย์กล่าว
ชุดในคอลเลกชั่น จากแดนไกล โดยใช้ผ้าจาก ผ้าไหมมัดหมี่ by นิดดา จ.ขอนแก่น
ด้านเปรมฤดี กุลสุ Cotton Farm จ.เชียงใหม่ เจ้าของแบรนด์ผู้คลุกคลีอยู่ในวงการผ้าฝ้ายมามากกว่า 20 ปี กล่าวว่า ความโดดเด่นของผ้าคอตตอนฟาร์มคือแนวคิดการสร้างผ้าฝ้ายเนื้อบางที่มีความเหมาะสมกับการสวมใส่ใน ภูมิอากาศที่ร้อนชื้นอย่างประเทศไทย แม้การทอผ้าฝ้ายเนื้อบางจะต้องใช้ระยะเวลาในการทอผ้าที่นานขึ้น แต่ก็ได้รับการตอบรับจากตลาดมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังได้มีการนำเส้นใยฟิลาเจน ผสมกับใยผ้าฝ้ายเพื่อให้เกิดความสบายเมื่อสวมใส่ และสามารถลดการแพ้ฝุ่นจากเส้นใยผ้าฝ้ายปกติ เทคนิคการทอผ้าที่นี่ที่ใช้เพื่อผลิตชิ้นงานของโครงการมี 2 แบบ คือผ้าทอลายธรรมดา และผ้าทอลายเต่า ในส่วนของผ้าทอลายเต่า ถือเป็นการทอแบบโบราณที่มีความซับซ้อนในการทอสูง ปกติแล้วการทอผ้าเส้นบนและเส้นล่างจะใช้สีเดียวกันในส่วนของการทอลายเต่านั้น จะแยกใช้เส้นบนและส่วนล่างต่างสีกั นเพื่อให้เกิดความสวยงาม และเมื่อผ้าฝ้ายทอลายแบบโบราณได้เข้าร่วมกับนักออกแบบ ก็รู้สึกเกิดความประทับใจ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ มีความกล้าที่จะใช้สีแบบใหม่ๆ ออกแบบลวดลายใหม่ๆ รวมทั้งการตั้งใจศึกษากระแสแฟชั่นที่เป็นความต้องการของตลาดเพื่อให้ผลงานที่เกิดขึ้นตรงใจกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่มากขึ้น
ชุดในคอลเลกชั่น จากแดนไกล แบรนด์ WISHARAWISH
ด้านรอวียะ หะยียามา บาติก เดอนารา จ.ปัตตานี บอกว่า ถ้าพูดถึงความแตกต่างของผ้าบาติกเดอนารากับผ้าบาติกในที่ต่างๆ คำว่า ง่ายแต่งดงาม คือหัวใจหลักของการทำงานบาติกเดอนารา ในส่วนของการเขียนบาติกนั้นได้ใช้เทคนิคแบบดั้งเดิมที่ไม่ได้มีความซับซ้อน คือการเขียนมือทั้งหมด แต่พิเศษตรงที่ต้องเขียนให้ลายเส้นมีน้ำหนักคงที่ และมีความพริ้วไหวสวยงาม ต้องใช้ความละเอียดประณีตเป็นอย่างสูง กว่าจะทำได้ทีมงานต้องฝึกฝนกันอย่างหนักและยาวนาน การร่วมโครงการนี้นับเป็นสิ่งที่ภูมิใจ ชิ้นผ้าที่ได้รับเลือกให้ใช้ตัดเย็บเป็นผ้าที่ใช้ความง่ายและงดงามตามฉบับของบาติกเดอนารา เนื้อผ้าพริ้วไหว ยังคงใช้เทคนิคการเขียนภาพด้วยมือทั้งนั้นเพื่อให้เกิดความละเมียดละไม เหมาะสมกับความต้องการของผู้ออกแบบ การร่วมงานกับอาจารย์วชิรวิทย์ได้สร้างความแตกต่างขึ้น อาจารย์และทีมงาน ได้ส่งต่อวิธีการคิดที่เกี่ยวกับการออกแบบการทดลองจับคู่สีแบบใหม่ หาแรงบันดาลใจจากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว ตามวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่นเรือกอและ สัตว์น้ำ กุ้ง เปลือกหอย ปูปลาเกลียวคลื่น ผืนฟ้าท้องทะเล เพื่อให้บาติกเดอนาราสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างขึ้นเองได้
ชุดในคอลเลกชั่น จากแดนไกล โดยใช้ผ้าจาก เรือนไหมใบหม่อน จ.สุรินทร์
ผลงานออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยโดย WASHIRAWISH จะจัดแสดงในนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้และการแสดงผลงานเครื่องแต่งกายจากผ้าไทยต้นแบบ ในโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2562ระหว่างวันที่ 23 – 26 พ.ค. บริเวณ Baecon 3-4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |