พลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากหลายๆ หน่วยงาน โดยเฉพาะภาคเอกชนต่างก็ได้ให้ความสำคัญหันมาติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือ “โซลาร์รูฟท็อป” (Solar rooftop) กันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในปี 2562 จะมีการติดตั้งประมาณ 500 เมกะวัตต์ และเมื่อยึดตามระยะเวลาสิ้นสุดของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2018) ที่สิ้นสุดแผนปี 2580 คาดการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปรวมสูงถึง 20,000 เมกะวัตต์
ดังนั้น โซลาร์รูฟท็อปจึงได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้อีกด้วย
และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ รับรู้และเข้าใจถึงขั้นตอนการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปอย่างถูกวิธี บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด หนึ่งในบริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) จึงมาแนะนำ 4 ข้อควรรู้ที่ผู้ประกอบการควรศึกษา และทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา
เริ่มจากข้อแรก ต้องทำความรู้จักกับโซลาร์รูฟท็อปว่าคืออะไร โซลาร์รูฟท็อป คือ ระบบเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยวิธีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของอาคาร โดยระบบจะเริ่มทำงานเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงอาทิตย์ และจะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) แปลงไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้สามารถใช้งานกับเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในโรงงานหรืออาคารได้
จากนั้นต้องเตรียมข้อมูลก่อนติดตั้งให้พร้อมเพิ่มความแม่นยำในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องสำรวจความพร้อม และเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเพื่อใช้ประกอบการประเมิน และคำนวณแผนการลงทุนในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป อาทิ ภาพรวมปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยสามารถรวบรวมได้จากใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าย้อนหลัง 12 เดือนแบบแปลนไฟฟ้าแบบไดอะแกรม, โหลดอิเล็กทรอนิกส์, ความพร้อมของพื้นที่สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์ เช่น ขนาด หรือความแข็งแรงโครงสร้างหลังคา เพื่อให้การคำนวณกำลังการผลิตไฟฟ้ามีความแม่นยำยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ประกอบการยื่นขออนุญาตติดตั้งระบบฯ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร แบบโครงสร้างของหลังคา รายการคำนวณโครงสร้างหลังคา เป็นต้น
และที่สำคัญการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปต้องดำเนินการโดยวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจ ประเมิน ตลอดจนออกแบบและวางแผนระบบฯ ให้เหมาะกับพื้นที่นั้นๆ เช่น การคำนวณจำนวนของแผงโซลาร์ให้สัมพันธ์กับโครงสร้างของหลังคา เพื่อการผลิตไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นผู้ประกอบการควรคำนึงถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) ที่ผลิตจากซิลิคอนบริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าแผงชนิดอื่นในปัจจุบัน รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่ามากที่สุด
สุดท้ายในด้านการบริการหลังการขาย แม้ว่าอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์จะยาวนานถึง 25 ปี แต่การดูแลรักษาคุณภาพของตัวแผงตลอดอายุการใช้งาน รวมถึงการติดตามประสิทธิภาพการทำงานของทั้งระบบฯ ยังถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกใช้ผู้ให้บริการ ที่ดูแลการติดตั้งได้ทั้งระบบ รวมถึงการให้บริการทั้งก่อนและหลังการติดตั้ง
เมื่อรู้กันอย่างนี้แล้ว การที่จะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปก็ควรที่จะเลือกบริษัทที่มีมาตรฐานในการดำเนินงาน เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณภาพชีวิตและทรัพย์สินที่จะคงอยู่อย่างยั่งยืน.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |