21พ.ค.62-ตามที่นักวิชาการออกมาติงเรื่องข้อเสนอของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เรื่อง แนวทางการรับนักเรียน ที่จะให้มีการแบ่งกลุ่มโรงเรียนรับนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นโรงเรียนแข่งขันสูงที่รับเด็กจากทั่วประเทศด้วยการสอบทั้งหมด และ กลุ่มที่สอง คือ โรงเรียนที่รับเด็กในเขตพื้นที่บริการและเด็กนอกเขตพื้นที่เหมือนในปัจจุบัน อาจส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทำให้เด็กสนใจไปเรียนพิเศษเพิ่มมากขึ้น
นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประธาน กพฐ.) กล่าวว่า ว่า ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำแต่อย่างใด เพราะเด็กเก่งได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง อีกทั้งทุกวันนี้โรงเรียนทั่วประเทศมีคุณภาพไม่เท่ากัน แต่ในความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องคุณภาพโรงเรียนที่ไม่ใช่โรงเรียนแข่งขันสูงก็ต้องดึงศักยภาพของตัวเองสร้างจุดเด่นพัฒนาให้เป็นโรงเรียนดังให้ได้ หรือแม้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ก็ไม่จำเป็นว่าโรงเรียนจะต้องเป็นโรงเรียนดัง แต่โรงเรียนสามารถทำให้เด็กได้เรียนกับครูที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับเด็กที่เรียนในโรงเรียนดัง เช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลายวิทยาลัย เป็นต้น โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้บันทึกการสอนของครูเก่งๆ ให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้เรียน อีกทั้งเกณฑ์รับนักเรียนแนวทางนี้ยังเป็นช่องทางสกัดปัญหาทุจริตและการเรียกรับเงินแลกที่นั่งเรียนหรือแป๊ะเจี๊ยให้หมดไปอย่างแน่นอน
"ส่วนข้อกังวลว่าเด็กจะแห่ไปกวดวิชามากขึ้นนั้น เรื่องนี้เราต้องเปลี่ยนวิธีการออกข้อสอบให้เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ พร้อมกับทักษะที่เด็กควรจะมีและพร้อมเรียน เพราะเด็กก็รู้เนื้อหาการเรียนอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเราปรับวิธีสอบเป็นคิดวิเคราะห์เชื่อได้เลยว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่มีทางสอนได้ และการเด็กแห่ไปเรียนกวดวิชาก็จะหมดไปเอง"นายเอกชัยกล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |