ไฟเขียว ตั้ง'สราวุธ'นั่งอธิบดีกรมรางคนแรก


เพิ่มเพื่อน    

 

21 พ.ค. 2562 รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ระบุว่าที่ประชุม ครม. มีมติแต่งตั้งนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางรางคนแรกของประเทศไทย ตามที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2562) จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง และรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและ จราจร(สนข.) ว่าที่อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (กรมราง)เปิดเผยว่าการจัดตั้งกรมดังกรมถือเป็นภาระกิจหลักที่รัฐบาลชุดนี้ต้องการผลักดันตั้งแต่ช่วงต้นการเข้ามาบริหารประเทศในช่วงปี 2558 เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนเรื่องระบบรางหลายแสนล้านบาท ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าเมืองหลวงและรถไฟความเร็วสูง  

อย่างไรก็ตามขณะที่ภารกิจหลักของกรมรางที่จะเข้ามายกระดับงานบริการขนส่งสาธารณะที่เห็นภาพชัดๆคือการตั้งค่าประเมิน KPI ในงานบริการรถไฟฟ้า เช่น แต้มตรงต่อเวลาแต้มความแออัดของผู้โดยสารและแต้มความพึงพอใจเป็นต้น นอกจากนี้จะมีการเข้ามาคุมเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิดบริการ นอกจากนี้ยังมีตัว พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม (ฉบับที่..)พ.ศ... ว่าด้วยการ จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง และร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ... ซึ่งอยู่ระหว่างผลักดันบังคับใช้ภายในปีนี้ ทำหน้าที่เป็นกฎหมายให้เอกชนต้องปฎิบัติตาม รวมถึงเรื่องอื่นๆอีกมากมายเกี่ยวกับระบบราง ดังนั้นจฝภาระกิจงานจะครอบคลุม รถไฟ รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง

แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าและบริษัทเอกชนที่สนใจลงทุนโครงการระบบราชในอนาคตจนทำให้บางฝ่ายเกิดความเกรงกลัวถึงขอบเขตอำนาจของกรมดังกล่าว ทั้งการตั้งค่าประเมินประจำปี KPI ซึ่งจะมาพร้อมบทลงโทษหากไม่ทำตาม เช่นการปรับเงิน หรือการชดเชยค่าใช้จ่ายให้ผู้โดยสาร (payback) ในกรณีรถไฟฟ้าขัดข้องหรือมีการล่าช้าเกิดขึ้น(Delay) เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ตลอดจนคุมราคาค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม การเร่งรัดโครงการก่อสร้างระบบราง การสร้างกติกาทีมีผลทางกฎหมายให้ปฏิบัติร่วมกัน ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขในการประมูลโครงการเช่น กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบที่ต้องผลิตในประเทศ (local content) เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมทางรางของไทย อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้สำหรับประวัติการศึกษานายสราวุธ ทรงศิวิไลนั้น ปี 2520 – 2523 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี), ปี 2523 – 2524 มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ปี 2524 – 2528 วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี 2530 – 2532 วศ.ม. (ขนส่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในส่วนประวัติการทำงานนั้น พ.ศ. 2529 – 2540 วิศวกรโยธาฝ่ายแผนงานกองบำรุงกรมทางหลวง พ.ศ. 2540 – 2545 หัวหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำนักบริหารบำรุงทางกรมทางหลวง พ.ศ. 2545 – 2547 ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานผู้รับจ้าง(งานจดทะเบียนผู้รับเหมา) กรมทางหลวง พ.ศ. 2547 – 2549 

ผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางธนบุรี(แขวงการทาง) กรมทางหลวง พ.ศ. 2549 – 2550 ผู้อำนวยการแขวงการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง พ.ศ. 2550 – 2552 ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดกลยุทธ์และแผนงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวง พ.ศ. 2552 – 2556 ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่8 (นครราชสีมา) กรมทางหลวง พ.ศ. 2556 – 2557 รองอธิบดีกรมทางหลวง(ฝ่ายวิชาการ) กรมทางหลวง พ.ศ. 2557 – 2560 รองอธิบดีกรมทางหลวง(ฝ่ายบำรุงทาง) กรมทางหลวง พ.ศ. 2560 – 2561 ผู้ตรวจราชการกระทรวงกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"