"เทพไท"เผยปชป.แบ่ง 2 ขั้ว"ร่วม-ไม่ร่วมรัฐบาล"


เพิ่มเพื่อน    

 

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.  นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ  ว่า  วันนี้ในพรรคประชาธิปัตย์มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน 2 ขั้ว คือขั้วของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และขั้วของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  เลขาธิการพรรค จึงต้องมีการต่อสู้กันทางความคิดเพื่อให้ตกผลึกว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรจะไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ 

โดยรอบแรกคือการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในวันที่ 20 พ.คนี้ ซึ่งน่าจะมีความคืบหน้าของเรื่องดังกล่าวในระดับหนึ่ง จากนั้นน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น คือหลังจากมีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาในวันที่ 24 พ.ค.นี้ไปแล้ว จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในในวันที่ 25 พ.ค.นี้ เพื่อลงมติเลือกประธานสภาฯ ซึ่งจะเป็นดัชนีชี้วัดและเป็นสัญญาณที่จะบ่งบอกว่าระหว่างขั้วของพรรคพลังประชารัฐ กับขั้วของพรรคเพื่อไทย ขั้วไหนที่จะมีโอกาส จัดตั้งรัฐบาลหรือจะได้เปรียบทางการเมืองมากกว่ากัน จึงต้องจับตาดูกันว่าประธานสภาฯคนใหม่จะเป็นใคร ถ้าประธานสภาเป็นคนของพรรคเพื่อไทย ก็แสดงว่าพรรคเพื่อไทยมีความได้เปรียบ 

นายเทพไท กล่าวอีกว่า  ขณะนี้ทั้ง 2 ขั้วมีเสียงที่ก้ำกึ่งกันมาก ดังนั้นพรรคที่อยู่ตรงกลางซึ่งสามารถสวิงได้มากที่สุด คือพรรคประชาธิปัตย์ที่มี ส.ส. 52 เสียง จากข่าวที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความได้เปรียบในการที่จะเข้าไปสวิงร่วมกับขั้วไหนก็ได้นั้น ทำให้มีผู้วิเคราะห์ว่าประธานสภาฯ น่าจะเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ส่งผลให้มีชื่อของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค ปรากฎออกมา เพราะถ้าคนของพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นประธานรัฐสภา ก็ถือเป็นคนกลาง ในการคุมฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้เกิดดุลระหว่างขั้วของพรรคพลังประชารัฐกับขั้วของพรรคเพื่อไทย ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายยังได้ต่อสู้กันต่อ  แต่แน่นอนที่สุดคือหลังการประชุมสภาฯ เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาฯไปแล้วนั้น หลังจากนั้นไป 5 วัน จะเข้าสู่การประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ ต้องจับตามองท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ และใครจะเป็นประธานสภาฯ รวมถึงสิ้นเดือนพ.ค.นี้ พรรคต่างๆจะมีมติเลือกใครเป็นนายกฯคนใหม่

นายเทพไท  กล่าวอีกว่า  สำหรับภายในพรรคประชาธิปัตย์  ตนเชื่อว่าครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่คนในพรรคจะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อที่จะให้ตกผลึกความคิดว่าจะเข้าร่วมรัฐบาลรู้หรือไม่ ฉะนั้น ผู้ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคต้องชั่งน้ำหนักผลดี-ผลเสีย อนาคต อุดมการณ์ของพรรค รวมถึงทิศทางของประเทศและผลประโยชน์ของประชาชนว่าควรจะไปทิศทางไหน  โดยตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการเมืองขณะนี้อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคอื่นอาจจะมีธงคำตอบในตัวอยู่แล้วก็มีการเดินเกมกันเพื่อการต่อรองทางการเมือง แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีการต่อรองทางตำแหน่งใดๆทั้งสิ้น และยังไม่ได้มีการเตรียมการที่จะเข้าร่วมรัฐบาลกับขั้วใดๆตามกระแสข่าวลือที่ถูกปล่อยออกมา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"