ลั่นดึงเอกชนร่วมทุน5โครงการอีอีซีเสร็จมิ.ย.


เพิ่มเพื่อน    

 

18 พ.ค.2562 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เปิดเผยถึงหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)แบบบูรณาการ ว่า การดำเนินงานของ สกพอ.วางไว้ 4 ระยะ โดยระยะแรกเป็นการออกกฎหมายและวางแผนทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ แล้วเสร็จ ขณะนี้อยู่ในระยะที่ 2 คือการผลักดันลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ ลงทุนรวม 650,000 ล้านบาท ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3  ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (เอ็มอาร์โอ) คาดว่าจะสามารถสรุปในร่างสัญญาเงื่อนไขการร่วมลงทุนกับรัฐทั้งหมดได้ภายในมิ.ย.นี้

“ขณะนี้ได้หารือกับอัยการในการเร่งดูสัญญาที่เหลือให้เร็ว แต่การลงนามในสัญญานั้นบางส่วนอาจจะต้องไปรอรัฐบาลหน้าก็ไม่เป็นไรเพราะถึงอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนี้อยู่แล้ว ส่วนแหลมฉบังที่มีเอกชนยื่นฟ้องศาลปกครองก็คงต้องดูไม่รับฟ้องก็เดินไปตามปกติ ถ้ารับฟ้องก็ต้องดูว่าเป็นประเด็นไหน  แต่จะขอศาลฯให้ช่วยพิจารณาเร็วเพื่อไม่มีผลกระทบให้ล่าช้าได้ ส่วนสนามบินที่เขาฟ้องนั้นขอให้เอาข้อมูลมาทำงานก่อนถ้าศาลฯบอกอย่างนี้กระบวนการก็ทำได้ไม่ได้ยากอะไร เดือนมิ.ย.ก็น่าจะเสร็จแต่ก็คงต้องรอศาลฯ โดยการลงทุน 5 โครงสร้างพื้นฐานเม็ดเงินน่าจะทยอยเข้ามาช่วงปลายปีนี้และจะพีคสุดในช่วงปี 2563-64 ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างมาก”นายคณิศ กล่าว

สำหรับการขับเคลื่อนในระยะที่ 3 จะเร่งรัดการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและเพิ่มเติมอีก 2 อุตสาหกรรม(10+2) ได้แก่อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา เพื่อให้สอดรับกับกำลังแรงงานในอีอีซีภาพรวมโดยจะเน้นหนักในปีนี้และครึ่งปีหลัง   และระยะที่ 4 เป็นการพัฒนาเมืองใหม่ที่ขณะนี้กำลังหารือในการวางผังเมืองที่จะอยู่บริเวณ 30 กิโลเมตรรอบสนามบิน อู่ตะเภา ทั้งนี้ก็เพื่อให้การพัฒนามีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นระเบียบไม่ให้เกิดปัญหาเช่นกรุงเทพมหานครโดยจะเริ่มในไตรมาส 4

นายคณิศ กล่าวถึงการหารือครั้งนี้ว่า การทำงานนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลายกลุ่มและแบ่งแยกงบประมาณเป็นหลายก้อนเช่น งบประมาณปกติ งบบูรณาการตามยุทธศาสตร์อีอีซี และงบท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ด้วย และที่สนใจคือการลงทุนของเอกชนและรัฐควรจะเดินไปพร้อมกันที่ประชุมจึงวางแผนที่จะทำอย่างไรให้การใช้งบประมาณหลายๆส่วนให้เห็นภาพด้วยกันเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน

"ก่อนหน้านี้ได้มีการหารือถึงรายได้ที่จะเข้ามาพัฒนาท้องที่เพิ่มเติมในอนาคตซึ่งมีแนวคิดในเรื่องของการเก็บภาษีลาภลอย ซึ่งเป็นการเก็บจากของเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐโดยเฉพาะในส่วนของรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลักการได้หารือกับคลังแต่ก็ยังเป็นแนวคิดและต้องมาดูว่าภาษีลาภลอยนี้จะเข้าไปท้องถิ่นอย่างไร และส่วนกลางเท่าใด มันยังต้องมีกระบวนการอีกมากและต้องไปดูร่างพ.ร.บ.ภาษีลาภลอยด้วยเพราะขณะนี้ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)”นายคณิศ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"