เมื่อช่วงต้นปี 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบขยายเวลามาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 ต่อไปอีก 6 เดือน คือตั้งแต่ ม.ค.-มิ.ย.2562 หลังจากที่มาตรการในระยะแรกสิ้นสุดลงไปเมื่อ ธ.ค.ที่ผ่านมา ด้วยวงเงินดำเนินการ 4,370 ล้านบาท กับเป้าหมายมีผู้เข้าร่วมโครงการ 4.14 ล้านราย โดยการดำเนินงานในส่วนนี้จะใช้เงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก
โดยวัตถุประสงค์หลักของการดำเนินมาตรการครั้งนี้ คือ เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของรัฐบาล โดยจะเปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาลงทะเบียนเพื่อเข้าอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยในระหว่างที่มีการอบรมนั้น รัฐบาลก็จะมีการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านบัตรสวัสดิการเพิ่มให้ โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้รับเงินเพิ่มรายละ 200 บาท จากระยะแรกได้ 300 บาท รวมเป็น 500 บาทต่อเดือน ส่วนผู้ที่มีรายได้มากกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี จะได้รับเงินเพิ่มรายละ 100 บาทต่อเดือน จากระยะแรกได้รับ 200 บาทต่อเดือน รวมเป็น 300 บาทต่อเดือน เพื่อไว้ใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็นเพิ่มเติม
โดยกระทรวงการคลังได้รายงานความคืบหน้าของมาตรการดังกล่าวว่า ข้อมูล ณ เดือน ม.ค.2562 มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมมาตรการ 4.14 ล้านราย ได้รับการพัฒนาแล้วจำนวน 3.26 ล้านราย และจากผลการติดตามความคืบหน้าการพัฒนาตัวเองของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูล ณ สิ้นปี 2561 สามารถติดตามได้ 2.6 ล้านราย หรือคิดเป็น 80% ของผู้ที่พัฒนาแล้ว แบ่งเป็น ผู้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี หรือเป็นผู้พ้นจากเส้นความยากจน มีจำนวน 1.01 ล้านราย จากเดิมเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี โดยในส่วนนี้ยังมีผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี คงเหลือ 1.04 ล้านราย โดยก่อนการพัฒนามีทั้งสิ้น 2.05 ล้านราย ส่วนผู้มีรายได้มากกว่า 1 แสนบาทต่อปี อยู่ที่ 1.15 แสนราย
กระทรวงการคลังชี้แจงถึงมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 ว่า ยังมีกลุ่มผู้ที่เข้าร่วมมาตรการ แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอยู่ ซึ่งกลุ่มนี้ได้มีการแสดงความประสงค์ว่าจะเข้าร่วมการพัฒนาในโครงการพัฒนาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานพัฒนาที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาผู้เข้าร่วมมาตรการในส่วนนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายแรกภายใต้โครงการของแต่ละหน่วยงาน โดยจะต้องพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.2562
ส่วนกลุ่มผู้ที่ผ่านการพัฒนาแล้ว แต่ยังมีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี ได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน ในฐานะผู้ดูแลผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดำเนินการพัฒนากลุ่มดังกล่าวต่อไป เพื่อให้มีทักษะและศักยภาพ จนสามารถประกอบอาชีพให้มีรายได้สูงกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี
“อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์” รมว.การคลัง ระบุว่า ผลการพัฒนาฝึกอบรมอาชีพสำหรับผู้มีรายได้น้อยในระยะแรก มีการประเมินผลออกมาแล้วเป็นที่ “น่าพอใจ” โดยกว่า 80% ของผู้ที่มาฝึกอาชีพ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนผู้ฝึกอาชีพที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี หรือต่ำกว่าเส้นความยากจนที่เข้ามาฝึกอาชีพ 2 ล้านคน มีรายได้พ้นเส้นความยากจนได้สูงถึง 50% หรือ 1 ล้านราย
การฝึกอบรมอาชีพรอบใหม่ ก็จะมีการเปิดให้ผู้ฝึกรอบแรกสามารถเข้ามาฝึกอบรมอาชีพเพิ่มเติมได้อีก และพยายามจะดึงคนที่ยังไม่ลงทะเบียนเพื่อฝึกอาชีพเข้ามาร่วมในมาตรการครั้งนี้ด้วย เพื่อช่วยยกระดับให้ผู้มีรายได้น้อย มีรายได้เพิ่มขึ้น
มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต ผ่านการฝึกอบรม พัฒนา เพื่อให้มีทักษะ มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนี้ ถือเป็นมาตรการที่มีประโยชน์ และน่าจะเห็นผลในเชิงรูปธรรมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของผู้มีรายได้น้อยได้ดีที่สุด เพราะถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว โดยมองว่าโครงการจะยิ่งประสบผลสำเร็จอย่างดีสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่มีใจอยากพัฒนาและยกระดับความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของตัวเอง ซึ่งจากผลของมาตรการในช่วงที่ผ่านมา ก็เห็นภาพชัดเจนของผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้มากขึ้นจนพ้นเส้นความยากจนในที่สุด.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |