ทำไมต้องมี ‘คลินิกแก้หนี้’?


เพิ่มเพื่อน    

                เมื่อวานผมนำเอาบทวิเคราะห์เรื่อง "หนี้คนไทย" ของ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการแบงก์ชาติมาให้อ่านเพราะเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนควรสนใจ

                ท่านบอกว่าจากการศึกษาเชิงลึกพบว่าคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้นและมากขึ้น อายุมากแต่หนี้ยังไม่ลด  ที่สำคัญสัดส่วนหนี้เสียเพิ่มขึ้น คนที่มีหนี้อายุ 29-30 ปี เป็นหนี้เสียถึง 1 ใน 5

                ดร.วิรไทอธิบายถึง "โครงการคลินิกแก้หนี้" ต่อว่าอย่างนี้ครับ

                สำหรับโครงการคลินิกแก้หนี้ ซึ่งเป็นเสาหลักที่ 2 ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถออกจากกับดักหนี้ได้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1  มิ.ย.60 เป็นต้นมา โดยธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือ SAM ร่วมมือกันจัดตั้งขึ้น โดยมีเจตนารมณ์ให้เป็น One-stop service ในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้กับเจ้าหนี้หลายราย  โดย SAM ซึ่งมีข้อตกลงด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการทุกราย ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกัน  ประเมินศักยภาพในการชำระหนี้และเรียกเก็บหนี้ ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากที่ลูกหนี้จะไปหาเจ้าหนี้ทุกรายและเจรจาหนี้ได้สำเร็จ ซึ่งเป็น Coordination failure คือการไม่สามารถประสานงานกันระหว่างแรงจูงใจและผลประโยชน์ของผู้ให้บริการและลูกหนี้ได้

                โครงการคลินิกแก้หนี้ได้ดำเนินการมาประมาณ 2 ปี มีลูกหนี้ที่เข้ามาปรึกษา 37,000 ราย  ลูกหนี้จำนวนมากยังไม่เป็น NPL จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ที่ผ่านมามีลูกหนี้ที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ (Debt restructuring) ได้สำเร็จ 1,500 ราย ซึ่งมีเจ้าหนี้เฉลี่ย 3 ราย เงินต้นเฉลี่ย 300,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขของโครงการนี้จะช่วยให้ยอดผ่อนชำระและอัตราดอกเบี้ยลดลงมากไม่เกินร้อยละ 7 และระยะเวลาผ่อนยาวถึง 10 ปี กรณีที่ลูกหนี้มียอดหนี้ 100,000 บาท  จะผ่อนชำระต่อเดือนเพียง 1,200 บาท เงื่อนไขสำคัญของโครงการคือ ลูกหนี้ต้องแสดงเจตนารมณ์ว่าจะไม่ก่อหนี้เพิ่มเติม ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นโอกาสดีในการทดลองโครงการ  ถึงแม้จะแก้ไขหนี้ให้ลูกหนี้ได้เพียง 1,500 ราย เนื่องจากลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้  Non-bank รวมอยู่ด้วยจำนวนสูงพอสมควร จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขยายขอบเขตให้รวมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ Non-bank  เพื่อสามารถช่วยเหลือประชาชนได้กว้างขวางและเบ็ดเสร็จมากขึ้น ซึ่งลูกหนี้กลุ่มที่เป็นหนี้เสียมีประมาณ 490,000 ราย ยอดหนี้เสียประมาณ 49,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ดังนั้นจึงต้องร่วมมือในการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความยั่งยืนและมั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจไทยได้

                โอกาสนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการ Non-bank 19 แห่งได้เห็นความสำคัญของการช่วยเหลือประชาชน และเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ระยะที่ 2 ทั้งนี้เมื่อรวมกับธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 16 แห่ง รวมเป็น 35 แห่ง จะสามารถครอบคลุมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลได้เกือบทั้งระบบ

                ขอขอบคุณผู้บริหารของ Non-bank ทั้ง 19 แห่งที่เข้าร่วมโครงการในวันนี้ ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ ทีมงานของ ธปท.และ SAM ที่เข้ามาร่วมโครงการนี้ ซึ่ง ธปท.เชื่อมั่นว่าโครงการคลินิกแก้หนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะอยู่กับระบบการเงินไทยต่อไป

                ท้ายที่สุดการแก้ปัญหาหนี้ที่ถาวรและยั่งยืนย่อมอยู่ที่การไม่สร้างหนี้ หรือสร้างหนี้อย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญที่อาจต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปการศึกษาให้สร้าง "ความรู้เรื่องการเงิน"  ตั้งแต่ชั้นประถมกันเลยทีเดียว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"