ปัญหาน้ำมันปาล์มดิบล้นตลาดนั้น ตอนนี้คงไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือเป็นเรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไป หลังจากที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการมาสนับสนุนการใช้ให้มากขึ้น และช่วยดูดซับปริมาณที่เกินมาในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระตุ้นราคาขายปลีกให้เพิ่มสูงขึ้นมาจากเดิมได้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีและสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันในการจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
และล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ก็ปิ๊งไอเดียในแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มดิบทั้งระบบ โดยได้ดำเนินการ 2 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเพื่อเข้าโรงงาน มาตรการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน B20 และการตรวจสอบโรงงานในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน พัฒนาประสิทธิภาพกระบวนผลิต เพื่อให้มีการใช้วัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง
โดยในส่วนของมาตรการกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเพื่อเข้าโรงงาน จะช่วยยกระดับราคาผลปาล์มเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น โดยกระทรวงได้ออกประกาศกำหนดให้โรงงานรับซื้อวัตถุดิบที่มีน้ำมันไม่น้อยกว่า 18% สำหรับโรงหีบแยก (รับปาล์มทั้งทลาย) และไม่น้อยกว่า 30% สำหรับโรงหีบรวม (รับเฉพาะผล) ในส่วนของโรงงาน ทำให้มีวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการควบคุมการผลิตจากความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพวัตถุดิบมากนัก
และทำให้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันสูญเสียประสิทธิภาพจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มที่ควรจะสกัดได้ เกษตรกรได้ราคาตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ส่งขาย ประเทศชาติได้มูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปจากการใช้ทรัพยากรที่ใช้เท่าเดิม โดยประกาศกระทรวงฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มิ.ย.2562 ซึ่งในระหว่างนี้ กระทรวงอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแนวทางปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว และได้สั่งการให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่กำกับ ติดตาม และบูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลจากประกาศกระทรวง
ด้านมาตรการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน B20 กระทรวงก็ได้สนับสนุนมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมัน B20 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งได้ออกประกาศลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถปิกอัพประเภท 2 ประตู และรถปิกอัพประเภท 4 ประตู ที่สามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ ตัวอย่างเช่น รถปิกอัพที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำกว่า 200 กรัมต่อกิโลเมตร ที่ใช้น้ำมัน B20 จะลดภาษีจาก 2.5% มาเป็น 2% ด้วยการปรับปรุงระบบป้ายข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล (ECO Sticker)
สำหรับรถปิกอัพเพื่อรองรับการใช้น้ำมัน B20 ได้ เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปชำระภาษีสรรพสามิต และเป็นการยืนยันให้กับผู้บริโภคว่า รถปิกอัพรุ่นดังกล่าวสามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ ซึ่งระบบ ECO Sticker นี้ เปิดให้ยื่นตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.2562 โดยปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์จำนวน 2 ราย ได้แก่ โตโยต้าและอีซูซุ ได้รับการอนุมัติ ECO Sticker สำหรับรถปิกอัพที่ใช้น้ำมัน B20 แล้ว ประมาณ 120 รุ่น
โดยหากคำนวณจากสัดส่วนตลาดของทั้ง 2 บริษัท กระทรวงประมาณการว่า รถปิกอัพ B20 จะมียอดขายในประเทศประมาณ 300,000 คันต่อปี หากรถปิกอัพจำนวนนี้มีการใช้น้ำมัน B20 จะสามารถดูดซับปาล์มดิบในระบบได้ประมาณ 500,000 ตันต่อปี ก่อให้เกิดมูลค่าปาล์มน้ำมันประมาณ 1,200 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ให้กระทรวงได้ตรวจสอบโรงงาน ให้มีการรับวัตถุดิบปาล์มน้ำมันเพื่อให้เกิดการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยผมได้มอบหมายให้อุตสาหกรรมจังหวัดดำเนินการตรวจสอบโรงงานอย่างใกล้ชิด และส่งเสริม พัฒนาประสิทธิภาพของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อให้โรงงานมีการรับซื้อวัตถุดิบในราคาที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจว่าทั้ง 3 มาตรการ จะช่วยยกระดับและรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ซึ่งถือว่ามีเป้าหมายชัดเจนในการที่ช่วยลดสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในตลาดได้อีกทางหนึ่ง และเป็นการแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินงานที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง ไม่ปล่อยปละละเลย จนเกิดเป็นปัญหาเรื้อรังขึ้นในอนาคต รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองความร่วมมือจากภาคอื่นๆ ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |