21 ก.พ. 61 - นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกต. เมื่อวันที่ 20 ก.พ. สำนักงาน กกต . ได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เลือกตั้งท้องถิ่นที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3,847 คน และนำมาปรับปรุงเป็นร่างล่าสุด เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อ กกต. โดย กกต.ได้พิจารณาร่างดังกล่าวอย่างรอบคอบ และให้มีการแก้ไขในรายละเอียดบางประการเพื่อให้กฎหมายที่จะนำมาใช้เกิดผลดีที่สุด และสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันกับ ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. คาดว่าจะสามารถนำส่งคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ภายในวันที่ 28 ก.พ.
สำหรับความน่าสนใจของกฎหมายฉบับดังกล่าว คือ กำหนดให้วาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารและสภาท้องท้องถิ่น เริ่มต้นและสิ้นสุดพร้อมกัน ดังนั้นการเลือกผู้บริหารและสภาท้องถิ่น จะกระทำในวันเดียวกัน ไม่เกิดภาวะเหลื่อมล้ำ ไม่มีการแทงกั๊ก พอลงผู้บริหารไม่ได้แล้วมาลงสภาท้องถิ่น และประชาชนสะดวก สามารถมาใช้สิทธิ์พร้อมกันได้ในคราวเดียว การกำหนดให้กรณีมีการลาออกก่อนครบวาระ
"ห้ามทำกิจกรรมที่นำไปสู่การหาเสียง ใช้งบประมาณของท้องถิ่น สร้างความได้เปรียบต่อคู่แข่งย้อนหลังไป 90 วันก่อนการลาออก ยกเว้นกรณีเป็นการบรรเทาทุกข์จากภัยธรรมชาติ ดังนั้นลูกเล่นลาออกก่อนครบวาระ และเล่นพาหัวคะแนนไปเที่ยว พากลุ่มแม่บ้านไปทัศนศึกษา เที่ยวฟรีมีตังค์ทอน จะไม่สามารถกระทำได้อีก" นายสมชัย ระบุ
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดรูปแบบการหาเสียง คล้ายคลึงกับการเลือกตั้ง ส.ส. คือ ต้องจัดทำป้ายในขนาดและจำนวน และติดไว้ในสถานที่ที่ กกต.กำหนดเท่านั้น โปสเตอร์ขาจร คัทเอาท์ขนาดใหญ่ขนาดยักษ์ที่ติดตั้งเกะกะกีดขวางทัศนวิสัยจะไม่มีให้เห็นอีก และกำหนดจำนวนผู้ช่วยหาเสียงในสัดส่วนที่เหมาะสม ป้องกันการซื้อเสียงโดยเป็นการอ้างว่าจ้างผู้ช่วย ดังนั้นค่าแรง 200 บาทให้ผู้มีสิทธิ์แค่เดินชูป้ายรอบหมู่บ้านรอบเดียวจะทำไม่ได้อีก และห้ามใช้มหรสพในการหาเสียง
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ประเด็นหนึ่งที่สำนักงานเสนอมา คือ การตัดสิทธิ์หมู่บ้านที่มีผู้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยกว่า 10 คน ให้ไม่มีสิทธิเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น แต่มีสิทธิเลือกเฉพาะผู้บริหารท้องถิ่น ด้วยเหตุผลว่าที่ผ่านมามีบางหมู่บ้านมีคนไม่ถึง 10 คน พอจะเลือกสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จะจำกัดอยู่เพียงในคนไม่กี่คนและเป็นภาระต่อการจัดหน่วยเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กกต.ไม่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิ์ และมองว่าเป็นปัญหาของกระทรวงมหาดไทยที่แบ่งย่อยหมู่บ้านมากไปเอง จึงเสนอให้มหาดไทยเป็นฝ่ายคิดการยุบรวมหมู่บ้านเพื่อให้มีประชากรเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้เมื่อเสนอกฎหมายดังกล่าวต่อ ครม.แล้ว ครม.คงใช้เวลา 1 เดือนในการตรวจสอบความถูกต้องสอดคล้องกับร่างของคณะกรรมการกฤษฎีกา และของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และน่าจะเสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ปลายเดือนมี.ค. ซึ่งสนช.จะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 60 วัน ขั้นตอนการทูลเกล้าประมาณ 30 วัน ดังนั้นเร็วที่สุดที่กฎหมายประกาศใช้ได้ คือ ปลายมิ.ย. หลังจากนั้นหากรัฐบาลเห็นชอบว่าพื้นที่ใดควรมีการเลือกตั้ง กกต.จะใช้เวลาประมาณ 45 วันในการดำเนินการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นชุดแรกจะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนส.ค. และเป็นการทดสอบฝีมือ กกต.ชุดใหม่ที่จะเข้ามารับงานดังกล่าวเป็นงานแรก
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |