วันที่ 12 พ.ค. น.ส.เกศปรียา แก้วแสนเมือง โฆษกพรรคเพื่อชาติ ชี้ว่า 5 ปีที่ผ่านมาน่าจะเรียกว่าช่วงเวลา ย้อนเวลาหาอดีตมากกว่าการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เมื่อเผด็จการทหารเสพติดอำนาจทำให้คนรุ่นใหม่อย่างตนได้รู้จักมหกรรมการค้ามนุษย์ หรือ “การต้อนเสียงนักการเมือง” ที่ไม่มั่นคงในอุดมการณ์ไปสนับสนุน อย่างคำว่า “งูเห่า” สุดสัปดาห์นี้มีกระแสข่าวลือว่า ราคาการซื้อเสียงขึ้นสูงถึง 200 ล้านบาทต่อหนึ่งเสียง เพื่อซื้อตำแหน่งหัวหน้าพรรคเก่าแก่ให้ไปสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ ตนศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองมาได้ทราบข้อมูลว่าคุณชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรค และเสาหลักพรรค ปชป. เป็นผู้ที่ยืนยันมาตลอดชีวิตนักการเมืองว่ารับไม่ได้กับการซื้อเสียง ไม่ทราบว่าท่านได้ทราบข่าวลือหนาหูในแวดวงการเมืองที่มีการสนับสนุนเงินให้ผู้ที่สมัครเป็นหัวหน้าพรรค ปชป. ที่จะสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ ไปซื้อเสียงสมาชิกเพื่อโหวตให้ตนเป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่
การย้อนเวลาหาอดีตที่มีข้อมูลปรากฏในสื่อเวลานี้ ทำให้คนรุ่นใหม่อย่างตนเห็นว่าจะละเลยปล่อยให้อนาคตของประเทศให้อยู่ในมือกลุ่มสืบทอดอำนาจต่อไปไม่ได้ เพราะการลงทุนเพื่อได้มาซึ่งอำนาจด้วยมูลค่าสูง ย่อมต้องคาดการณ์ว่าจะต้องได้ผลตอบแทนจากการมีอำนาจสูงกว่า ภาษีของประชาชนและรายได้ของประเทศชาติจะต้องตกไปอยู่ในมือกลุ่มคนเหล่านี้ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็คงความลำบากยากจนถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพต่อไปจากการที่ถูกเผด็จการกดขี่
ดังนั้นสิ่งที่ตนทำได้ในขณะนี้คือ ตนขอเรียกร้องให้สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะที่อาสามาเป็นตัวแทนประชาชนให้ตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และรักษาคำพูดที่อดีตหัวหน้าพรรคเคยสัญญากับประชาชนไว้ว่าจะไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ อีกทั้งอยากฝากบอกพรรคภูมิใจไทยที่รอฟังเสียงประชาชน ว่า ประชาชนประมาณ 70 % ได้บอกกับทุกพรรคการเมืองแล้วว่าไม่ต้องการรัฐบาลสืบทอดอำนาจจากผลการเลือกตั้ง 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ขอเรียกร้องให้ทั้งสองพรรคประกาศให้ชัดเจนว่าจะยืนตามมติมหาชน เพื่ออนาคตของประเทศ หรือจะยืนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนจากการขายเสียง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |