"อายุเป็นเพียงตัวเลข" ใช้เวลาว่างกับงานที่ชอบ


เพิ่มเพื่อน    

 

      ถ้าพูดถึงนักการตลาดและอาจารย์สอนด้านการบริหารธุรกิจ กระทั่งอดีตเป็นคณบดีนิเทศศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกันดี สำหรับ อ.ชลิต ลิมปนะเวช วัย 68 ปี ที่ปัจจุบันได้ผันตัวมาเป็นที่ปรึกษาสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการให้เช่าโกดังสินค้า

      ปัจจุบันแม้ว่าเจ้าตัวจะเกษียณ แต่ทุกวันนี้ อ.ชลิต แง้มว่ายังทำงานอยู่อาทิตย์ละ 3 วัน เพราะมองว่าแม้อายุเข้าหลัก 6 ยังไม่ใช่วัยเกษียณ แต่เป็นวัยกลางคน เพราะอันที่แล้วอายุ 70 ปีต่างหาก ที่ควรให้คำนิยามว่าวัยเกษียณมากกว่า ด้วยบุคลิกที่เป็นกันเอง ที่ปรึกษาด้านการตลาดคนดังได้มาบอกเคล็ดลับเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง เพื่อให้เป็นวัยเก๋าที่มีคุณภาพ

        อ.ชลิต เล่าให้ฟังว่า เนื่องจากหน้าที่การงานค่อนข้างรัดตัว และรับประทานอาหารมื้อเย็นค่อนข้างหนัก ประกอบกับเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุก็มักจะเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งส่วนตัวนั้นก็ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ประกอบกับก่อนหน้านี้ไม่ได้ออกกำลังกาย จึงทำให้อาการป่วยดังกล่าวเป็นมากขึ้น และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 80-90 กิโลกรัม จนทำให้ต้องไปพบแพทย์ และมีนักโภชนาการได้แนะนำให้เลือกดูแลสุขภาพ ด้วยการบริโภค “อาหารดิบ” หรือการ “กินอาหารให้เป็นยา” เพื่อช่วยให้อาการของโรคทุเลาลง และนั่นจึงเป็นการดูแลสุขภาพที่ อ.ชลิตใช้ควบคุมน้ำหนักและอาหารอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้สุขภาพดี

      “จากการที่ผมเริ่มน้ำหนักตัวมากขึ้น คือ ผมหนักประมาณ 80-90 กิโลกรัม และไปพบแพทย์ก็พบว่าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงไขมันพอกตับ กระทั่งคุณหมอได้แนะนำ ให้ใช้วิธีทางเลือกในการดูแลสุขภาพและควบคุมโรค โดยมีนักโภชนาการเป็นผู้แนะนำ เรื่องการกินอาหารให้เป็นยา ซึ่งในที่นี่คือการ “กินอาหารดิบ” นั่นก็เป็นเพราะว่าในอาหารดิบนั้นจะมีเอนไซม์ที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายให้แข็งแรง เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายทุกส่วนก็จะเสื่อมลง โดยตอนเช้านักโภชนาการจะแนะนำให้กิน “ไข่ดิบ 2 ฟอง” ตามด้วย “กาแฟดำ” ไม่ใส่น้ำตาล ครีม 1 ถ้วย เพื่อล้างความคาวของไข่ดิบ และในระหว่างวันก็ให้รับดื่มหรือ “จิบน้ำโซดาผสมกับน้ำมะนาว” เนื่องจากกว่าในกระเพาะของเรา จะมีความเป็นด่าง และน้ำมะนาวจะมีความเป็นกรด ซึ่งวิธีดังกล่าวนั้นก็จะช่วยสร้างความสมดุลให้กับกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

 

      ส่วนมื้อกลางวันจะให้รับประทานข้าวกับปลาแซลมอนดิบ ส่วนมื้อเย็นก็ให้รับประทานเนื้อดิบ เนื่องจากอาหารสุกจะทำให้เอนไซม์ที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายถูกทำลายลงไปเพราะความร้อน ที่สำคัญนอกจากการซ่อมแซมเซลล์ให้กับมาแข็งแรงแล้ว ร่างกายก็ยังต้องการโปรตีนเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกเหรอเช่นเดียวกัน ดังนั้นโปรตีนที่ได้จากโอเมก้า 3 ขณะที่เรารับประทานปลาแซลมอนก็ช่วยได้ เพราะอย่าลืมว่าการที่ร่างกายจะนำโปรตีนไปใช้นั้น ต้องอาศัยน้ำมันจากปลาแซลมอนเป็นตัวนำพาสารอาหารเข้าไปในร่างกาย ทั้งนี้จากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวอยู่ประมาณ 7 เดือน ก็ทำให้อาการป่วยทุเลามากขึ้นครับ จากค่าเบาหวาน 140 ก็ลดเหลือเพียง 98 ทำให้ไม่ต้องกินยา ส่วนเรื่องของความดันโลหิตสูง จาก 160 เหลือเพียง 120 ก็ไม่ต้องรับประทานยาเช่นกัน อีกทั้งภายใน 1 เดือน น้ำหนักตัวก็ลดลง 4 กิโลกรัม กระทั่งครบ 7 เดือนน้ำหนักตัวลดลงไป 17 กิโลกรัม เรียกว่าโรคทุกอย่างหายไปครับ”

      นักการตลาดคนดัง กล่าวเสริมว่า เนื่องจากอายุมากขึ้นทำให้บางครั้ง ก็กลับไปบริโภคเหมือนเดิม จึงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาบ้างเล็กน้อย แต่ทุกครั้งที่น้ำหนักตัวเพิ่มก็จะกลับไปใช้สูตรการบริโภคอาหารให้เป็นยาเหมือนเดิม เพราะดีกว่าการซื้อวิตามินเสริมต่างๆ มากิน เนื่องจากเราสามารถเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ในการช่วยต้านโรค และเคล็ดลับที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือการ “ออกกำลังกาย” ควบคู่อาทิตย์ละ 3 วัน รวมถึงการเลือก “ปรุงอาหารรับประทาน” เอง โดยงดการใช้วัตถุดิบหวาน มัน เค็ม เพื่อเป็นตัวเสริมในการดูแลสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ

      “เมื่อเริ่มน้ำหนักตัวเพิ่มจากภารกิจการงานที่ต้องไปงานสังสรรค์ช่วงเย็น ทุกวันนี้ก็ไปให้น้อยลง หรือบางครั้งก็ปฏิเสธการกินเลี้ยงช่วงเย็น ทั้งนี้เพื่อสุขภาพ ที่สำคัญผมเลือกออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 วันในฟิตเนสเป็นประจำ โดยการเดินบนสายพาน สลับกับการยกเวต และปั่นจักรยานอยู่กับที่ โดยรวมก็อยู่ที่ครั้งละ 45 นาที และจะเลือกงดการรับประทานแป้ง งดน้ำตาล และเลือกปรุงอาหารเอง โดยเน้นให้มีรสจืดมากที่สุด ซึ่งการปรุงอาหารรับประทานเองนั้น ก็จะเลือกใช้ซอสปรุงรสจากอเมริกายี่ห้อหนึ่งที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ซึ่งเมนูที่ทำ เช่น “คากิ” ที่มักจะต้มเองและเน้นให้จืดที่สุด เพราะในคากินั้นจะมีคอลลาเจนที่เป็นประโยชน์ ช่วยให้ผิวหนังเต่งตึง หรือถ้าหากทำเมนู “ต้มขาหมู” ก็จะเหยาะซอสปรุงรสยี่ห้อที่ไม่มีน้ำตาล และใส่เครื่องเทศให้หอมก็เพียงพอแล้ว และทุกวันนี้อาหารเย็นก็จะเน้นเป็นสลัดผัก ที่สำคัญก็จะพยายามปรับลดการบริโภคแป้งให้น้อยลง และกินแค่พออิ่ม จากที่เคยกินข้าว 1 จานใน 1 มื้อ ก็จะเหลือเพียงครึ่งจานครับ”

      ถัดจากการดูแลสุขภาพเข้าสู่โหมดของชีวิต ทั้งก่อนและหลังวัย 60 ปี ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรนั้น อ.ชลิต บอกว่า ยังทำงานทุกอย่างเหมือนเดิม โดยบางวันก็มีคนเชิญไปบรรยายในงานอบรม และยังทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับหน่วยงานต่างๆ รวมถึงยังทำธุรกิจส่วนตัวอีกด้วย เพราะคำจำกัดความคำว่า “วัยเกษียณ” ของเจ้าตัวนั้นไม่ใช่อายุ 60 ปี แต่เป็นอายุ 70 ปี

      “ทุกวันนี้ผมยังทำงานเหมือนเดิมครับ ทำ 3 วันต่อสัปดาห์ คือวันอังคาร พุธ และพฤหัสฯ ซึ่งงานแรกคือการเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ โดยเอาประสบการณ์กว่า 30 ปีที่ทำงานมาถ่ายทอด และอีกงานหนึ่งคือการทำธุรกิจส่วนตัว โดยการเปิดบริษัทสร้างโกดังสินค้าให้เช่า เพราะผมมองว่าวัยเกษียณไม่ใช่คนอายุ 60 ปี เพราะนั่นถือว่าเป็นวัยกลางคน ส่วนวัย 70 ปี คือวัยเกษียณสำหรับผมครับ เหตุผลที่ผมยังทำงานอยู่ก็เพื่อต้องการให้ตัวเองมีกิจกรรมทำ และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ก็มีทั้งไปเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดบ้าง และเข้าออฟฟิศเพื่อคอยดูแลธุรกิจส่วนตัวบ้าง และจากการที่ผมยังทำงานอยู่ ทำให้รู้ว่าเด็กเจน Y นั้น หรือคนช่วงอายุ 30 ปีในยุคนี้ ค่อนข้างจะไม่มีความอดทน และไม่จงรักภักดีต่อองค์กร โดยเฉพาะเวลาที่ทำงานและถูกจ้ำจี้จ้ำไชก็มักจะไม่อดทน ที่สำคัญเปลี่ยนงานบ่อย ซึ่งต่างจากคนยุคผมที่มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนงาน ตรงนี้จึงเป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการที่ยังทำงานอยู่ตลอดครับ”

      สำหรับประวัติการทำงานของ อ.ชลิต นั้น เจ้าตัวบอกว่า เริ่มต้นทำงานที่แรกหลังจากจบมหาวิทยาลัย คือการทำงานที่บริษัทโฆษณา 15 ปี กระทั่งเปลี่ยนมาสอนหนังสือที่เอแบค หรือ ม.อัสสัมชัญ เป็นเวลา 34 ปี ซึ่งสอนคณะบริหารธุรกิจ วิชาการตลาดและการโฆษณา กระทั่งช่วง 7 ปีสุดท้ายก็ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ และตอนอายุ 58 ปี จึงออกมาทำธุรกิจส่วนตัว และเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับองค์กรต่างๆ จนถึงทุกวันนี้

      นอกจากบทบาทการทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือ แต่การทำให้หน้าที่เป็นคุณพ่อลูก 3 คนนั้น อ.ชลิต ก็ให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะการเคารพสิทธิ์ของแต่ละบุคคล โดยการให้ลูกๆ เลือกแนวทางการดำเนินชีวิตเอง เนื่องจากทุกคนโตกันหมดแล้ว และไม่บังคับว่าลูกจะต้องมาทำงานกับตนแต่อย่างใด แต่สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไปยังเด็กรุ่นลูกหลานยุคใหม่ที่โตมากับโซเชียลและมือถือ และทำให้ครอบครัวห่างเหินกัน ถือเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองยุคใหม่ต้องเรียนรู้และรับมือ

        “สิ่งที่อยากฝากถึงลูกหลานยุคใหม่ คือเด็กยุคนี้มักจะมีอิสระสูง หรือมีความเป็นตัวของตัวเอง ประกอบกับมีเทคโนโลยีเข้ามาร่วมด้วย นั่นจึงทำให้ครอบครัวค่อนข้างมีความห่างเหินกัน สมัยก่อนเด็กมักจะถูกสอนให้ทักทายผู้ใหญ่ ก่อนออกไปเรียนไปทำงาน แต่ตอนนี้เด็กก็มักจะไปไม่ลามาไม่ไหว้ หรือแม้ทุกวันนี้ พ่อแม่ต้องโทรศัพท์ตามลูกๆ ลงมากินข้าวเช้า ตรงนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างจากเด็กยุคก่อน ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องเรียนรู้และหาวิธีรับมือกับปัญหาดังกล่าว”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"