'ทนายแดง'ไขปมไม่สั่งฟ้อง8ทหารคดี6ศพวัดปทุมปี53


เพิ่มเพื่อน    

8 พ.ค. 62 - นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) ในฐานะทีมทนายความของญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปี 2553 ออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่สำนักงานอัยการทหารได้มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา 8 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มนายทหารที่ปฎิบัติหน้าที่บริเวณวัดปทุมวนารามวรวิหาร ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด พร้อมกลุ่มพยาบาลอาสาในการสลายการชุมนุมปี 2553 เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีประจักษ์พยาน พยานพฤติเหตุแวดล้อม หรือพยานหลักฐานอื่นใดที่ยืนยันได้ว่ากลุ่มผู้ต้องหากระทำผิดดังกล่าว นั้นว่า

-การติดตาม กล่าวโทษดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง
 
ศาลในคดีไต่สวนการตายในคดีประชาชนเสียชีวิตและคดี “6 ศพ” หลายศพเสียชีวิต ในขณะเจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและรัฐบาลพลเรือน ความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวโยงย่อมถึง “ผู้สั่งการ” และ “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ใน “ศอฉ.(ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน)” อันนำมาซึ่งการกล่าวโทษของนายพะเยาว์ อัคฮาด ผู้เป็นมารดาของนางสาวกมนเกด อัคฮาด หนึ่งในผู้เสียชีวิตในวัดปทุมฯ

-โดยคดีนี้ปฐมบทคดีการตายของประชาชนมาอย่างไร

ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. 2553 ถึงวันที่ 19 พ.ค. 2553 หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งการให้ ศอฉ.  ใช้กำลังเข้าขอคืนพื้นที่และกระชับวงล้อมผู้ชุมนุม  และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ  รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งการของนายกรัฐมนตรี  จึงสั่งการให้ผู้ปฏิบัติใช้อาวุธปืนและกระสุนปืนจริงในการขอคืนพื้นที่ดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.จนถึง 19 พ.ค. 2553 อย่างน้อย 89 ราย ซึ่งเมื่อมีการเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาและกำกับดูแล ศอฉ.  และรองนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. มีหน้าที่ควบคุมและสั่งการเจ้าหน้าที่ทหารผู้ปฏิบัติการฝ่ายยุทธการทั้งหมดมีอำนาจสั่งให้ทบทวนวิธีการ  วิธีปฏิบัติหรือระงับยับยั้งเปลี่ยนวิธีปฏิบัติได้ แต่กลับละเว้นเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ จนกระทั่งหลังจากวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 03.00   นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้  ศอฉ.ดำเนินการมาตรการปิดล้อมและสกัดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่โดย ผอ.ศอฉ. ได้สั่งการให้มีการใช้อาวุธปืนและกระสุนจริง  ตามกระดาษเขียนข่าว  จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 11 ราย 
 
เมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2553 คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2553 ให้การกระทำความผิดทางอาญา 4 กรณี คือ การก่อการร้าย การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ การทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และการกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ อันเกี่ยวกับการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมายในช่วงปลายปี พ.ศ.2552 เป็นต้นไป ในราชอาณาจักร รวมถึงความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกันเป็นคดีพิเศษและกรมสอบสวนคดีพิเศษอยู่ระหว่างการดำเนินการสอบสวน นั้น

ต่อมาในส่วนของกลุ่มคดีการทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ดีเอสไอ ได้มีการสอบสวน ร่วมกับพนักงานอัยการ แล้วสรุปสำนวน ส่งเรื่องต่อให้อัยการสูงสุดพิจารณา และมีคำสั่งมีการพิจารณาสั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ ให้ดำเนินคดีอาญาตามกระบวนการต่อไป โดยเฉพาะคดีการเสียชีวิต 6 ศพในพื้นที่เขตอภัยทาน วัดปทุมวนาราม ในช่วงการสลายการชุมนุมของประชาชน เดือนพฤษภาคม 2553 ที่ “ศาล” ได้มีคำสั่งไปแล้วว่า “เสียชีวิตจากกระสุนของเจ้าหน้าที่ทหาร”
 
อย่างไรก็ตามกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลทหารเริ่มมีแนวทางและกระบวนที่น่าสงสัย คือ ดีเอสไอได้มีการตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553” ขึ้นเมื่อวันที่ 18มีนาคม2558  โดยทำในรูปแบบคำสั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยนางสุวนา สุวรรณจูฑะ อธิบดีดีเอสไอ เป็นหน่วยงานภายใน อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและกำกับดูแลของรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (พันตำรวจเอกไพสิฐ วงศ์เมือง) แต่งตั้งข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการกบางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 จำนวน 14 ราย ทั้งนี้ ให้ศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 การแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดำเนินการสอบสวนกรณีเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของประชาชน ในปี 2553 อีกครั้ง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ ดีเอสไอ เคยสรุปสำนวนการสอบสวนในคดีต่างๆ พร้อมส่งเรื่องให้อัยการส่งฟ้องต่อศาลหลายคดีไปแล้ว. มีเพียงการต้องติดตามเอาตัวผู้ต้องสงสัยหรือผู้ที่จะตกผู้ต้องหามาสอบสวนตามแนวคำวินิจฉัยของศาลให้ได้ นั่นคือหน้าที่ของ ดีเอสไอ
 
-คดีพิเศษเป็นอำนาจสอบสวนของดีเอสไอ

เนื่องจากคณะกรรมการคดีพิเศษ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3 / 2553 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2553 ให้การกระทำผิดทางอาญากรณีการก่อการร้าย  การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ การทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และการกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ อันเกี่ยวกับการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมายในช่วงปลายปี พ.ศ.2552 เป็นต้นไป ในราชอาณาจักร รวมถึงความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2)  จึงตั้งเรื่องคดีพิเศษที่ 18 / 2553 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ศพตั้งอยู่ดำเนินการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย  ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับสำนวนไต่สวนการตายของผู้ตายมอบหมายให้กลุ่มการทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ  ดำเนินการสอบสวนร่วมกับพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
โดยเฉพาะกรณีการตายในวัดปทุมวนารามฯ ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งว่าผู้ตายที่ 1 ถึงผู้ตายที่ 6 ถึงแก่ความตายในวัดปทุมวนารามราชวรวิหารเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลากลางวันเหตุและพฤติการณ์ที่ตายสืบเนื่องจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด . 223 หรือ 5.56 มิลลิเมตร ซึ่งวิธีกระสุนปืนยิงมาจากเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมวนารามและบริเวณถนนพระรามที่หนึ่งจึงเข้าพบคุมพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ. เป็นเหตุให้ผู้ตายที่ 1 ถึงผู้ตายที่ 6 ถูกกระทำให้ถึงแก่ความตาย 
 
เมื่อตามคำสั่งของศาลที่ทำการไต่สวนการตายระบุรายละเอียดว่าเกิดจากการกระทำของฝ่ายทหาร พนักงานสอบสวนจึงต้องรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานตามที่ศาลได้ระบุไว้ในคำพิพากษา ผลแห่งคำสั่งศาลเป็นคดีวิสามัญฆาตกรรมที่มีขั้นตอนบังคับตามกฏหมายบัตรต้องดำเนินการสอบสวนต่อไป เพื่อส่งให้อัยการสูงสุดเพียงผู้เดียวเป็นผู้สั่งคดี ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 143 วรรคท้าย
 
คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและอัยการ จึงมีมติร่วมกันให้แจ้งข้อกล่าวหาต่อนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี เพราะโดยความตายเป็นผลโดยตรงจากการสั่งการของบุคคลทั้งสองอันเป็นการกระทำละเว้นหรือนอกเหนือหน้าที่ที่มีอยู่ในการปาลิการแผ่นดินหรือตามกฏหมายรวมทั้งกฎการใช้กำลังในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเช่นการแจ้งข้อหาดังกล่าวได้มีการพิจารณาการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าด้วย ในที่นี้จึงต้องนำตัวเจ้าหน้าที่ทหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการตายเข้าสู่กระบวนการสอบสวนทางอาญาด้วยเช่นกัน  ดีเอสไอจะเสี่ยงติดคุกกับเรื่องนี้ก็เอาสิ !
 
-อัยการศาลทหารไม่มีอำนาจทำความเห็นสั่งคดี
        
อาจมีประเด็นถกเถียงหรือหาทางออกให้ทหารว่า ทหารและเจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติการนั้น เป็นการปฎิบัติการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เป็นการกระทำของทหารประจำการ และเป็นอำนาจของอัยการศาลทหารหรือไม่
คงจะเป็นความฉลาดเฉลียวของเสนาธิการทหารหรืออัยการทหารหรือดีเอสไอบางคน แต่อาจไม่ละเอียดรอบคอบ คงลืมพิจารณาถึงอำนาจสอบสวน อำนาจสั่งคดี และอำนาจศาล
 
ข้อเท็จจริงที่รับรู้กันทั่วไปแล้วว่า กรณีนี้เจ้าหน้าที่ทหารตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับพลเรือนที่เป็นผู้นำในรัฐบาล คดีจึงต้องอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม  มิใช่ศาลทหารเพราะเป็นคดีที่เกี่ยวกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
 
อัยการศาลทหารจึงไม่มีอำนาจ ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร 2498 มาตรา 14 เพราะว่า
1.คดีที่บุคคลที่อยู่ในมาศาลทหารกระทำผิดกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (ทหารกระทำผิดร่วมกับพลเรือน) 2.คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
 
ดังนั้น หนังสือกรมสอบสวนคดีพิเศษ ลงวันที่ 30 เมษายน 2562 แจ้งผลคดีที่สำนักงานอัยการทหาร มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งแปด เนื่องจากเห็นว่าไม่มีประจักษ์พยาน พยานพฤติเหตุแวดล้อม หรือพยานหลักฐานอื่นใดที่ยืนยันได้ว่าผู้ต้องหาทั้งแปดกระทำความผิด ตามหนังสือนี้จึงมีอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของผู้ต้องหาทั้ง 8 ที่เป็นทหารประจำการในขณะนั้นจะอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ จึงต้องถือว่าพวกผู้ต้องหาทั้ง 8 และผู้เกี่ยวข้องที่ยังไม่ได้ตัวมาเป็นพลเรือน เป็นกรณีทหารร่วมกระทำความผิดกับพลเรือน จึงต้องขึ้นศาลพลเรือน
 
แม้อัยการศาลทหารซึ่งไม่ทราบเป็นผู้ใดที่ลงนามและเป็นคณะทำงานหรือไม่ เชื่อว่าในอนาคตคงได้ทราบกัน แต่หากกระทำการนอกหน้าที่และไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ การกระทำนั้นย่อมผิดกฎหมาย เรื่องนี้อัยการศาลทหารต้องทบทวนบทบาทของตนเองใหม่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"