ครม.เต็มคณะครั้งสุดท้าย! ก่อนแตกกิ่งเป็น ‘รมต.-ส.ว.’


เพิ่มเพื่อน    

               เสร็จสิ้นพิธีมหามงคลของประเทศ การเมืองจะเข้าสู่โหมด “ชี้เป็นชี้ตาย” อยู่ในช่วงไทม์ไลน์สำคัญ คือ จัดตั้งรัฐบาล หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 พ.ค. สำหรับ ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อในวันที่ 8 พ.ค.

                กกต.ประกาศผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ แต่ละพรรคจะได้เห็นตัวเลขที่แท้จริง หลังจากมีแต่ตัวเลขลมในช่วงที่ผ่านมา อันส่งผลให้คำนวณได้ว่ายังขาดอีกเท่าไร และจะหาจากไหน

                ตัวแปรสำคัญคือ หาก กกต.รับรองเพียง 95% เพื่อให้ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรกได้ อีก 5% ที่เหลือหวยจะไปออกขั้วไหนระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย

                ฝั่งไหนหาย อีกฝั่งจะมีแต้มต่อสำหรับปริมาณเสียง ส.ส.ที่จะยกมือโหวตยกแรกคือ การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรทันที นอกจากนี้ ยังทำให้บรรดาพรรคตัวแปรทั้งหลายอ่านสถานการณ์ออกว่า ควรจะเลือกอยู่กับฟากฝ่ายใด

                ดูแล้วใช้เวลาไม่นานจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ ภายหลังจากที่ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการต่อสาย หรือเปิดโต๊ะคุยกันคร่าวๆ เอาไว้บ้างแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปในเงื่อนไขจนกว่าจะเห็นตัวเลขว่า แต่ละคนมีอยู่ในมือกี่เสียง

                แต่ก่อนจะไปถึงการจัดตั้งรัฐบาล ยังมีขั้นตอนที่สำคัญหลังจาก กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ นั่นคือ การทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อ ส.ว. 250 คน ที่ต้องทำหลังจากนั้นภายใน 3 วันตามกฎหมาย

                สำหรับว่าที่ ส.ว. 250 คน ที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม นั่งเป็นประธาน สุดสัปดาห์ก่อนลุล่วงไปแล้ว 80% แต่จนถึงขณะนี้น่าจะ 100% เต็มไปแล้ว

                ไม่ค่อยเซอร์ไพรส์เท่าไร สำหรับรายชื่อตามที่ปรากฏมาในข่าว เพราะส่วนใหญ่เป็นหน้าเดิมๆ มาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผสมไปกับอดีตนายทหาร อดีตนายตำรวจ อดีตข้าราชการ นักการเมือง ตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้

                ใบลาออกจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อมาเป็น ส.ว.ของ "พรเพชร วิชิตชลชัย" ประธาน สนช. เป็นสิ่งสะท้อนสเปกของ ส.ว.ที่เหลือได้เป็นอย่างดีว่า เป็นแบบไหน

                โดยเฉพาะ ส.ว.ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน คล้ายคลึงกับ สนช. หากแต่ครั้งนี้จำเป็นจะต้องมีอดีต ส.ว.เก่า และนักการเมืองเข้ามาผสมมากขึ้น เพราะการอภิปรายในสภาปกติแตกต่างจาก สนช.ที่ไม่มีฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล จึงจำเป็นต้องพึ่งมืออาชีพบ้าง

                ไม่แปลกที่จะเห็นกลุ่มอดีต 40 ส.ว. ที่เป็น สนช. สลับกับ ส.ว.มาตั้งแต่ปี 2549 กลับมาเป็น ส.ว.อีกครั้งในปี 2562 เรียกว่าอยู่สภานานกว่านักเลือกตั้งปกติ มีความเก๋าเกมสู้รบปรบมือกับนักการเมืองอาชีพได้

                แต่มีสิ่งที่เซอร์ไพรส์ คือ รัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลายคนยื่นใบลาออกเพื่อแต่งตัวเป็น ส.ว.กันเกือบครึ่งค่อนคณะรัฐมนตรี จะเหลือเพียง 14–16 คนเท่านั้น ถือว่าเป็นจำนวนที่มาก

                ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐมนตรีเหล่านี้กลายสภาพไปเป็น ส.ว. มีหลายมูลเหตุ เริ่มตั้งแต่ตำแหน่ง ส.ว.ไม่ได้น่าพิสมัยอย่างที่คิด หลายคนปฏิเสธเมื่อถูกเทียบเชิญ ด้วยเหตุผลคล้ายกันคือ ข้อกฎหมายที่ห้ามดำรงตำแหน่งอื่นในหน่วยงานของรัฐ เพราะหากจะเป็น ส.ว.ต้องลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว โดยมีหลายคนที่เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน เอกชน ตลอดจนคณะกรรมการกฤษฎีกา ขณะเดียวกัน บางคุณสมบัติต้องห้าม ยังรวมไปถึงคู่สมรส และบุตร ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ไม่คุ้ม

                นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ภาคเอกชนหลายแห่งไม่พร้อมในจุดนี้ บางรายจึงส่งตัวแทนมาเป็น ทำให้เหลือตัวเลือกไม่เยอะ

                ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ เองก็ไม่ได้ต้องการทอดทิ้งบรรดารัฐมนตรีหลายคนที่ร่วมทำงานกันมา จึงประสานขอให้ช่วยทำงานกันต่อในตำแหน่ง ส.ว. ซึ่งหลายคนยินดี และหลายคนพอแล้ว ขอกลับไปทำธุรกิจตัวเอง

                พล.อ.ประยุทธ์ จำเป็นต้องดูแลองคาพยพหลายคนที่ร่วมทำงานกันมา เพียงแต่ไม่สามารถเอาไปช่วยงานในรัฐบาลหน้าได้ทั้งหมด เพราะคณะรัฐมนตรีชุดหน้าเป็นรัฐบาลผสมที่มาจากหลายพรรคการเมือง ทุกอย่างมีสัดส่วนของแต่ละพรรค ไม่สามารถดึงคนของตัวเองไปได้ทั้งหมด

                เมื่อโควตารัฐมนตรีมีจำนวนจำกัด พวกที่ไม่ได้ไปต่อในฐานะรัฐบาล จึงต้องดึงไปช่วยงานในสภาสูง อย่างน้อยคนเหล่านี้สามารถไว้วางใจได้

                โดยการประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 7 พฤษภาคมนี้ จะถือเป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเต็มคณะครั้งสุดท้ายแล้ว แม้รัฐธรรมนูญจะให้อำนาจเต็มในการบริหารจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ เพราะหลังจากวันดังกล่าวเป็นต้นไป สถานภาพของรัฐมนตรีที่ยื่นลาออกไปเป็น ส.ว.จะมีผลแล้ว เนื่องจากต้องเคลียร์คุณสมบัติตัวเองให้เสร็จสิ้น ก่อนที่จะมีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายในวันที่ 10 พฤษภาคม

                การประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งต่อๆ ไป จะยังมีอยู่ หากแต่ไม่เต็มคณะ เพราะตำแหน่งที่ลาออกไปเป็น ส.ว.จะถูกแทนด้วยรัฐมนตรีคนอื่นที่ไม่ได้ลาออก ซึ่งมีการมอบหมายไว้นานแล้ว

                ซึ่งไฮไลต์สำคัญของการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารนี้ คือ การกล่าวขอบคุณรัฐมนตรีหลายคนที่ช่วยบุกบั่นฟาดฟันกันมาตลอด 5 ปี ก่อนที่หลังจากนี้ต่างคนต่างจะอยู่ในคนละสถานภาพ

                บรรยากาศอาจซาบซึ้งกว่าที่แล้วๆ มา เพราะนี่ไม่ใช่การปรับคณะรัฐมนตรี หากแต่จะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้ทำงานกันในฐานะรัฐบาลของรัฐมนตรีบางคน

                ก่อนจะพบกันใหม่อีกครั้ง ในบทบาทที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการเมือง และ ส.ว.

                                                                ----------------

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"