ความจำเป็นในการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซีย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีมูลเหตุจากหลายด้าน ทั้งด้านความมั่นคง ความสัมพันธ์ส่วนพระองค์และการนำวิทยาการของตะวันตกมาพัฒนาประเทศ โดยความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดในช่วงเวลานั้นคือความจำเป็นด้านความมั่นคงที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตยให้แก่มหาอำนาจตะวันตก
จึงต้องทรงใช้ความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่ทรงได้วางรากฐานเอาไว้ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิช (Nikolas Aleksandrovich) แห่งจักรวรรดิรัสเซียมาช่วยลดกระแสกดดันของมหาอำนาจนักล่าอาณานิคม ส่วนความจำเป็นด้านการนำวิทยาการมาพัฒนาประเทศนั้นในกรณีของการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียเป็นผลที่เกิดขึ้นในภายหลัง
นั้นได้เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436 หรือ ค.ศ.1893) จากการที่สยามถูกอังกฤษและฝรั่งเศสกดดันให้สยามต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับมหาอำนาจเพื่อที่มหาอำนาจจะใช้เป็นเหตุผลที่จะสามารถยึดครองดินแดนของสยาม จากความกดดันดังกล่าวทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยนำรัสเซียเข้ามาคานอำนาจกับมหาอำนาจตะวันตก โดยเริ่มต้นจากการใช้ความพยายามในการที่จะทำข้อตกลงว่าด้วยการค้ากับรัสเซียและการเชิญมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซียเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรสยาม ถึงแม้ว่าความพยายามแรกจะไม่ได้รับการตอบสนองและความพยายามที่สองก็ถูกขัดขวางทุกวิถีทางจากอังกฤษมหาอำนาจในภูมิภาค "ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในสยาม เมื่อรู้ว่าซาเรวิตช์จะมาเยือนกรุงเทพฯ ถึงกับปล่อยข่าวโคมลอยในหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีอหิวาตกโรคระบาดอยู่ที่นั่น เพื่อปลุกปั่นว่าไม่ปลอดภัยที่จะมากรุงเทพฯ"
การทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการต้อนรับพระราชอาคันตุกะอย่างสมพระเกียรติเพื่อให้ทรงซาบซึ้งในพระราชไมตรีนั้นก็ประสบความสำเร็จตามพระราชประสงค์ในระดับหนึ่ง ซึ่งนับเป็นความจำเป็นที่สยามพึงปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลานั้น และเป็นพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริงที่ทรงมีวิเทโศบายดังกล่าว ตามบทบันทึกของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "เปนความยินดีที่เหนได้แน่ว่า พระราชทรัพย์และพระราชอุตสาหะที่ได้ออกไปในการรับซารวิตช์ไม่ขาดทุนเลย"
จากรายงานของอา. แอ็ม วืยวอดเซฟ กงสุลใหญ่รัสเซียประจำสิงคโปร์ถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ระหว่างวันที่ 7-13 มีนาคม พ.ศ.1891 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1891 มีความตอนหนึ่งว่า (การเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส)
"ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของชาวอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศอังกฤษพยายามที่จะให้อิทธิพลของประเทศอื่นๆ หมดไปจากภูมิภาคตะวันออก"
และในรายงานถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเกี่ยวกับการที่สยามขอทำสนธิสัญญาทางการค้ากับรัสเซียเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1891 นายอา.แอ็ม วืยวอดเซฟ ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ทางรัฐบาลรัสเซียว่า
"สยามเป็นฝ่ายที่จะได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงเพียงฝ่ายเดียว และการที่สยามต้องการทำสนธิสัญญาก็เพียงเพื่อให้มีผู้ปกป้องคุ้มครองเมื่อเกิดความจำเป็นเท่านั้น"
และในรายงานลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1891 นายอา.แอ็ม วืยวอดเซฟ ได้กล่าวถึงภัยของการล่าอาณานิคมที่กำลังคุกคามสยามว่า
"ในรายงานของข้าพเจ้าฉบับหนึ่ง ข้าพเจ้าได้รายงานถึงสถานการณ์ในราชอาณาจักรสยาม ความสำเร็จของสยามที่เกิดจากการพัฒนาที่ถูกต้อง ความก้าวหน้าด้านการเงิน การคลังตลอดจนความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับบนเส้นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทั้งปวงขึ้นอยู่กับการรักษาสันติภาพ แต่สันติภาพดังกล่าวได้ถูกคุกคามจากฝ่ายฝรั่งเศสอย่างรุนแรง"
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันเจตนารมณ์ของการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียคือบันทึกของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงบันทึกไว้ในปี พ.ศ.2434 ความว่า
"มูลเหตุของการเดินทางครั้งนี้ก็มีเหตุผลทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญของการเสด็จฯ ซึ่งจะพลิกโฉมการเมืองของประเทศสยามไปสู่ 'ทิศทางใหม่' ที่มีรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนับจากนี้ไป"
เหตุผลต่อเนื่องซึ่งในทางปฏิบัติต้องดำเนินการเป็นเหตุผลหลักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้ในการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียคือเหตุผลด้านความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ โดยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นดังกล่าวได้เริ่มขึ้นจากการถวายการรับเสด็จการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซียอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติซึ่งทำให้เกิดความผูกพันทางพระราชหฤทัย ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสจักรวรรดิรัสเซีย ก็ได้รับการถวายการตอนรับอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติเช่นกัน อีกทั้งยังได้กระชับความสัมพันธ์ส่วนพระองค์และพระราชวงศ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เห็นได้จากพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถความว่า สมเด็จพระพันปีหลวงของรัสเซีย (พระชนนีของสมเด็จพระจักรพรรดิ) ทรงรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชบุตร และจากจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 บันทึกโดย พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) ได้กล่าวถึงความมีพระราชหฤทัยที่ผูกพันของสองราชวงศ์ซึ่งได้ปราฏขึ้นอย่างชัดเจน
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทูลลาพระชนนีของสมเด็จพระจักรพรรดิว่า "...พอได้เวลาที่จะเสด็จฯ กลับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทูลลาเอมเปรสพระชนนี เอมเปรสพระชนนีทรงจุมพิตพระปรางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วพระราชทานพระปรางให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุมพิตและพระราชทานพรแสดงพระราชหฤทัยเมตตาอาลัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างว่าเป็นพระราชบุตร มิได้มีความรังเกียจอย่างใดเลย เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชทูลลา ก็ทรงจูบพระราชทานพรฉันว่าเป็นพระราชนัดดาอย่างสนิทเสร็จแล้ว ส่วนพระราชโอรสพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ เมื่อทูลลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงจุมพิตสั่งเสียเสมอด้วยพระญาติอันสนิท..."
ส่วนความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระจักรพรรดินั้นได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่การรับเสด็จที่ยิ่งใหญ่ การถวายพระเกียรติตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่ในรัสเซีย นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่ทั้งสองพระองค์จะทรงลาจากกันได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของทั้งสองพระองค์ดังบันทึกของพระยาศรีสหเทพ ที่ว่า
"...ทั้งสองพระองค์ ทรงพระอาลัยในการที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินจากกัน โดยอาการที่ปรากฏเห็นได้ถนัดทั้งสองพระองค์ จึงได้ทรงประทับสั่งสนทนาอยู่อีกกึ่งชั่วโมง แล้วจำพระทัยต้องทูลลากัน ทรงกอดรัดจุมพิตและมีพระราชดำรัสสั่งเสียเป็นอเนกประการ สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงรัสเซียยังให้ชักธงเครื่องหมายถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสำราญในระยะทางอีกครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นายเรือพระที่นั่งโปลาสะตาร์ชักธงขึ้นเสาหมายความตอบขอบพระราชหฤทัย..."
สำหรับเหตุผลในการเจริญพระราชไมตรีที่มาจากความต้องพัฒนาประเทศนั้นเกิดจากพระปรีชาญาณขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงต้องการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงมีความจำเป็นที่สยามต้องรับศิลปวิทยาการจากประเทศที่ยอมรับกันว่ามีความเจริญแล้วมาสู่ประเทศ
จากจุดเริ่มต้นจากการที่ได้ว่าจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการในหน้าที่ต่างๆ เป็นการส่งนักเรียนไทยออกไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อให้กลับมาปฏิบัติราชการแทนชาวต่างประเทศ ดังที่ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "นักเรียนนอก" ว่า ประเทศไทยได้ "ลงทุนในทรัพยากรมนุษย์" ด้วยวิธีการส่งนักเรียนไทยออกไปศึกษาวิชาในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาล แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะ "นักเรียนนอก" ที่เกิดจากการลงทุนดังกล่าวในระหว่างเวลาประมาณ 70 ปี ตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5 จนกระทั้งถึงสงครามแปซิฟิกจำนวนประมาณ 1,300 คน ได้เป็นกำลังสำคัญในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความทันสมัย ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการรักษาเอกราชและอธิปไตยของบ้านเมืองตลอดเวลาดังกล่าว สำหรับนักเรียนไทยที่ได้ไปศึกษาในประเทศรัสเซียในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นจากข้อมูลของ ดร.วิชิตวงศ์ ได้กล่าวไว้ว่ามี 20 คนโดยในปี ค.ศ.1898 ( พ.ศ.2441) ได้มีการส่งนักเรียนไทยรุ่นแรกเข้าไปเรียนในรัสเซีย นักเรียนไทยกลุ่มนี้คัดเลือกจากนักเรียนไทยในอังกฤษประกอบด้วยพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ และนักเรียนทุน นายพุ่ม สาคร อีกทั้งได้ส่งนายนกยูง วิเศษกุล (พระยาสุรินทราชา) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการส่งไปศึกษาวิชาครูในประเทศอังกฤษให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ รวมทั้งการถวายพระอักษรภาษาไทย ("เป็นผู้ใหญ่ดูแลการในพระองค์") ซึ่งก็ต้องศึกษาภาษารัสเซียด้วย
และเนื่องจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงเป็นพระราชโอรสซึ่งทรงฐานันดรศักดิ์ต่อไปจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ดังนั้นระหว่างที่ประทับอยู่ที่รัสเซียจึงต้องมีราชองครักษ์ประจำพระองค์ด้วย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งให้ร้อยโทหลวงสุรยุทธโยธาหาร (ชื่น ภัคดีกุล) ให้ไปทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้สมรสกับสุภาพสตรีรัสเซียระหว่างทำหน้าที่และได้นำบุตรและภรรยากลับมาเมืองไทย.
------------
อ้างอิง: หอจดหมายเหตุการเมืองระหว่างประเทศ จักรวรรดิรัสเซีย หมวดญี่ปุ่น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |