ต้องเร่งปรับได้


เพิ่มเพื่อน    

         

                ประชากรขยายตัวของชุมชนเมืองทำให้เกิดปริมาณขยะมหาศาล ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมานั้น เกิดขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ประมาณ 1.64% ซึ่งในจำนวนนี้ถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ 34% กำจัดอย่างถูกต้อง 39% และกำจัดไม่ถูกต้อง 27% และในปริมาณขยะทั้งหมดจะเป็นขยะพลาสติกประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งจะมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ 0.5 ล้านตันเท่านั้น

                สำหรับการจัดการในอนาคต ได้จัดทำโรดแมปการจัดการขยะพลาสติกปี 2562-2570 โดยให้ลดและเลิกใช้พลาสติก 7 ชนิด ภายในปี 2565 ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมสารประเภทอ็อกโซ ไมโครบีดจากพลาสติก ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และหลอดพลาสติก

                ขณะเดียวกันยังจะมีการปรับปรุงแก้ไขสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบปัญหาการจัดการอย่างไม่ถูกต้อง รวมถึงเข้มงวดในการติดตามตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศ

                จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมากนั้นได้สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกลุ่มขยะพลาสติก ในทะเลและแม่น้ำ คูคลอง ที่ในแต่ละปีจะเกิดขึ้นจำนวนมหาศาล จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ต้องเร่งแก้ไขไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่หมายถึงทั่วโลก ปัจจุบันแต่ละปีประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกปีละ 2 ล้านตัน

                ดังนั้นเมื่อรัฐบาลให้ความสำคัญ และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 เม.ย.62 มีมติรับทราบร่างโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 โดยให้กรมควบคุมมลพิษปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 พร้อมสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดการใช้วัสดุที่ผลิตขึ้นจากพลาสติก

                โดยร่างโรดแมปได้ตั้งเป้าลดและเลิกใช้พลาสติกบางประเภทภายในปี พ.ศ.2562 เช่น พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเลิกใช้พลาสติกประเภทถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) และหลอดพลาสติกภายในปี พ.ศ.2565 รวมทั้งมีการกำหนดหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสร้างความรู้ ความเข้าใจกับหน่วยงาน ห้างร้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือการดำเนินงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์

                ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกต้องปรับตัวเองให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมไปถึงการให้ความสำคัญในการใช้พลาสติกรีไซเคิล จะเห็นได้ว่ามีหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ทั้งในยุโรป อเมริกา ล่าสุดอินโดนีเซีย

                และสำหรับประเทศไทยเองในส่วนของธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ก็เริ่มให้ความสำคัญกับการลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมาสามารถลดการใช้ได้กว่า 100 ล้านใบ ในปี 2562 นี้ได้ตั้งลดมากขึ้น รวมไปถึงดึงนักแสดงชั้นนำมาร่วมรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยการจัดทำหนังโฆษณา ยังไม่รวมถึงกลุ่มค้าปลีกรายอื่นๆ ที่หันมารณรงค์ลดการใช้เช่นกัน และในอนาคตก็จะกระจายไปยังกลุ่มร้านค้าและตลาดทั่วไป

                ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกต้องปรับตัว หากไม่มีการดำเนินการใด เชื่อปี 2563 กระทบแน่ และภายใน 2 ปีหากไม่ปรับตัวอาจจะต้องถึงขั้นปิดกิจการก็ได้ โดยเฉพาะกลุ่มพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง.

บุญช่วย ค้ายาดี

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"