1 พ.ค.62- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง โพสต์กรณีการโอนหุ้นที่มีผลทางกฎหมายผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ว่า เรื่องหุ้นสื่อธนาธร สำหรับคอการเมืองที่ชอบวิเคราะห์กฎหมาย
ปรากฏว่ามีคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการโอนหุ้น ที่ กกต. อาจจะต้องพิจารณา อย่างน้อย 3 คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543
*การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129 วรรคสาม*
เมื่อโจทก์ขายหุ้นแล้วมิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าได้มีการโอนหุ้นไปแล้ว เพื่อใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
โจทก์จึงต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด มาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2525
ในเอกสารการโอนหุ้น โจทก์ผู้รับโอนกับผู้โอนได้ลงลายมือชื่อมีพยานรับรอง 2 คน ทั้งกรรมการบริษัทจำเลยสองนายได้ลงชื่อประทับตราบริษัทอนุมัติให้โอนหุ้นกันได้ ถูกต้องตามแบบที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองบังคับไว้
ส่วนที่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวบัญญัติความต่อไปว่าตราสารการโอนหุ้น**ต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย** ก็เพื่อจะรู้ได้แน่นอนว่าหุ้นใดของผู้ถือหุ้นยังอยู่และหุ้นใดได้โอนให้บุคคลอื่นไปแล้วเท่านั้น
หาได้บัญญัติว่าถ้ามิได้แถลงหมายเลขหุ้นที่โอนกัน การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมเป็นโมฆะ
ทั้งบริษัทจำเลยยังไม่ได้ออกใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้น ย่อมไม่มีเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันที่ผู้โอนจะแถลงลงในหนังสือโอนหุ้นและจดแจ้งการโอน กับชื่อผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นได้
*การโอนหุ้นดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว*
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ ธ. ไป ... เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่า ธ. ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่ง ซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้ว
จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่าการโอนหุ้นระหว่างจำเลยและ ธ. แบบโอนลอยนั้น คู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอน ...
คือเป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนด ... การโอนลอยหุ้นให้แก่ ธ. จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้น ...
ความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนมีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้น เป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น
*หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่*
ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้น
*จึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่*
โดยผู้พิพากษาในคดีศาลฎีกาที่ 52/2540
คือ นายชูชาติ ศรีแสง นายวินัย วิมลเศรษฐ และนายจิระ บุญพจนสุนทร
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |