สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ พัฒนาระบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำหรือการรับรู้บกพร่องด้วยใช้โปรแกรม TEAM-V เพื่อชะลอและคงศักยภาพสมองทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากรายงานของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ได้สำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจสุขภาพ ในช่วง พ.ศ.2551-2552 โดยสำรวจประชากร 21,960 คน พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อม 12.4% พบเพศชายร้อยละ 9.8 และเพศหญิง ร้อยละ 51.1 ผู้สูงอายุวัยเกิน 60 ปี ทุกๆ 8 คน จะพบเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน เมื่อแบ่งตามช่วงอายุ พบว่าผู้สูงอายุ 60-69 ปี ทุกๆ 14 คน จะเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน อายุ 70-79 ปี ทุกๆ 7 คน จะเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน และช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป ทุกๆ 3 คน จะเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน และพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรมีนโยบายของภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมในการดำเนินงาน เพื่อกระตุ้นให้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมตื่นตัว และมีส่วนร่วมทางด้าน Health literacy หรือความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจเพื่อวิเคราะห์ ประเมินการปฏิบัติและจัดการตนเอง รวมทั้งชี้แนะข้อมูลสุขภาพให้แก่ครอบครัวและชุมชนเพื่อการป้องกันและดูแลตนเอง โดยพบว่าญาติเป็นผู้ดูแลเองร้อยละ 70 เนื่องจากการดูแลต้องอาศัยความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย
นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมยังเป็นปัญหาเนื่องจากต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทาง เช่น อายุรแพทย์ แพทย์สาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและจิตแพทย์ ดังนั้นการป้องกันและชะลอการเกิดสมองเสื่อมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแล และภาระของผู้ดูแลและครอบครัว ซึ่งการพัฒนาระบบการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำหรือการรับรู้บกพร่องระยะแรกจะช่วยให้สามารถชะลอ ป้องกัน และคงศักยภาพสมองได้ ทั้งนี้ สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุเห็นความสำคัญที่ต้องพัฒนาระบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำหรือการรับรู้บกพร่องระยะแรกในสถานบริการที่มีความต้องการ และมีความพร้อมเป็นต้นแบบการจัดบริการสุขภาพในระดับเขตบริการสุขภาพ นำไปใช้ในการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุ และสามารถพัฒนาต่อยอดขยายเพื่อการศึกษาถึงต้นทุนของการจัดบริการสุขภาพในเรื่องนี้ต่อไป
โดยผู้สูงอายุและครอบครัวที่มีปัญหาด้านความจำหรือการรับรู้บกพร่องจะสามารถรับบริการสุขภาพด้วยโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้ที่มีความจำหรือการรับรู้บกพร่องระยะแรก (TEAM-V) ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฟูสมรรถภาพสมองด้วยการฝึกการทำงานของสมอง (cognitive training) ผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการจะเริ่มตั้งแต่เข้าสู่ระบบการคัดกรอง/คัดแยก วินิจฉัย เพื่อคัดกลุ่ม ถ้ามีปัญหาด้านความจำหรือการรับรู้สามารถรับบริการตามโปรแกรม TEAM-V และจะมีการติดตามผู้สูงอายุที่มารับบริการอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถมารับบริการตามโปรแกรมที่สถานบริการได้ผู้สูงอายุสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ที่บ้าน ซึ่งทางสถาบันได้จัดอบรมโปรแกรม TEAM-V เพื่อพัฒนาศักยภาพในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนำความรู้ไปใช้ในการจัดบริการและพัฒนาให้เป็นพี่เลี้ยงเพื่อสอนให้กับทีมสุขภาพในพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินการจัดอบรม ให้แก่ โรงพยาบาลสิงห์บุรี โรงพยาบาลอุดรธานี โรงพยาบาลหนองบัวลำภู โรงพยาบาลอุทัยธานี ภายหลังการจัดโครงการคาดว่าจะมีทีมสุขภาพที่ใช้โปรแกรม TEAM-V ในพื้นที่และนำไปใช้จัดบริการ
สำหรับผู้สูงอายุที่มีความจำหรือการรับรู้บกพร่อง และสามารถถ่ายทอดให้กับทีมสุขภาพระดับพื้นที่และเขตสุขภาพอื่นๆ ต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |